Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) - วิกิพีเดีย

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

ภาพ:bodin.jpg


ชื่อ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

(บ.ด.)

ชื่อ (อังกฤษ) Bodindecha (Sing Singhaseni) School
ก่อตั้ง 30 เมษายน 2514
ประเภทโรงเรียน มัธมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหวิทยาสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
คำขวัญ ลูกบดินทรเป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้
สีประจำสถาบัน น้ำเงิน
ที่อยู่ 40 ซอยรามคำแหง 43/1 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
เว็บไซต์ www.bodin.ac.th

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) (อังกฤษ: Bodindecha (Sing Singhaseni) School) อักษรย่อ (บ.ด.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหวิทยาสังกัดกรมสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 40 ซอยรามคำแหง 43/1 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

สารบัญ

[แก้] สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนคือ พระเกี้ยว ตราประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า "ศิราภรณ์ประดับยอดศีรษะ" หรือ "จุลมงกุฎ" ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับ "มงกุฎ" พระปรมาภิไธยเดิมของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันมีความหมายว่า "พระจอมเกล้าน้อย" เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์ ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้ตราพระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนข้าราชการ และหลังจากนั้นจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสภามหาวิทยาลัยลงมติจัดตั้ง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จึงรับเอาตราพระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียนด้วย และเมื่อ คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ก่อตั้งโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 จึงได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน

หอพระเกี้ยว ภาพ :Bodinzone
หอพระเกี้ยว ภาพ :Bodinzone
ตึก 1 - อาคารบดินทรพิพัฒน์ ภาพ :Bodinzone
ตึก 1 - อาคารบดินทรพิพัฒน์ ภาพ :Bodinzone
สระน้ำ ระหว่างตึก 1-2 ภาพ :Bodinzone
สระน้ำ ระหว่างตึก 1-2 ภาพ :Bodinzone

[แก้] เกี่ยวกับโรงเรียน

[แก้] ประวัติโรงเรียน

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ ขุนพลแก้วในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกียรติและวีรกรรม ในการปราบปรามอริราชศัตรูเบื้องบูรพา แม้ท่านจะเป็นนักรบผู้กรำศึกน้อยใหญ่ แต่ท่านก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ท่านเห็นว่าโรงเรียนจะเป็นสถานที่ดักความชั่ว และเป็นที่ที่สอนความเป็นคน แนวความคิดของท่านได้รับการสืบสานโดยทายาทชั้นเหลนของท่าน ในปีพ.ศ. 2504 คุณหญิงนครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ได้บริจาคที่ดินผืนนี้อันเคยเป็นที่พักทัพของท่าน เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษา พ.ศ. 2511 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

7 พฤษภาคม 2514 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 1 ในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็ได้รับนักเรียนรุ่น แรกโดยใช้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นสถานที่เรียน โดยมีนายเฉลิม สิงหเสนี เป็นอาจารย์ใหญ่

ในปีการศึกษา 2514 กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งนายเฉลิม สิงหเสนี เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ได้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ห้องเรียนและนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 12 ห้องเรียน มีนักเรียน 838 คน ครู-อาจารย์ 43 คน โดยใช้สถานที่เรียนครั้งแรก ณ โรงเรียนเตรียมอุดม เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียนร้อยแล้ว จึงย้ายมาเรียน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนใช้ตรา "พระเกี้ยว" เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน และโรงเรียนได้อันเชิญตรานี้ประดับอกเสื้อเหนืออักษรย่อ บ.ด.สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

พ.ศ. 2516 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม้จะเป็นโรงเรียนที่เพิ่มก่อตั้ง แต่นักเรียนบดินทรเดชาก็มีความสามารถทางวิชาการไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใครๆ และยังมีความประพฤติ และคุณลักษณะที่ "มองเพียงข้างหลังก็รู้ว่าเป็นเด็กบดินทร" ปีต่อมานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก็ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เช่นเดียวกัน และสมาคมครูและผู้ปกครองก็ถือกำเนิดขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจการต่างๆของโรงเรียนและได้ทำหน้าที่ด้วยดีเสมอมา

