Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ปฏิจจสมุปบาท - วิกิพีเดีย

ปฏิจจสมุปบาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส่วนหนึ่งของ
พุทธศาสนา


ประวัติพุทธศาสนา
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา

เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน

ใจความสำคัญของพุทธศาสนา

สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

ไตรสรณะ

พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์

ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล · ธรรม
ศีลห้า · ศีลแปด
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมพุทธศาสนา
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
ดูเพิ่มเติม
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
หมวดหมู่พุทธศาสนา

ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น

การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์หรือหัวข้อ 12 ดังนี้ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ

  • เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
  • เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
  • เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
  • เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
  • เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
  • เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
  • เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
  • เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
  • เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
  • เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
  • เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
  • ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

สารบัญ

[แก้] อนุโลม-ปฏิโลม

การเทศนาปฏิจจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา

หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย เช่น

ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชาเป็นปัจจัย

ดังนี้เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา

[แก้] ลำดับแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์

ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะดับ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่)

ชาติ จะดับไปได้เพราะดับ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ)

ภพ จะดับไปได้เพราะดับ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ)

อุปาทาน จะดับไปได้เพราะดับ ตัณหา (ความอยาก)

ตัณหา จะดับไปได้เพราะดับ เวทนา (ความรู้สึกในทางทุกข์หรือสุข)

เวทนา จะดับไปได้เพราะดับ ผัสสะ (การสัมผัสด้วยประสาทต่าง ๆ)

ผัสสะ จะดับไปได้เพราะดับ อายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

อายตนะ จะดับไปได้เพราะดับ นามรูป (ร่างกายและจิตใจ)

นามรูป จะดับไปได้เพราะดับ วิญญาณ (การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

วิญญาณ จะดับไปได้เพราะดับ สังขาร (การนึกคิดหรือการทำงานของสมองเพื่อปรุงแต่ง)

สังขาร จะดับไปได้เพราะดับ อวิชชา (ความโน้มเอียงไปคลุกเคล้ากิเลสด้วยความเขลา)

[แก้] สมุทยวาร-นิโรธวาร

การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงให้เห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจจ์ข้อที่สอง (สมุทัยสัจจ์) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทที่แสดงแบบนี้เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท

(ดังแสดงสองตัวอย่างที่ผ่านไป เป็น อนุโลมเทศนา และ ปฏิโลมเทศนา ของอนุโลมปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ)

การแสดงตรงกันข้ามกับข้างต้นนี้ เรียกว่า นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจจ์ข้อที่สาม (นิโรธสัจจ์) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย สืบทอดกันไป เช่น

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติ ดับชรามรณะ(จึงดับ) ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ

ดังนี้เรียกว่า อนุโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท

ส่วนปฏิโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะเป็นต้น ดับเพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ

[แก้] อิทัปปัจจยตา ธรรมนิยาม ปัจจยาการ

ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา(ภาวะที่มีอันนี้ๆเป็นปัจจัย) ธรรมนิยาม(ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา กฎธรรมชาติ) และปัจจยาการ(อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน)

[แก้] ข้อความอ้างอิง

จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ...

ดูกรอานนท์เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ

จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖

ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

(ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนฺถตา อิทปฺปจฺจยตา อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท)

(ถ้าเขียนทับศัพท์จะได้ว่า -ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา หลักอิทัปปัจจยตา ดังพรรณนามาฉะนี้แล เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท)

[แก้] เอกสารอ้างอิง


  ปฏิจจสมุปบาท เป็นบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com