Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สวนสาธารณะ - วิกิพีเดีย

สวนสาธารณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สวนลุมพินี สวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพมหานคร
สวนลุมพินี สวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพมหานคร

สวนสาธารณะ (parks หรือ public parks) หมายถึงบริเวณสาธารณะที่ภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนตามชุมชนและเมืองต่างๆ โดยรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลรักษา ปัจจุบัน การจัดที่พักผ่อนหย่อนใจถือเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่สวนสาธารณะในความหมายนี้ อาจจัดสร้างโดยเอกชนแล้วอุทิศให้แก่ประชาชนก็ได้

ด้านรูปแบบ สวนสาธารณะจะเน้นหนักกิจกรรมนันทนาการ หรือการพักผ่อนหย่อนใจเท่ากับหรือมากกว่าด้านความสวยงาม ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่การพักผ่อนหรือนันทนาการแบบผ่อนคลาย (Passive recreation) และนันทนาการแบบกระฉับกระเฉง (Active recreation) ปกติกิจกรรมทั้งสองประเภทนี้มักขัดแย้งกัน การจัดแบ่งเขตหรือโซนจึงมีความจำเป็น อย่างไรก็ดีการแบ่งโซนเด็ดขาดมักสร้างปัญหา และการกำหนดชนิดของกิจกรรมเองก็มักมีปัญหาไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ สวนสาธารณะที่ดีจึงต้องสนองประโยชน์ใช้สอยสูงสุดและต้องสวยงามด้วย การออกแบบสวนสาธารณะจึงมีความสำคัญ

สารบัญ

[แก้] สวนที่อาจไม่นับเป็นสวนสาธารณะ

สวนบางประเภท แม้เปิดให้ประชาชนเข้าไปใช้ฟรีแต่ก็ไม่นับรวมไว้ในประเภทของสวนสาธารณะในความหมายของบทความนี้ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ (Botanic gardens) สวนรุกขชาติ (Arboretums) อุทยานสาธารณะ (Public gardens) สวนสนุก (Amusement parks) สวนสัตว์ (Zoological gardens) อุทยานแห่งชาติ (National parks) และวนอุทยาน (Forest parks) รวมทั้งแหล่งสงวนพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife sanctuary) และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (Non-Hunting Areas) ทั้งนี้ เนื่องจากสวนหรือสถานที่ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เฉพาะและมีข้อจำกัดในการใช้งาน มีการบริหารจัดการและแหล่งงบประมาณจัดสร้างแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมี “สวนหย่อม” ตามถนนหรือสวนสัตว์จำลองตามบาทวิถีต่างๆ ในกรุงเทพมหานครในยุคปัจจุบันที่ไม่นับเป็นสวนสาธารณะ แต่ถือเป็นเป็นพื้นที่สีเขียวของเมือง

[แก้] ความเป็นมาของสวนสาธารณะ

สวนสาธารณะในความหมายปัจจุบันเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกในประเทศอังกฤษในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมระหว่างกลางสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ การพัฒนาอุตสาหกรรมทำให้แรงงานมากมายจากชนบทอพยพมาทำงานและอยู่ในเมืองกันอย่างแออัดในบริเวณ “สลัม” ที่ขาดสุขลักษณะ กรรมกรเหล่านี้จึงบุกรุกไปใช้ที่ว่างเปล่าเพื่อพักผ่อนและเล่นกีฬาและบางครั้งลุกล้ำเข้าไปใช้ “อุทยานหรือ Park” ส่วนตัวของขุนนางและกษัตริย์จนถูกลงโทษอยู่เนืองๆ จนลุกลามเป็นจลาจลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการเรียกร้องที่กลายเป็น “ขบวนการอุทยานเพื่อประชาชน” (People’s Parks Movement) ที่เริ่มจากการยอมให้ประชาชนเข้าไปใช้อุทยานอย่างมีเงื่อนไข ไปจนถึงช่วงที่มีการบุกพังรั้วเข้าไปใช้อุทยานไฮด์หรือไฮด์ปาร์ก (Hyde Park) เพื่อทำกิจกรรมการพักผ่อนตามความพอใจ