24 มิถุนายน 2521 เนื่องในวันคล้ายวันอสัญกรรมของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จึงได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของท่านขึ้นและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิด พ.ศ. 2529 มีการสร้างพระพุทธรูปประจำโรงเรียน โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก ประทานนามว่า "พระพุทธบดินทรพิทักษ์บริรักษ์ศิษยา"

พ.ศ. 2530 เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ คุณจวงจันทร์ สิงหเสนี และสมาคมศิษย์เก่าได้สมทบทุนสร้าง "อาคารเฉลิมพระเกียรติ" ขึ้น โดยชั้นบนของอาคารใช้เป็นหอประชุม ชั้นล่างคือ "หอสมุดคุณหญิง นครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี)" ซึ่งได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา และของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531

พ.ศ. 2532 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้รับคัดเลือกให้เป็น "โรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่" นับเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ของชาวบดินทรเดชา พ.ศ. 2537 เป็นปี "กาญจนาภิเษก" ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชทรงครองศิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี และเป็นปีที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ก่อตั้งมาครบรอบ 25 ปี ทายาทสกุลสิงหเสนี คณาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า จึงได้ร่วมใจสร้างพิพิธภัณฑ์เจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และในวันที่ 24 มิถุนายน 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรง ประกอบพีธีเปิดพิพิธภัณฑ์

ในเวลาต่อมาก็ได้มีการก่อสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ ต่อนัก-เรียนอีกมากมายอาทิ อัฒจันทร์ 25 ปีบดินทรเดชา สระว่ายน้ำ อาคารฝึกงาน 4 ชั้น ตลอดจนศูนย์วิชาที่ทันสมัยของหมวดต่างๆ และโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้มีการพัฒนาอย่างมีระเบียบแบบแผนอย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน การสอน การปลูกฝัง คุณธรรมให้แก่ นักเรียน ด้านสิ่งแวดล้อมกับชุมชน ซึ่งโรงเรียนบดินทร- เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้รับใบรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 ด้วยความร่วมแรง ร่วมใจของชาวบดินทรเดชาทุกคน

ตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา บดินทรเดชาเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่หยั่งรากฝังลึก เจริญเติบโตอย่างสง่างามยืนหยัดอย่างมั่นคง และแผ่กิ่งก้านสาขาออกไป โดยมีบดินทร 2, 3, 4 และ 5 เป็นโรงเรียนในเครือที่มีประสิทธิภาพ ชื่อเสียงของบดินทรเดชา ที่ได้ผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าออกสู่สังคมมากมาย ทำให้ผู้ปกครองล้วนวางใจส่งบุตรหลานมาสู่บดินทรเดชา ซึ่งความศรัทธาและความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิของชาวบดินทรเดชาทุกคน จะทำให้โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นโรงเรียนที่ยิ่งใหญ่อยู่คู่แผ่นดินไทยสืบต่อไป

[แก้] ข้อมูลจำเพาะ

  • ชื่อ : โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
  • อักษรย่อ : บ.ด.
  • ที่ตั้ง : 40 ซอยรามคำแหง 43/1 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
  • โทรศัพท์ : 0-2538-2573, 0-2538-3964, 0-2514-1403
  • โทรสาร : 0-2539-7091, 0-2503-3128
  • พื้นที่ : 39 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา
  • วันที่ประกาศจัดตั้ง : 30 เมษายน 2514
  • วันวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน : 7 พฤษภาคม 2514
  • วันสำคัญของโรงเรียน : วันเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 24 มิถุนายน ของทุกปี
  • สัญลักษณ์ : พระเกี้ยว (โดยพระบรมราชานุญาต)
  • ปรัชญา : ลูกบดินทรเป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้
  • ศูนย์รวมจิตใจ : เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน : พระพุทธบดินทรพิทักษ์บริรักษ์ศิษยา
  • ดอกไม้ประจำโรงเรียน : นิลุบล
  • สีประจำโรงเรียน : น้ำเงิน
  • ชื่อคณะ : ฉัตรบดินทร / ปิ่นขัตติยะ / เตชะสิงหราช / ภูวนารถรัตนะ / ภัทรพระเกี้ยว

