Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โดราเอมอน - วิกิพีเดีย

โดราเอมอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:การ์ตูนญี่ปุ่น
โดราเอมอน
โดราเอมอน
ชื่อไทย โดราเอมอน
ชื่อญี่ปุ่น ドラえもん
ชื่ออังกฤษ Doraemon
แนว สำหรับเด็ก
หนังสือการ์ตูน
ผู้แต่ง ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ
สำนักพิมพ์ ประเทศญี่ปุ่น โชกาคุคัง
ประเทศไทย เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
นิตยสาร โชกักอิจิเน็นเซย์-โยะเน็นเซย์
ตีพิมพ์เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม 45 เล่ม
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
โดราเอมอน ฉบับนิปปอนทีวี (2516)
ผู้กำกับ มิตสึโอะ คามิริ
ผลิตโดย นิปปอนเทเลวิชัน โดงะ
ฉายทาง ประเทศญี่ปุ่น นิปปอนเทเลวิชัน
ประเทศไทย โมเดิร์นไนน์ทีวี
ฉายครั้งแรก 1 เมษายน30 กันยายน 2516
จำนวนตอน 26
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
โดราเอมอน ฉบับทีวีอาซาฮี (2522-2548)
ผู้กำกับ เรียว โมโตฮิระ > สึโตมุ ชิบายามะ
ผลิตโดย Asatsu-DK
ฉายทาง ประเทศญี่ปุ่น ทีวีอาซาฮี
ประเทศไทย โมเดิร์นไนน์ทีวี
ฉายครั้งแรก 2 เมษายน 252218 มีนาคม 2548
จำนวนตอน มากกว่า 2,000 ตอน
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
โดราเอมอน ฉบับทีวีอาซาฮี (2548-ปัจจุบัน)
ผู้กำกับ โคโซ คุสึบะ > โซอิจิโร่ เซ็น
ผลิตโดย Asatsu-DK, ชินเอโดงะ
ฉายทาง ประเทศญี่ปุ่น ทีวีอาซาฮี
ฉายครั้งแรก 15 เมษายน 2548 – ปัจจุบัน (2549)
จำนวนตอน  ?
สารานุกรมการ์ตูน ส่วนหนึ่งของสารานุกรมการ์ตูน

โดราเอมอน 「ドラえもん」 Dora'emon — โดะระเอะมง? หรือ โดเรมอน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวหูด้วน ชื่อ โดราเอมอน ที่มาจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือเด็กประถมจอมขี้เกียจ โนบิตะ ด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โชกาคุคัง ในหนังสือทั้งหมด 6 เล่มพร้อมกัน โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับ รางวัลเทซึกะโอะซะมุ เป็นการ์ตูนดีเด่น อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น

ในประเทศไทยมีการตีพิมพ์หลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน ปัจจุบันสำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูน

สารบัญ

[แก้] โครงเรื่อง

เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของโนบิตะที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง(แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือโดราเอมอน หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ชิซุกะ สาวน้อยผู้เป็นที่รักของเพื่อนๆ และเป็นคนที่โนบิตะแอบชอบอยู่ ไจแอนท์เด็กที่ดูเป็นอันธพาล แต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด และเดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มีโดรามี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋ามิติที่ 4 และของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย และคุณพ่อและแม่ของโนบิตะ ซึ่งแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าพ่อ

แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ และคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเล หรือว่ายุคไดโนเสาร์)

[แก้] รายชื่อตัวละคร

ดูตัวละครทั้งหมดที่ ตัวละคร โดราเอมอน

ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คน และมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลักดังนี้

โดราเอมอน 
หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นหลานของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา
โนบิตะ 
เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน แต่เก่งด้านยิงปืนและพันด้าย
ชิซุกะ 
เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมาก และชอบกินมันเผาเป็นพิเศษ
ไจแอนท์ 
เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ ฝันอยากจะเป็นนักร้อง
ซูเนโอะ 
เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ชอบพูดยกยอ

[แก้] โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ และโดราเอมอนตอนพิเศษ

ดูบทความหลักที่ โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์

โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นอะนิเมะตอนพิเศษ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และหนังสือการ์ตูน โดยปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นปีแรกที่มีการสร้างฉบับภายนตร์ชื่อตอนว่า ตะลุยแดนไดโนเสาร์ และมีการสร้างตอนพิเศษเรื่อยมาทุกปี ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2548 เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นตอนพิเศษอีกด้วย

[แก้] โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี

ดูบทความหลักที่ โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี

โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีเป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดสัญชาติญี่ปุ่น (อะนิเมะ) โดยสร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มใน ปีพ.ศ. 2516 โดยนิปปอนเทเลวิชัน และต่อมาปีพ.ศ. 2522 ทีวีอาซาฮี นำมาออกอากาศต่อซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง สำหรับประเทศไทยเริ่มออกกาศครั้งแรกในปีพ.ศ. 2525 ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี หรือช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ในสมัยนั้น

[แก้] โดราเอมอนกับประเทศไทย

หนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ที่มีการตีพิมพ์ในไทย ชุดพิเศษ เล่ม 7
หนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ที่มีการตีพิมพ์ในไทย ชุดพิเศษ เล่ม 7

การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทยสร้างปรากฎการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปีพ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอนแมวยอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมาสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจก็มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกันแต่ใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่าย จากเดือนละเล่มในช่วงต้น ก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่ม จนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์ และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของฟูจิโกะ ฟูจิโอะที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี

หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เห็นความนิยมของโดราเมอน จึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ

ด้านหลังแฮนด์บิลภาพยนตร์โดเรม่อน ตอนผจญไดโนเสา
ด้านหลังแฮนด์บิลภาพยนตร์โดเรม่อน ตอนผจญไดโนเสา

สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือสยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบัน และใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดราเมอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจากประเทศฮ่องกงมาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ

ในปีพ.ศ. 2525 ทางไชโยภาพยนตร์ได้มีการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกัน คือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ และโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทางช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย(นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้น ก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะ และฉายตอนใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี และลิขสิทธิ์ในตัวละครที่นำไปผลิตเป็นสินค้าเป็นของ บริษัทเอไอ (Animation International) ของประเทศฮ่องกง

[แก้] เพลงประกอบ

ดูบทความหลักที่ เพลงประกอบ

เพลงเริ่มของโดราเอมอน คือเพลง "โดราเอมอนโนะอุตะ" 「ドラえもんのうた」 Doraemon no uta — เพลงของโดราเอมอน? ซึ่งในระหว่างปี 2522-2548 นั้นมีผู้ขับร้อง 5 คนในช่วงเวลาแตกต่างกัน ในขณะที่เพลงจบนั้นมีทั้งหมด 11 เพลง

[แก้] ความนิยม

โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศ ญี่ปุ่น และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ

เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละครโนบิตะ มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือยิงปืนแม่น และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือโดราเอมอนนั่นเอง

โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อน เสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี" ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่นการอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี

[แก้] ข่าวลือกับตอนจบของโดราเอมอน

ที่จริงแล้วการ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน นั้นไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ ทั้งโดราเอมอน ชิซุกะ ซูเนโอะ ไจแอนท์และตัวละครอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีเพียงแต่ โนบิตะ ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ในโรงพยาบาล และเพื่อนๆ ทั้งหลายที่เราได้อ่านกัน เป็นเพียงแค่จินตนาการของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดกับอุปนิสัยของผู้แต่ง ซึ่งการ์ตูนที่เขาแต่งทุกเรื่องต่างจบลงด้วยดีมาตลอด

หน้าปกโดราเอมอนตอนจบ ฉบับโดชินจิ
หน้าปกโดราเอมอนตอนจบ ฉบับโดชินจิ

ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งก็คือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิดแบตเตอรี่หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดรามี น้องสาวของโดราเอมอน โดรามีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีนนั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วตั้งใจเรียนจนเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก แล้วก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป

[แก้] โดจินชิ

โดราเอมอน เป็นหนึ่งในการ์ตูนหลายเรื่องที่ถูกเขียนเป็น โดจินชิ ออกมามากมาย แต่โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลายๆ แบบที่ถูกเล่าลือมานาน งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง

[แก้] สัพเพเหระ

รถไฟที่ตกแต่งด้วยตัวละครโดราเอมอน
รถไฟที่ตกแต่งด้วยตัวละครโดราเอมอน
  • ของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋ามิติที่สี่ มีไม่ต่ำกว่า 1,800 ชิ้น
  • หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 100,000,000 เล่ม
  • ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือประเทศฮ่องกง ในปีพ.ศ. 2524
  • หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศเช่นประเทศเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม
  • ประเทศเวียดนามนิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และในปีพ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา
  • พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ แต่เป็นการมาช่วงเวลาที่สั้นมาก เป็นเพราะความโด่งดังนั่นเองทำให้ต้องรีบกลับไปทำงานต่อที่โตเกียว แต่ก็ได้ไปออกในรายการ "อาทิตย์ยิ้ม" ของดำรง พุฒตาล ทางช่อง 9
  • พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบอลลูนขนาดยักษ์ คนญี่ปุ่นต่างก็เรียกบอลลูนนี้ว่า "โดราบารูคุน" (Dorabarukun)
  • พ.ศ. 2535 มีการผลิตรถพลังแสงอาทิตย์ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้น เรียกว่า "โซราเอมอน" ในการประกวดแข่งขันรถพลังแสงอาทิตย์ โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน
  • พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า
  • ในประเทศญี่ปุ่น มีรถไฟโดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจากอาโอโมริไปฮาโกดาเตะ ตัวโบกี้มีการตบแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีโบกี้พิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย และมีพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนคอยบริการอยู่บนรถไฟ

[แก้] อ้างอิง

  • สมประสงค์ เจียมบุญสม, นิตยสาร a day ปีที่ 2 ฉบับที่ 18, กุมภาพันธ์ 2545, หน้า 62-76
  • นิตยสาร a day, 2545: 67

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


โดราเอมอน
ฉบับการ์ตูนทีวี - ฉบับภาพยนตร์ - ตัวละคร - รายชื่อตอน - ของวิเศษ - ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ
ตัวละครหลัก
โดราเอมอน - โนบิตะ - ชิซุกะ - ไจแอนท์ - ซูเนโอะ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com