ตั้งแต่นั้นมา อุทยานต่างๆ ที่ยอมเปิดให้ประชาชนเข้าไปใช้จะถูกเรียกว่า “อุทยานประชาชน” People’s parks เพื่อให้แตกต่างอุทยานของขุนนางและกษัตริย์และได้กลายเป็น อุทยานหรือสวนสาธารณะ (public parks) ในปัจจุบัน

สวนสาธารณะเบอร์เก็นเฮด (Birkenhead Park) ใกล้เมืองลิเวอร์พูลในประเทศอังกฤษถือเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของโลกที่สร้างด้วยเงินภาษีของประชาชน เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2390 จากนั้นมา แนวคิดการจัดทำสวนสาธารณะได้แพร่หลายไปตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก รวมทั้ง “เซ็นทรัลปาร์ก” ในนครนิวยอร์ก (ออกแบบโดยเฟรเดริก ลอว์ ออล์มสเตด พ.ศ. 2401 ใช้เวลาสร้างมากกว่า 10 ปี) ปัจจุบัน สวนสาธารณะได้กลายเป็นมาตรฐานในการวางแผนและพัฒนาเมือง

[แก้] สวนสาธารณะในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาแต่โบราณ แม้ในเมืองก็ยังมีที่โล่งว่างไม่แออัดมาก จึงไม่มีความต้องการสวนสาธารณะดังความหมายปัจจุบัน อย่างไรก็ดี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดิน 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดงสำหรับสร้างสยามรัฐพิพิธภัณฑ์และจัดให้เป็น “วนสาธารณะ” ให้ประชาชนใช้ัพักผ่อนอย่างต่างประเทศ จึงถือกันว่าสวนลุมพินีเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย แม้ก่อนหน้านั้นจะมีการสร้างอุทยานหรือสวนหลายแห่งมาก่อน เช่น สวนดุสิต สวนสุนันทาหรืออุทยานสราญรมย์เป็นต้น แต่ไม่ถือเป็นสวนสาธารณะ สมัยรัชกาลที่ 7-8 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกและมีสงครามโลกครั้งที่สองจึงไม่มีการสร้างสวนสาธารณะหรืออุทยานเกิดขึ้นอีก

สวนลุมพินีก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ดูแลโดยกรมนคราทร (กรมโยธาธิการและผังเมืองปัจจุบัน) ต่อมาได้โอนให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น การใช้สวนลุมพินีในช่วงแรกๆ มีการใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์กันมาก เช่น ใช้เป็นที่จัดงานต่างๆ รวมทั้งใช้เป็นที่สร้างโรงไฟฟ้า โรงเรียน ทั้งไทยและจีน ให้เช่าทำภัตตาคารทั้งบนบกและในน้ำ ผู้ใช้ที่ใช้สวนเพื่อพักผ่อนออกกำลังกายจริงๆ จังๆ มักเป็นชาวต่างประเทศ คนไทยจำนวนน้อยที่ใช้ มักเป็นคนยากจนใช้เป็นที่พักผ่อนและหารายได้จากการขายของ ส่วนคนไทยมีอันจะกินมักเข้าไปใช้ภัตตาคาร การใช้ในทางที่ผิดทำให้สวนลุมพินีทรุดโทรม ไม่ปลอดภัย ไม่เหมาะกับการเป็นสวนสาธารณะตามความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ประมาณปี พ.ศ. 2514 เทศบาลนครหลวงได้ตั้งกรรมการปรับปรุงสวนลุมพินีขึ้น เนื่องจากการมีเสียงเรียกร้องจากประชาชนและองค์กรเอกชน ต่อมา เทศบาลฯ จึงเริ่มให้ความสำคัญในการจัดเพิ่มสวนสาธารณะ เช่น การปรับปรุงสถานเพาะชำฝั่งธนบุรีให้เป็นสวนธนบุรีรมย์ ปรับปรุงอุทยานสราญรมย์ที่ถูกใช้เป็นที่ทำการของคณะราษฎรและที่จัดงานวชิราวุธ รวมทั้งสวนสาธารณะพระนครที่ลาดกระบังเดิมที่มีสภาพทรุดโทรมให้มีสภาพใช้งานได้ แต่งานส่วนใหญ่เน้นการสร้างอย่าง “สวนหย่อม” ซึ่งไม่ถือเป็นสวนสาธารณะ สำหรับในต่างจังหวัด เทศบาลต่างๆ เริ่มตื่นตัวสร้างสวนสาธารณะมากขึ้น เช่น การปรับปรุงพรุบาโกยจังหวัดยะลาและการสร้างและปรับปรุงที่ว่างให้เป็นสวนสาธารณะในจังหวัดอื่นๆ หลายแห่ง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการสร้างสวนสาธารณะเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ

[แก้] ขบวนการสวนสาธารณะของประเทศไทย

ประเทศไทยก็มี “ขบวนการสวนสาธารณะ” เช่นกัน แต่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนประเทศอื่นใดในโลก คือเกิดด้วยพระราชดำริและพระบารมีของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2516 เวลาประมาณ 9.40 น. ท่ามกลางเรียงเรียกร้องหาสวนสาธารณะที่ไร้ผลของสาธารณชน หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ได้โทรศัพท์แจ้งการรถไฟแห่งประเทศไทยความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า พระองค์มีพระราชทรัพย์อยู่จำนวน 1,000,000 บาท ทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างสวนสาธารณะสักแห่งในบริเวณกรุงเทพมหานคร เพื่อประชาชนได้ใช้เป็นที่พักผ่อนในยามว่าง ทรงเห็นว่าการรถไฟมีพื้นที่มาก เช่น ย่านพหลโยธิน จึงใคร่ขอให้การรถไฟฯ ได้พิจารณาและให้ความร่วมมือในด้านนี้ด้วย” การรถไฟฯ จึงได้จัดที่ดินจำนวน 93 ไร่ที่ใช้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟอยู่แล้วจัดสร้างสวน ซึ่งต่อมาคือสวนจตุจักรที่เทศบาลนครหลวงและการรถไฟฯ ร่วมกันสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระพระชนมายุครบ 4 รอบ ซึ่งต่อมามีการขยายพื้นที่เพิ่มอีก 100 ไร่ ในสมัยท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติสิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สวนจตุจักรคือจุดเริ่มของขบวนการสวนสาธารณะสมัยใหม่ของประเทศไทยและเกิดจากพระราชดำริ ทำให้เิกิดแรงบันดาลใจให้มีการสร้างสวนสาธารณะอีกมากมายหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนอย่างแท้จริงในเวลาต่อมา

ในปีพ.ศ. 2523 มีการเริ่มทยอยสร้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ตามเขตการศึกษาต่างๆ ไม่น้อยกว่า 10 แห่งโดยเริ่มต้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ยังมีหน่วยของรัฐและท้องถิ่นรวมทั้งองค์กรเอกชนต่างร่วมมือร่วมใจกันสร้างสวนสาธารณะและสวนสุขภาพมากมายทั่วประเทศเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่าฯ ในวาระพระชนมายุครบ 80 พรรษา

สวนหลวง ร.๙ มองไปยังอาคารเทอดพระเกียรติ
สวนหลวง ร.๙ มองไปยังอาคารเทอดพระเกียรติ

ในวาระมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษาของทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2530) และสมเด็จพระบรมราชินีนารถ (2535) ก็ได้มีการสร้างสวนสาธารณะที่สำคัญและสวยงามอีกหลายแห่ง เช่น สวนหลวง ร.9 อุทยานเบญจสิริ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สวนรมณีนาถ สวนเบญจกิติ (บึงยาสูบ) สวนสันติชัยปราการ สวนวชิรเบญจทัศ รวมทั้งสวนภัทรมหาราชินีที่จังหวัดสุพรรณบุรี และในวาระครบรอบ 72 พรรษา (พ.ศ. 2542) ก็ได้มีการสร้างสวนสาธารณะอีกเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบเป็นจำนวนมาก เช่น ที่เชิงสะพานพระราม 9 ฝั่งพระนครและในที่อื่นๆ หลายแห่ง รวมทั้งสวนสาธารณะเชิงสะพานพระราม 8 ทั้งนี้ยังไม่นับถึงต่างจังหวัดที่ทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระต่างๆ รวมแล้วน่ามีสวนสาธารณะทั้งเล็กและใหญ่รวมทั้งสวนสุขภาพที่สืบเนื่องจากพระราชดำริทั่วประเทศซึ่งน่าจะมากกว่า 100 แห่ง