[แก้] เกียรติประวัติ

  1. รางวัลโรงเรียนดีเด่น กรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2515, 2516, 2518 และ 2519
  2. รางวัลพระราชทานประเภท โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายขนาดใหญ่พิเศษ ที่จัดการบริหารโรงเรียนดีเด่น ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2532
  3. รางวัลห้องสมุดดีเด่น ของกรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2531, 2538 และ 2539
  4. รางวัลห้องสมุด และห้องสมุดกาญจนาภิเษกของกรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2539
  5. รางวัลห้องสมุดดีเด่น และห้องสมุดยอดเยี่ยมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2531 และ 2539
  6. รางวัล "โรงอาหารมาตรฐานดีเด่น" กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2533
  7. รางวัลชนะเลิศการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่นของ สสวท. พ.ศ. 2535
  8. รางวัลโรงเรียนที่จัดจริยศึกษาดีเด่น จากกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2535, 2536 และ 2537
  9. รางวัลโรงเรียนดีเด่นด้านวินัยและการจราจร จากกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2536
  10. ป้ายเกียรติคุณ "สถานศึกษาที่ปลอดบุหรี่" จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2539
  11. ศูนย์กีฬาวอลเล่ย์บอล (หญิง) กรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2533
  12. ศูนย์ พสวท. ของสถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527
  13. ศูนย์ AFS เขตกรุงเทพมหานครเหนือ พ.ศ. 2533
  14. ศูนย์นิเทศวิชาภาษาไทย กรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2539
  15. ครู-อาจารย์ ได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่น รางวัลครูผู้สอนดีเด่น ครูจริยธรรมศึกษาดีเด่น ผู้กำกับการศึกษาวิชาทหารดีเด่น ผู้ฝึกสอนกีฬาดีเด่น ฯลฯ
  16. นักเรียนได้รับรางวัลพระราชทานดีเด่น นักกีฬายอดเยี่ยม ลูกเสือดีเด่น ฯลฯ
  17. ได้ใบรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จากสถาบันสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2544
  18. โรงเรียนในโครงการการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนความสามารถพิเศษด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี พ.ศ. 2543
  19. ศูนย์วัฒธรรมเขตวังทองหลาง
  20. รางวัลชนะเลิศวงโยธวาทิต ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2546
  21. รางวัลชนะเลิศวงโยธวาทิต ประเภทพาเหรด ณ ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2545
  22. รางวัลชนะเลิศประกวดวงลูกทุ่งถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพ.ศ. 2545 และ 2546
  23. รางวัลชนะเลิศประกวดกองเชียร์ ระดับมัธยมศึกษา ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. 2546
  24. โรงเรียนส่งเสริมการอ่านยอดเยี่ยม พ.ศ. 2547 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมาหานคร เขต 2 สาขากิจกรรมส่งเสริมยอดนักอ่าน และยอดนักอ่านสู่การเรียนรู้ ด้านส่งเสริมนักสร้างสรรค์สังคม และด้านส่งเสริมนักสื่อสารภาษาอังกฤษ
  25. รางวัลชนะเลิศประกวดกองเชียร์ ระดับมัธยมศึกษา ถ้วยประทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พ.ศ. 2548

[แก้] ผู้อุปการคุณโรงเรียน

  • คุณหญิงนครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ผู้บริจาคที่ดิน
  • คุณจวงจันทร์ สิงหเสนี
  • คุณจับจิตต์ สิงหเสนี ตุวินันท์
  • คุณสรรเพ็ชร - คุณกรทิพย์ สิงหเสนี

[แก้] รายชื่อผู้บริหาร

  • คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ผู้ก่อตั้งโรงเรียน
  • นายเฉลิม สิงหเสนี อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2514-2516
  • คุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริ พ.ศ. 2516-2522
  • นางสงัด จิตตะยโสธร พ.ศ. 2522-2531
  • นางประจวบ ชำนิประศาสน์ พ.ศ. 2531-2533
  • คุณหญิงลักขณา แสงสนิท พ.ศ. 2533-2539
  • นายเฉลิมชัย รัตนกรี พ.ศ. 2540-2541
  • นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ พ.ศ. 2541-2542
  • นางพรรณี เพ็งเนตร พ.ศ. 2542-2543
  • นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง พ.ศ. 2543-2545
  • นายอมรรัตน์ ปิ่นเงิน พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน

[แก้] โรงเรียนในเครือ

[แก้] อ้างอิง


[แก้] ดูเพิ่ม


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com