Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เอฟ-5 - วิกิพีเดีย

เอฟ-5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอฟ-5อี ไทเกอร์ทูว์
เอฟ-5อี ไทเกอร์ทูว์

เอฟ-5 ฟรีดอมไฟเตอร์ (F-5 Freedom Fighter) เป็นเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐอเมริกา เริ่มออกแบบเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) โดยบริษัทนอร์ธรอป


สารบัญ

[แก้] ประวัติ

ในช่วงปลายสงครามเวียดนาม กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้พบว่าเครื่องบินขับไล่ทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่แบบเอฟ-111 ได้กลายเป็นเป้าซ้อมปืนและจรวดให้กับนักบินมิก-21 อย่างมันมือ ด้วยความใหญ่และหนักของเอฟ-111 ไม่อาจสร้างความได้เปรียบในการรบแบบติดพัน (Dog Fight) ได้ ดังนั้นเอฟ-111 จึงถูกเปลี่ยนภารกิจให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาและออกปฏิบัติการภายใต้การคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-4 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่เบาขนาด 2 ที่นั่ง ซึ่งว่าไปแล้วก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่ดี และจะต้องใช้ถึงสองเครื่องในการไล่ต้อนมิก-21 ที่แสนจะปราดเปรียว ซึ่งในการดวลกันตัวต่อตัวระหว่างเอฟ-4 กับมิก-21 นั้น ส่วนใหญ่มิก-21 จะบินหลบหนีไปได้

ความต้องการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาเพื่อต่อกรกับมิก-21 อย่างสูสี ทำให้เอฟ-5 เอของบริษัทนอร์ธรอปซึ่งแต่เดิมถูกจัดวางไว้ในฐานะเครื่องบินลาดตระเวนโจมตีเบาและตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศเช่นเดียวกับเครื่องเอ-4 ถูกจับตามองด้วยความสนใจ เพราะเอฟ-5 เป็นเครื่องบินเบาที่มีท่วงท่าการบินและความปราดเปรียวคล่องตัวที่ใกล้เคียงกับมิก-21 มากที่สุด ดังนั้นบริษัทนอร์ธรอปจึงได้รับสั่งให้อัพเกรดเครื่องเอฟ-5 เป็นเครื่องบินขับไล่เบา

เครื่องเอฟ-5 ได้รับการปรับปรุงโดยการขยายโครงสร้างให้ใหญ่และยาวขึ้นกว่าเดิมประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ใช้เครื่องยนต์ของเยเนอรัล อิเลคทริครุ่นใหม่ที่มีแรงขับดันสูงขึ้น ติดเรดาห์ที่มีขีดความสามารถจับเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในระยะ 15 ไมล์ สามารถยิงจรวดอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยอินฟราเรดแบบเอไอเอ็ม-9 และเรียกเอฟ-5 รุ่นนี้ว่าเอฟ-5 อี ไทเกอร์ทูว์

เอฟ-5 อี ถูกส่งเข้าประจำการในเวียดนามใต้เพียงไม่กี่ร้อยเครื่องและยังไม่ทันได้ประมือกับมิก-21 สหรัฐอเมริกาก็ยอมถอนตัวออกจากสงครามเวียดนามพร้อมกับทิ้งเอฟ-5 อี จำนวน 350 เครื่องไว้ในเวียดนาม ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้เก็บรักษาเอฟ-5 อี ไว้ในอนุสรณ์สถานสงครามเวียดนามเพียงไม่กี่เครื่องและทิ้งส่วนที่เหลือให้ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่มีการซ่อมบำรุงและอะไหล่สนับสนุน

สหรัฐอเมริกาเองก็ยังคงใช้งานเอฟ-5 อี มาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ในสามภาระกิจคือ เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติในการฝึกหลักสูตรท็อปกัน (TOP GUN) เพราะเอฟ-5 อี มีลักษณะการบินที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่มิกของรัสเซียมาก ใช้เป็นเครื่องบินสังเกตการณ์การบินของอากาศยานทดลองและใช้ฝึกนักบิน โดยใช้ที-38 แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นที-45 ของอังกฤษแล้ว กองทัพอากาศไทยก็ได้ทำการปรับปรุงเอฟ-5 อี ในประจำการให้มีขีดความสามารถในการรบเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนเรดาห์ให้สามารถจับเป้าข้าศึกได้ในระยะ 25 ไมล์ เพิ่มจอฮัด (HUD) ติดระบบนำร่องแบบทาแคนซึ่งเอฟ-5 อีของกองทัพอากาศไทยเมื่อปรับปรุงแล้ว จึงมีขีดความสามารถในการยิงจรวดนำวิถีแบบไพธอน 4 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ยิงเอไอเอ็ม-9 ได้แบบเดียวเท่านั้น

เครื่องบินขับไล่เบาที่เป็นอมตะที่สุดในโลกนี้ (ยังคงประจำการในกองทัพของประเทศผู้ผลิตจนถึงปัจจุบัน) นอกจากมิก-21 แล้ว มีเพียงเอฟ-5 อีคู่ปรับที่ไม่เคยเจอกันเลยตลอดกาล

[แก้] รุ่นของเอฟ-5

  • F-5A
  • F-5B
  • F-5C Skoshi Tiger
  • F-5D
  • F-5E Tiger II
  • F-5F Tiger II
  • F-5G ต่อมาคือเอฟ-20
  • F-5N
  • F-5S
  • F-5T
  • RF-5A
  • RF-5A(G)
  • RF-5E Tigereye
  • YF-5

[แก้] เหตุการณ์ในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศไทยได้รับเอฟ-5 เอจากกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวน 5 เครื่องและเมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากสงครามเวียดนาม นักบินสหรัฐอเมริกาได้นำเอฟ-5 อีจำนวน 3 เครื่องบินหนีจากเวียดนามมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเอฟ-5 อีทั้ง 3 เครื่องนี้สหรัฐอเมริกาได้นำกลับไปด้วย

ปี พ.ศ. 2513 กองทัพอากาศไทยขออนุมัติรัฐบาล จัดซื้อเครื่องบินขับไล่เอฟ-5 อีและเอฟ-5 เอฟจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 12 เครื่องและได้รับเครื่องบินเข้าประจำการครบฝูงในปี พ.ศ. 2515 โดยใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข) หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดซื้อเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงในปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเอฟ-5 อีมากกว่า 90 เครื่อง

[แก้] เอฟ-5 ที่ประจำการในประเทศไทย

  • F-5A ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ข.๑๘)
  • F-5B ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก (บ.ข.๑๘ ก)
  • F-5E ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข)
  • F-5F ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ค (บ.ข.๑๘ ค)
  • RF-5A ใช้ชื่อเครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ตข.๑๘)



  เอฟ-5 เป็นบทความเกี่ยวกับ ทหาร การทหาร หรืออาวุธ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เอฟ-5 ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com