[แก้] การออกแบบและการวางแผนสวนสาธารณะ

สวนสาธารณะจัดเป็น “สาธารณูปการ” ของเมืองที่จัดสร้างด้วยเงินภาษีอากรโดยภาครัฐ นับเป็นนันทนสถานเพื่อรองรับการใช้ในชีวิตประจำวัน และ/หรือ ชีวิตประจำสัปดาห์ และโดยที่เมืองมีความแออัดและสังคมมีความหลากหลายมากกว่ายุคก่อนๆ สวนสาธารณะซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณสูงจึงมักประสบความล้มเหลวในการใช้งานบ่อยขึ้นซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติทั้งโลก ดังนั้น การออกแบบและวางแผนจึงมีความสำคัญและมีข้อพิจารณามากขึ้น ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้


[แก้] มาตรฐาน

โดยทั่วไป ในด้านการผังเมืองมักกำหนดมาตรฐานด้านการวางแผนและออกแบบในด้านต่างๆ ของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจไว้ มาตรฐานดังกล่าวของแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับขนาด ความหนาแน่นและลักษณะประชากรของประเทศหรือเมืองนั้นๆ

:: ปริมาณ ได้แก่มาตรฐานจำนวนเนื้อที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจที่รวมที่เว้นว่างสีเขียวของเมือง (Recreation and open spaces) โดยรวมต่อจำนวนประชากร เช่น 25 ไร่ต่อประชากร 1000 คนและ 2.5 ไร่ต่อประชากร 800 คนสำหรับสนามเล่นกีฬาและสนามเด็กเล่นตามชุมชนของสหรัฐฯ และในในแต่ละรัฐก็ไม่เ่ท่ากัน สำหรับประเทศไทย ครั้งหนึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ เคยกำหนดพื้นที่พักผ่อนโดยรวมสำหรับประเทศไทยไว้ที่ 10 ไร่ต่อประชากร 1000 คน ตามข้อเสนอสำหรับผังเมืองกรุงเทพฯ ที่เรียกว่า "ผังลิชฟิลด์" (พ.ศ. 2500) ซึ่งต่อมาได้มีหลายหน่วยงานนำไปใช้ เช่น สำนักผังเมืองทั้งของกระทรวงมหาดไทยและของกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริง ผังเมืองกรุงเทพฉบับปรับปรุงใหม่ทำได้เพียง 1.8 ไร่ต่อประชากร 1000 คน นอกจากการใช้จำนวนไร่ต่อประชากร 1000 คนแล้ว บางหน่วยงานอาจกำหนดมาตรฐานเป็น “ตารางเมตรต่อคน” แต่ไม่นิยมใช้

::ลำดับศักย์ หรือ ประเภท แบ่งเป็นสวนสาธารณะระดับภาค (Regional parks) ได้แก่สวนสาธารณะที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มากที่ใช้ร่วมกันได้หลายจังหวัด ระดับมหานคร (Metropolitan parks) สำหรับประชาชนทั้งมหานครและหลั่นลงเป็นระดับเมือง (City parks) ระดับย่านหรืออำเภอ (District parks) ระดับชุมชน (Community parks) จนถึงระดับละแวกบ้าน (Neighborhood park) รวมถึงสนามเด็กเล่น มีการกำหนดมาตรฐานขนาดเนื้อที่และระยะทางมาใช้สวนในแต่ละระดับ รวมทั้งประเภทของกิจกรรม

