Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ภาษาจาวา - วิกิพีเดีย

ภาษาจาวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โลโก้ของภาษาจาวา

ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน

และแม้ว่า้จะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

สารบัญ

[แก้] จุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการ ในการพัฒนาจาวา คือ

  1. ใช้ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ
  2. ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (สถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ)
  3. เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน
  4. เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย

[แก้] จาวาแพลตฟอร์ม และ ภาษาจาวา

เนื่องจากชื่อที่เหมือนกัน และการเรียกขานที่มักจะพูดถึงพร้อมกันบ่อยๆ ทำให้คนทั่วไป มักสับสนว่า ภาษาจาวา และ จาวาแพลตฟอร์ม เป็นสิ่งเดียวกัน

ในความเป็นจริงนั้น ทั้งสองสิ่ง แม้จะทำงานเสริมกัน แต่ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกัน

โดย ภาษาจาวานั้น คือภาษาโปรแกรมอย่างนึง ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น ส่วน จาวาแพลตฟอร์มนั้น คือสภาพแวดล้อมสำหรับการใช้งานโปรแกรมจาวา โดยมีองค์ประกอบหลักคือ จาวาเวอร์ชวลแมชีน (Java virtual machine) และ ไลบรารีมาตรฐานจาวา (Java standard library)

โปรแกรมที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์มนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสร้างด้วยภาษาจาวา เช่น อาจจะใช้ ภาษาไพธอน (Python) หรือ ภาษาอื่นๆ ก็ได้

ส่วนภาษาจาวานั้น ก็สามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแพลตฟอร์มอื่นได้เช่นเดียวกัน เช่น คอมไพเลอร์ gcj สามารถคอมไพล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวา ให้ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้ จาวาเวอร์ชวลแมชีน

[แก้] ประวัติ

[แก้] รุ่นต่าง ๆ ของภาษาจาวา

  • 1.0 (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด
  • 1.1 (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม inner class
  • 1.2 (4 ธันวาคม, ค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "จาวา 2" แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง
  • 1.3 (8 พฤษภาคม, ค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย
  • 1.4 (13 กุมภาพันธ์, ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005)
  • 5.0 (29 กันยายน, ค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, และที่สำคัญคือ Generics
  • 6.0 (กำลังพัฒนา กำหนดออก ค.ศ. 2006) — รหัส Mustang เป็นรุ่นในการพัฒนาของ Java SDK 6.0 ที่ออกมาให้ทดลองใช้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004
  • 7.0 — รหัส Dolphin ยังอยู่ในช่วงวางแผน [1]

[แก้] ซอฟต์แวร์เสรีที่เกี่ยวข้อง

รายชื่อของซอฟต์แวร์เสรีที่เกี่ยวข้องกับจาวา

[แก้] คอมไพเลอร์และเวอร์ชวลแมชีน

  • JDK คอมไพเลอร์มาตราฐานของซัน ไมโครซิสเต็มส์
  • GCJ คอมไพเลอร์ภาษาจาวาของโครงการ GCC หรือ GNU Compiler Collection
  • Jikes คอมไพเลอร์ที่เดิมพัฒนาโดยไอบีเอ็ม
  • GNU Classpath ชุดไลบรารีสำหรับจาวาแพลตฟอร์ม โอเพนซอร์ส
  • Kaffe
  • SableVM
  • IKVM คอมไพเลอร์ภาษาจาวาบน .NET แพลตฟอร์ม
  • SuperWaba

[แก้] สภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนา (IDE)

  • Eclipse โอเพนซอร์ส
  • NetBeans โอเพนซอร์ส
  • IntelliJ IDEA
  • ฺBorland JBuilder
  • Sun Java Studio ของซัน ไมโครซิสเต็มส์
  • WebSphere Studio ของไอบีเอ็ม
  • ฺVisual Age ของไอบีเอ็ม (ปัจจุบันเลิกพัฒนาแล้ว ถูกแทนที่ด้วย WebSphere Studio)
  • ฺVisual Cafe' ของบริษัท Symantec
  • BlueJ เป็น IDE ที่เหมาะกับการศึกษา โดยเน้นที่แนวคิดเรื่องการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
  • JLab ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟรีและเล็กเหมาะกับการศึกษา
  • JEdit (เป็นเอดิเตอร์ แต่สามารถติดตั้งปลั๊กอินเพื่อเพิ่มความสามารถด้าน IDE ได้)

[แก้] บทความที่เกี่ยวข้อง

  • RTSJ เรียลไทม์สเปคซิฟิเคชั่นสำหรับJava

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

  • java.com ข้อมูลจาวา สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
  • java.sun.com ข้อมูลจาวา สำหรับนักพัฒนา
  • java.net ชุมชนนักพัฒนาจาวา และโครงการต่างๆเกี่ยวกับจาวา
  • developerWorks: Java technology - แหล่งความรู้เกี่ยวกับจาวา
  • Java Community Process - กระบวนการร่างข้อกำหนดของเทคโนโลยีจาวาโดยชุมชน
  • JavaOne - การประชุมเทคโนโลยีจาวา
  • TheServerSide.COM - ชุมชนนักพัฒนาจาวาสำหรับระบบขนาดใหญ่
  • นาริสา.คอม - ชุมชนนักพัฒนาจาวาชาวไทย


ภาษาโปรแกรมที่สำคัญ (แก้ )

ธุรกิจ: อาบัพ | เอด้า | เอเอสพี | เอดับเบิ้ลยูเค | แอสเซมบลี | ซี | ซีพลัสพลัส | ซีชาร์ป | โคปอล | ปาสคาลเชิงวัตถุ | ไอเฟล | ฟอร์แทรน | จาวา | จาวาสคริปต์ | เจเอสพี | เจชาร์ป | ลิสป์ | ซีเชิงวัตถุ | เพิร์ล | พีเอชพี | พีแอล | ไพทอน | อาร์พีจี | รูบี | เอสเอเอส | เชลสคริปต์ | เอสคิวแอล | ทีซีแอล | วิชวลเบสิก

การศึกษา: เอฟชาร์ป | แฮสเคลล์ | โลโก | เอ็มแอล | ปาสกาล | โปรล็อก | สมอลทอล์ก | สกีม

อื่นๆ: อัลกอล | เอพีแอล | เบสิก | คลิปเปอร์ | มัมปส์ | พีแอลวัน | ซิมูล่า

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com