Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต - วิกิพีเดีย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือ ทูลกระหม่อมบริพัตร ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหาร ตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เสนาธิการทหารบก เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารถในงานดนตรี ทรงได้รับการขนานพระนามเป็น"พระบิดาแห่งเพลงไทยเดิม" ทรงพระนิพนธ์เพลงไทย เพลงฝรั่งและเพลงไทยเดิมไว้มากมาย ทรงนิพนธ์เพลง วอทซ์ปลื้มจิต, วอทซ์ชุมพล, สุดเสนาะ, เพลงมหาฤกษ์, เพลงพญาโศก

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงฉายกับ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงฉายกับ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี


สารบัญ

[แก้] พระประวัติ

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๔ ในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระพี่นางพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ทรงศึกษาชั้นต้นที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเสนาธิการ แห่งเยอรมนี

[แก้] พระโอรส-ธิดา

ตราประจำราชสกุลบริพัตร
ตราประจำราชสกุลบริพัตร

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงประทับที่วังบางขุนพรหม ทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร [1] ทรงเษกสมรสกับ หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ไชยันต์) (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย) มีพระโอรสพระธิดา ๘ พระองค์ คือ

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงเษกสมรสกับ หม่อมสมพันธ์ บริพัตร ณ อยุธยา (ปาลกะวงศ์) มีพระโอรสพระธิดา ๒ พระองค์ คือ

[แก้] การรับราชการ

ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการสำคัญทั้งฝ่ายกลาโหมและมหาดไทยหลายรัชกาล ด้วยทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่กิจการที่ทรงรับภาระเป็นอย่างดียิ่งทั้งทางด้านการทหาร การปกครอง การสาธารณสุข การศึกษา ทรงวางรากฐานความเจริญของกองทัพเรือไทย กองทัพบก กระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย

[แก้] บั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้องเสด็จออกจากประเทศไทยอย่างกะทันหัน และย้ายไปประทับอยู่ที่เมืองบันดุง เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคไตและพระหทัย เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ในขณะที่ทรงพระชนมายุ ๖๓ ปี และได้มีการพระราชทานเพลิงพระศพ ที่พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓

[แก้] อ้างอิง

  1. http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i535.html

[แก้] ผลงานดนตรี

   สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงสีซอได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงต่อเพลงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ จนมีฝีพระหัตถ์ดีเยี่ยม และทรงต่อเพลงกับเจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์ เป็นครั้งคราว

   พระองค์ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซอ ทั้งยังทรงเปียโนได้ดีอีกด้วย เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับที่วังบางขุนพรหม ทรงมีทั้งวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายประจำวัง 

   วงปี่พาทย์นั้นเริ่มแรกทรงใช้วงดนตรีมหาดเล็กเรือนนอก ซึ่งเป็นของตระกูลนิลวงศ์จากอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาทรงได้วงดนตรีของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) และจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งมีนักดนตรีและนักร้องที่มีชื่อเสียงประจำวง เช่น

        นายทรัพย์       เซ็นพานิช       ระนาดเอก
        จ่าเอก กมล      มาลัยมาลย์      ระนาดเอก
        นายสาลี่        มาลัยมาลย์      ระนาดเอก ฆ้องวง
        จ่าโทฉัตร       สุนทรวาทิน      ระนาดทุ้ม
        นายศิริ         ชิดท้วม         ระนาดทุ้ม
        นายช่อ  สุนทรวาทิน      ฆ้องวงใหญ่
        ร้อยเอก นพ      ศรีเพชรดี       ฆ้องวงใหญ่
        จ่าสิบเอก พังพอน        แตงสืบพันธุ์    ฆ้องวงเล็ก
        นายละม้าย       พาทยโกศล        เครื่องหนัง
        จ่าสิบเอก ยรรยงค์       โปร่งน้ำใจ      เครื่องหนัง
        นายเทวาประสิทธิ์        พาทยโกศล        ปี่ใน ซอสามสาย
        นางเจริญ        พาทยโกศล        นักร้อง
        จ่าเอก อิน      อ๊อกกังวาล      นักร้อง
        นางสาวสอาด      อ๊อกกังวาล      นักร้อง
        นางเทียม        เซ็นพานิช       นักร้อง
        คุณหญิงไพฑูรย์  กิตติวรรณ       นักร้อง
        นางสว่าง        คงลายทอง        นักร้อง
                         