::สิ่งอำนวยความสะดวก ในแต่ละลำดับชั้นของสวนสาธารณะจะมีการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรมการพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ การที่จะเรียกเป็นสวนสาธารณะได้นั้น จะต้องจัดให้มีองค์ประกอบที่ตรงกับความต้องการของ “สาธารณะ” ได้แก่กลุ่มอายุ กลุ่มรายได้ ความนิยม ฯลฯ สมัยหนึ่ง สนามเด็กเล่นและที่เล่นกีฬาถือเป็นภาคบังคับ เนื่องจากพบว่าอัตราการป่วยเป็นวัณโรคและอาชญากรรมรอบๆ สวนสาธารณะที่มีสนามเด็กเล่นและสนามกีฬาในเมืองแออัดของประเทศต่างๆ ในยุโรปมีน้อยกว่าสวนสาธารณะประเภทสวยงามเป็นธรรมชาติที่จัดแบบเก่า แต่ในปัจจุบัน หลักสำคัญในการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ที่ความหลากหลายและความเป็นอเนกประสงค์ที่จะสามารถสนองตอบต่อผู้ใช้สวนโดยรวมได้มากที่สุด รวมทั้งสนามเล่นกีฬาและสนามเด็กเล่น

::ขนาดและการกระจาย ขนาดของสวนในแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งอำนวยความสะดวกที่บรรจุอยู่ในนั้น แต่ในความเป็นจริง ขนาดของสวนกลับอยู่ที่ว่าจะหาได้ที่ดินได้มากน้อยเท่าใด โดยเฉพาะสวนสร้างใหม่ในเขตเมืองที่มีที่ดินราคาแพง ปกติสวนสาธารณะจัดเป็น “การใช้ที่ดิน” หนึ่งในเจ็ดประเภทในงานผังเมืองที่จะต้องมีการจัดเตรียมล่วงหน้า ขนาดของสวนระดับละแวกบ้านจึงมีขนาดเล็กได้ แต่ต้องสามารถจัดให้มีบริเวณเด็กเล่นหรือสนามเด็กเล่นวัย 0-8 ขวบและที่นั่งพักสบายๆ วิวดีและปลอดภัยสำหรับผู้ปกครองที่พาเด็กมาและสำหรับผู้สูงอายุซึ่งอาจใช้พื้นที่เพียง 100 ตารางวาขึ้นไปที่ผู้ใช้สามารถพาเด็กหรือคนชราให้เดินมาใช้ได้

::ในทำนองเดียวกันสวนสาธารณะระดับมหานครจะต้องใหญ่พอสำหรับกิจกรรมที่สวนระดับรองๆ ลงไปจัดให้ไม่ได้ เช่นพื้นที่ศึกษาธรรมชาติ อาคารทำกิจกรรม บริเวณปิกนิก ที่เล่นกีฬาใหญ่ๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามเทนนิสหรือสระว่ายน้ำขนาดใหญ่รวมทั้งสระน้ำหรือบึงธรรมชาติและเส้นทางจักรยาน ซึ่งมักเป็นการใช้ประจำสัปดาห์หรือนานๆ ครั้งสำหรับประชาชนทั้งเมืองใหญ่ สวนวชิรเบญจทัศน์ (สนามกอล์ฟรถไฟเดิม) ขนาด 450 ไร่เมื่อผนวกกับสวนสมเด็จพระนางเจ้าและสวนจตรจักรเดิมรวมได้ 790 ไร่ ก็นับเป็นตัวอย่างของสวนมหานครขนาดเล็กได้ ปกติสวนระดับมหานครควรมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 800 ไร่ เซนทรัลปาร์กของนครนิวยอร์กมีขนาด 1250 ไร่

::ในด้านมาตรฐานกระกระจายถือระยะทางเดินไปใช้สวนเป็นหลัก โดยเฉพาะสวนระดับละแวกบ้านและชุมชน ในบางกรณี ระยะนกบินหรือระยะที่วัดตรงในแผนที่อาจนำมาใช้ไม่ได้ เช่น สวนที่ห่างจากย่านพักอาศัยเพียง 100 เมตรแต่มีถนนใหญ่ ทางรถไฟหรือทางน้ำขวางกั้น ดังนั้น การกระจายจึงถือระยะเดินทางจริงที่ระดับดินและความปลอดภัยในการเข้าถึงเป็นหลัก


