Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
นักเทคนิคการแพทย์ - วิกิพีเดีย

นักเทคนิคการแพทย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นักเทคนิคการแพทย์ (Medical technologist หรือ Medical leboratory technologist) เป็นวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ปฏิบัติงานภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไว้ว่า เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เพื่อให้ได้สิ่งตัวอย่างทางการแพทย์ และการดำเนินการโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจ ทดสอบ วิเคราะห์ วิจัย และการรายงานผลการตรวจ เพื่อวินิจฉัย การติดตามการรักษา การพยากรณ์โรค และการป้องกันโรค หรือเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ [1]

สารบัญ

[แก้] ประวัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

  • พ.ศ.2487 เนื่องจาก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขาดแคลนบุคลากรที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จึงนำพยาบาลมาฝึกหัดในการตรววิเคราะห์ ซึ่งเป็นการใช้บุคลากรไม่ตรงตามสาขาวิชาที่เรียนมา ทางคณะฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่างหลักสูตรในการผลิตบุคลากรทางห้องปฏิบัติการ แต่โครงการต้องระงับไป เนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
  • พ.ศ.2497 อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ขอความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID ในปัจจุบัน)และได้ส่ง นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ และ นพ.เชวง เดชะไกศยะ ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคนิคการแพทย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี
  • พ.ศ. 2499 ได้เริ่มการก่อสร้างโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ ขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง “โรงเรียนเทคนิคการแพทย์” สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขโดยนักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทย สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.)
  • พ.ศ. 2500 มีพระราชกฤษฎีจัดตั้ง "คณะเทคนิคการแพทย์ " ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีท่านแรก ซึ่งนับเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์เทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย นับแต่นั้นเป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2503 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ปรับขยายหลักสูตรจากอนุปริญญา เป็นระดับปริญญาตรี ได้วุฒิวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ซึ่งเป็นการปรับหลักสูตรก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 ปี
  • พ.ศ. 2549 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา โดยชื่อเทคนิคการแพทย์สำหรับหลักสูตรที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วให้ใช้ชื่อเดิมคือ “วิทยาศาสตรบัณฑิต(เทคนิคการแพทย์)" และชื่อย่อ “วท.บ.(เทคนิคการแพทย์)” สำหรับหลักสูตรที่จะขอเปิดใหม่ ตามประกาศดังกล่าวให้ใช้ชื่อปริญญาระดับปริญญาตรีว่า “เทคนิคการแพทยบัณฑิต” และใช้ชื่อย่อ “ทพ.บ.”

[แก้] มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

การเรียนการสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เริ่มขึ้นที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแห่งแรก ในปี พ.ศ.2500 โดยมีที่ทำการอยู่ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมาคณะเทคนิคการแพทย์ ที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้โอนมาเป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแยกออกมาเป็นคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2534 ซึ่งนับเป็นสถาบันแห่งที่ 2 ที่เปิดการเรียนการสอนในวิชาชีพนี้ ต่อมาจึงมีการตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแห่งที่ 3 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่

ดูเพิ่ม รายชื่อคณะสหเวชศาสตร์ในประเทศไทย

[แก้] สาขาวิชา

การเรียนการสอนในสาขาเทคนิคการแพทย์นั้น ครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้

[แก้] การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ

ในอดีตผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้นั้น จะต้องจบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ซึ่งออกโดยกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จะต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ จาก สภาเทคนิคการแพทย์

ในบางมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ใน มลรัฐฮาวาย, มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, มลรัฐฟลอริดา, มลรัฐเนวาดา และมลรัฐลุยเซียนา เป็นต้น นักเทคนิคการแพทย์จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฏหมาย และจะต้องมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อต่ออายุใบอนุญาตเป็นประจำ

[แก้] คำนำหน้าชื่อและอักษรย่อ

ในประเทศไทย นักเทคนิคการแพทย์สามารถใช้คำนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงถึงการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้ โดยให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ชาย ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพ." และผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หญิง ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพญ." [2]

สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา นักเทคนิคการแพทย์จะใช้อักษรย่อว่า "MT" ซึ่งมาจาก "Medical technologist(เรียกสั้น ๆ ว่าMed tech)" ซึ่งคล้าย ๆ กับแพทย์ที่ใช้อักษรย่อคำว่า "MD" ย่อมาจาก Medical Doctor และ พยาบาลจะใช้คำย่อว่า "RN" ซึ่งย่อมาจาก Registered Nurse และถ้าหากนักเทคนิคการแพทย์ที่ผ่านการรับรองจาก "ชมรมพยาธิวิทยาคลินิกแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Society for Clinical Pathology" ก็อาจจะใช้คำย่อว่า "MT(ASCP)" และเช่นเดียวกัน ถ้าหากผ่านรับการรับรองจาก "สมาคมธนาคารเลือดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Association of Blood Banks ก็สามารถใช้ชื่อย่อว่า "SBB" ได้เช่นกัน โดยสามารถเขียนอักษรย่อเป็น "MT(ASCP)SBB"

[แก้] หน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์

[แก้] การประกอบอาชีพ

นักเทคนิคการแพทย์สามารถทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทั้งในภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานอย่างอื่นได้ เช่น เป็นตัวแทนขายเครื่องมือ-น้ำยาทางการแพทย์ หรือศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาได้ในหลายสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ได้

[แก้] อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547
  2. กำหนดใช้คำนำหน้าชื่อผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


  นักเทคนิคการแพทย์ เป็นบทความเกี่ยวกับ การแพทย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ นักเทคนิคการแพทย์ ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com