   ส่วนวงเครื่องสายนั้นเป็นวงที่ทรงบรรเลงร่วมกับพระราชธิดา พระประยุรญาติ และผู้ใกล้ชิด มีนายสังวาล กุลวัลกี เป็นผู้ฝึกสอน นักดนตรีและนักร้อง เช่น
        สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต   ซอสามสาย
        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง       ซอด้วง
        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี       ซอด้วง
        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงศ์วิจิตร      ซออู้
        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน     ซออู้
         พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย        จะเข้
        คุณร่ำ  บุนนาค  จะเข้
        หม่อมสมพันธุ์   บริพัตร         ซออู้
        คุณบุญวิจิตร    อมาตยกุล        ซออู้
        คุณสุดา         จาตุรงคกุล      ขลุ่ย
        คุณหญิงแฉล้ม    เดชประดิยุทธ์   โทน รำมะนา
        คุณหญิงไพฑูรย์  กิตติวรรณ       นักร้อง
        นางหอม  สุนทรวาทิน      นักร้อง
        นางเทียม        กรานต์เลิศ      นักร้อง
        นางสว่าง        คงลายทอง        นักร้อง

   ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และพระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ นั้น วังบางขุนพรหมเป็นศูนย์กลางการประชันวงปี่พาทย์ การแสดงดนตรี และการละเล่นต่างๆ และเป็นที่เกิดของเพลงที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ส่วนวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหมนั้น ก็เป็นวงที่มีชื่อเสียงมาก และได้เข้าร่วมในการประชันวงที่วังบางขุนพรหมเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ ซึ่งได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศ เป็นต้นตำรับการขับร้องที่สืบทอดมาแต่โบราณ 

   ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ทรงโปรดใช้เวลาว่างส่วนพระองค์ในการศึกษาวิชาดนตรี ทั้งด้านประสานเสียง และการประพันธ์เพลง จนทรงสามารถประพันธ์เพลง และทำหน้าที่เป็นวาทยากรได้อย่างคล่องแคล่ว เคยทรงเล่าประทานพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระธิดา ฟังว่า “…ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ ทูลหม่อม (รัชกาลที่ ๕) สั่งให้พ่อไปเรียนวิชาทหารเพื่อกลับมาปรับปรุงกองทัพไทย พ่อก็ไปเรียนวิชาทหาร บางครั้งพ่อเบื่อบางวิชาที่ต้องเรียนจนทนไม่ไหว ต้องเก็บพ็อกเก็ตมันนี่เอาแอบไปเรียนดนตรี แอบไปเรียนเพราะพวกผู้ใหญ่สมัยนั้นเห็นว่าวิชาดนตรีไม่เหมาะกับชายชาติทหาร เมื่อได้เรียนดนตรีที่พ่อรักก็สบายใจ เกิดความอดทนที่จะเรียนและทำงานที่พ่อเบื่อ…” 

   ทรงเริ่มแต่งเพลงสากลก่อนเพลงไทย เพลงชุดแรกๆ มีเพลงวอลทซ์โนรี และเพลงจังหวะโปลก้า ชื่อเพลงมณฑาทอง เป็นต้น 

   ทรงนิพนธ์เพลงไทยประสานเสียงแบบเพลงสากล เช่น เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เพลงสาครลั่น และทรงแยกเสียงประสานเพลงไทยสำหรับบรรเลงด้วยวงโยธวาฑิต ทำให้แตรวงบรรเลงเพลงไทยได้ไพเราะ มีหลักการประสานเสียงดียิ่งขึ้น ได้ทรงประดิษฐ์เพลงแตรวงไว้หลายเพลง เช่น โหมโรงสะบัดสะบิ้ง เพลงเขมรใหญ่ เถา เพลงแขกมัสหรี เถา เพลงแขกสี่เกลอ เถา 

   เพลงที่ทรงนิพนธ์ไว้ทั้งสำหรับวงโยธวาฑิตและปี่พาทย์ เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา (พ.ศ.๒๔๕๓) เพลงพม่าห้าท่อน เถา เพลงแขกสาย เถา (พ.ศ.๒๔๗๑) เพลงพ่าห้าท่อน เถา เพลงพวงร้อย เถา 

   ทรงนิพนธ์เพลงเถาสำหรับปี่พาทย์ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา (พ.ศ.๒๔๗๑) เพลงอาถรรพ์ เถา (พ.ศ.๒๔๗๑) เพลงสมิงทองเทศ เถา (พ.ศ.๒๔๗๓) และภายหลังเมื่อเสด็จไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังได้ทรงนิพนธ์เพลงสำหรับวงปี่พาทย์ไม้แข็งขึ้นอีกหลายเพลง เช่น เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา (พ.ศ.๒๔๘๐) เพลงนารายณ์แปลงรูป เถา (พ.ศ.๒๔๘๐) และเพลงสุดถวิล เถา (พ.ศ.๒๔๘๔)

   ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ทรงปรับปรุงวงดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารเรือ จนสามารถบรรเลงเพลงประเภทซิมโฟนีได้ดีเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน

[แก้] ลิงก์ภายนอก

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com