[แก้] ปรัชญาและแนวคิดในการวางแผนและออกแบบสวนสาธารณะสมัยใหม่

“อุทยาน” (Park) ยุคก่อนการปฏิวัติอุสาหกรรมเป็นสถานที่เล่นกีฬาล่าสัตว์ของกษัตริย์และขุนนางและปรับเป็นอุทยานหลวงที่สวยงามแบบธรรมชาติ จึงถือเป็นสถานที่หวงห้ามส่วนบุคคลดังได้กล่าวมาแล้ว แต่หลังจากที่เกิด “อุทยานประชาชน” (People’s parks) ปรัชญาและแนวคิดก็ได้เปลียนไป ยอมให้สาธารณชนเสียเงินหรือเข้าไปใช้ฟรีอย่างมีเงื่อนไข องค์ประกอบและสิ่งอำนวยความสะดวกก็กำหนดโดยเจ้าของ คือกษัตริย์หรือขุนนางชั้นสูงซึ่งมักไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ แต่หลังจากเหตุการณ์ที่ไฮด์ปาร์กและการสร้างสวนเบอร์เก็นเฮดซึ่งเป็นการจงใจออกแบบให้เป็นสวนสำหรับประชาชนที่แท้จริง ปรัชญาและแนวคิดในการออกแบบได้จึงหันมาเน้นความต้องการของประชาชนผู้ใช้สวนมากขึ้น

::แบบกระฉับกระเฉง vs แบบผ่อนคลาย สวนสาธารณะในยุคอุตสาหกรรมมักเน้นที่พักผ่อนแบบผ่อนคลายมาก มีบริเวณออกกำลังกายไม่มากสำหรับเด็ก นักเนื่องจากผู้ใช้ที่เป็นผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน จึงต้องการที่นั่งพักผ่อนแบบธรรมชาติที่ร่มรื่นมีทิวทัศน์สวยงาม แต่ในระยะหลังที่ประชาชนในเมืองเปลี่ยนจากการทำงานในโรงงานมาเป็นการทำงานในสำนักงาน ความต้องการออกกำลังกายจึงเพิ่มมากกว่าการนั่งหรือเดินพักผ่อน จึงอาจสรุปได้ว่า สวนสาธารณะยุคปัจจุบัน ผู้ใช้วัยทำงานต้องการนันทนาการแบบกระฉับกระเฉง (Active recreation) มากว่าแบบผ่อนคลาย (Passive recreation)มากขึ้น ส่วนวัยเด็กและวัยรุ่นยังคงต้องการที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายมากเท่าเดิม

::ความหลากหลาย vs ความขัดแย้ง ต้องยอมรับว่าลักษณะเฉพาะของผู้ใช้สวนมีความหลากหลายมากทั้งอายุ รายได้ อาชีพ ขนาดครอบครัว พื้นฐานทางสังคมประเพณี ความนิยมฯลฯ ซึ่งสวนสาธารณะที่ดีจะต้องตอบสนองผู้ให้ใช้ได้มากที่สุดจึงจะลดความขัดแย้งหรือลดการใช้สวนในทางที่ผิดลงได้ ตัวอย่างเช่นการไม่ยอมรับความต้องการตามพฤติกรรมของวัยรุ่นในย่านที่มีวัยรุ่นมากแต่กลับทำสวนดอกไม้ที่สวยงามหรูหราใหญ่โตอย่างเดียว ในขณะที่วัยรุ่นต้องการลานกีฬา หรือที่เล่นสเกตบอร์ด ความขัดแย้งจากการละเมิด การทำลาย (vandalism) ย่อมมีมากขึ้นและหากเข้มงวด เช่นจัดยามคอยเป่านกหวีดห้าม ปรากฏการณ์การใช้น้อย (underused) ย่อมเกิดขึ้นเป็นการสูญเปล่าและเกิดความไม่เสมอภาค โดยเฉพาะในประเทศที่ยังขาดแคลนสวนสาธารณเช่นประเทศไทย อย่างไรก็ดี การจัดให้มีองค์ประกอบให้ครบถ้วนตามลักษณะประชากรย่อมขึ้นอยู่กับขนาดเนื้อที่ของสวนและงบประมาณ การออกแบบจึงต้องทำให้มีความเป็นอเนกประสงค์ให้มากที่สุดโดยให้คงความร่มรื่นสวยงามไว้ได้


::ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สวนสาธารณะที่ดีพึง:-

• จัดให้มีพื้นที่ออกกำลังกายในสัดส่วนที่มากขึ้น และบางแห่งอาจจัดให้มากกว่าพื้นที่แบบผ่อนคลาย
• จัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยเน้นครอบครัว เช่น ให้ ผู้สูงอายุ เช่น ปู่ย่า / พ่อ-แม่ - วัยทำงาน/ วัยรุ่นและเด็กเล็กสามารถมาที่สวนเดียวกันพร้อมกันได้โดยไม่เบื่อและรบกวนกัน
• มีพื้นที่อเนกประสงค์ที่ใช้ได้ทั้งการออกกำลังกายและทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่นการแสดงและการเล่นดนตรี
• มีความร่มรื่น สวยงาม เขียวสะอาด และดูแลรักษาง่าย
• เข้าถึงสะดวก ทางเข้าเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนหรือชุมชน ให้ความสำคัญทางเดินเท้า แยกทางรถยนต์และที่จอด
• มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอและตอบสนองต่อภูมิอากาศ
• ลดหรือขจัดการรบกวนระหว่างกิจกรรมที่ขัดแย้งกันด้วยการแบ่งเขตและการออกแบบที่ดี
• มีความปลอดภัยสูงทั้งจากอาชญากรรมและจากอุบัติเหตุ


[แก้] การสำรวจผู้ใช้สวน

โดยทั่วไป ผู้ออกแบบโครงการต่างๆ สามารถสอบถามความต้องการจากตัวเจ้าของงานโดยตรงได้อย่างกระจ่าง แต่สำหรับสวนสาธารณะ ผู้ใช้คือประชาชนที่มีความหลากหลายจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วไป ผู้ออกแบบจึงไม่สามารถสอบถามความต้องการผู้ใช้เพียง 1-2 คนได้ “การสำรวจผู้ใช้สวน” (User survey) จึงเป็น "ภาคบังคับ" ที่ผู้ออกแบบสวนสาธารณะจะต้องทำ การสอบถามความต้องการจากรัฐมนตรี นายกเทศมนตรี หรือจากบุคคลชั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสวนมักไม่ประสบผลสำเร็จ แม้จะได้สวนที่สวยงามแต่ประชาชนมักใช้ประโยชน์ได้น้อยเนื่องจากขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ผู้ใช้สวนตัวจริงต้องการและสวนหรูหรามีค่าดูแลรักษาสูง

ปกติ การสำรวจผู้ใช้สวนทำได้ทั้งทางอ้อมและทางตรง หรือพร้อมกัน การสำรวจทางอ้อมได้แก่การเก็บข้อมูลทางประชากรศาสตร์ที่มีอยู่แล้วประกอบกับการสังเกตการณ์ ทางตรงได้แก่การออกแบบสอบถาม ทำการสุ่มตัวอย่างเชิงสถิติถึงความต้องการของผู้ใช้กลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มวัย กลุ่มรายได้และอื่นๆ รวมทั้งการศึกษาการใช้ที่ดินและระบบการสัญจรโดยรอบสวน


[แก้] สรุปสถานภาพของสวนสาธารณะในประเทศไทยปัจจุบัน

นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนแลเห็นความสำคัญของสวนสาธารณะและที่เล่นออกกำลังกายสำหรับประชาชน แม้จะได้มีการสร้างสวนสาธารณะขึ้นเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ก็ยังมีปริมาณห่างไกลจากมาตรฐาน ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะในเมืองที่แออัด นอกจากนี้สวนสาธารณะไม่น้อยในประเทศไทยที่ยังมีลักษณะเป็นสวนหย่อมขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยหินประดับที่กีดขวางการใช้พื้นที่และสร้างปัญหาการดูแลรักษามากและมีราคาแพง

ปัญหาที่นับว่าสำคัญอีกประการหนึ่งได้แก้ความเข้าใจในปรัชญาแนวคิดและความหมายที่แท้จริงของสวนสาธารณะของผู้มีหน้าที่จัดสร้างสวนทั้งภาครัฐฯ และองค์กรเอกชน ทำให้เกิดภาวะไม่สมประโยชน์ดังกล่าวมาแล้ว ปัญหาเหล่านี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการมอบให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการออกแบบและวางแผนสวนสาธารณะโดยตรง ซึ่งได้แก่ภูมิสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบดังที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปในสากล

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com