Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พูดคุย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - วิกิพีเดีย

พูดคุย:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่าง
เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมกับโครงการ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเข้าไปที่ หน้าสถานีสถาบันอุดมศึกษาไทย

สารบัญ

[แก้] เรื่องลิขสิทธิ์

ข้อมูลที่มีเอามาเขียน เช่น พระเกี้ยว สีชมพู ต้นจามจุรี คิดว่าไม่จำเป็นต้องลอกมาจากเว็บจุฬาฯ ผมสรุปข้อความให้สั้นกระชับ แล้วทำลิงก์ไปอ้างอิง ที่เว็บจุฬา สำหรับคนที่จะมาอ่านเพิ่มเติม น่าจะเหมาะสมกว่าไปลอกข้อความมา

สำหรับคนที่จะมาเขียนเพิ่มเติม ลองเขียนในคำพูดสรุปของตัวเอง อย่าลอกจากเว็บของจุฬามา น่าจะมีประโยชน์มากกว่า หรืออาจจะอ่านจากหลายแหล่งแล้วมาสรุปรวมดีกว่า--Manop 23:19, 28 สิงหาคม 2005 (UTC)

[แก้] งานรับน้อง

เรื่องงานรับน้อง เหมือนจะเขียนโดยมุมมองของคณะวิศวะนะครับ คณะอื่น ๆ อาจจะไม่ได้มีระบบโซตัส ห้องเชียร์ ด้วยก็ได้ -- bact' 04:38, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)

ผมก็เห็นอย่างนั้นเหมือนกันครับ อ่านแล้วคุ้นอย่างบอกไม่ถูก ;) กำลังคิดอยู่ว่าจะปรับปรุงเนื้อหายังไงดี --Phisite 04:42, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)
ห้องเชียร์นี่มีหลายคณะนะครับเท่าที่ได้ยินมา แต่โซตัสรู้สึกจะมีเฉพาะวิศวะเท่านั้นแฮะ--Manop 04:44, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)
ระบบโซตัสเนี่ย ผมว่าเกือบทุกคณะรับปฏิบัติกันสืบเนื่องกันมานะ แม้กระทั่งการรับน้องของมหาวิทยาลัย หรืองานก้าวใหม่ ก็มีการพูดสอนให้รุ่นน้องปีหนึ่งที่เข้ามารับทราบไว้ แต่ที่พวกคุณพูดถึงอาจจะเป็นอีกประเด็น คือการว๊าก ซึ่งมีเฉพาะในบางคณะ หรือบางภาควิชา 161.200.255.164 15:13, 17 มิถุนายน 2006 (UTC)

[แก้] บุคคลสำคัญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผมคิดว่าควรแยกเนื้อหาในส่วน 'บุคคลสำคัญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย' ไว้เป็นอีกบทความหนึ่งเลยนะครับ เพราะถ้ารวมในหน้านี้ กลัวว่าในอนาคตมันจะยาวเกินน่ะสิ (ตัวอย่าง : en:Category:Lists_of_people_by_university_affiliation) --Kie 20:34, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)

ถ้ายาวระดับหนึ่ง ก็แยกออกเลือกเอาไว้เฉพาะคนสำคัญ(ที่สุด)ซัก 4-5 คน แล้วก็เขียนหัวข้อเพิ่มเติมต่อท้ายเช่น ดูเพิ่มเติม เกี่ยวกับรายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วในหัวข้อที่แยกออกไป เราก็แยกเป็นหัวข้อย่อย เช่นตาม อาชีพ หรือว่าตาม คณะก็ได้ครับ --Manop 21:23, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)

[แก้] รณรงค์ "จุฬาฯ "

ผมกำลังรณรงค์ให้มีตัวไปยาลน้อยทุกครั้งหลังเขียนคำว่าจุฬาฯ ครับเพราะเป็นคำย่อของชื่อมหาวิทยาลัย ไม่ได้แปลว่าว่าวครับ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ได้ย่อว่า จฬ นะ ถ้าจะย่อต้องเป็น จุฬาฯ หน้าแรกควรเปลี่ยนได้แล้ว SPK 19:22, 20 มิถุนายน 2006 (UTC)

[แก้] ตอนนี้หน้าจุฬาฯ กลายเป็นเว็บรวมลิงก์ไปซะแล้ว

ตอนนี้หน้าจุฬาฯ กลายเป็นเว็บรวมลิงก์ไปซะแล้ว มีตั้งแต่ลิงก์ไปศูนย์หนังสือ ไปถึง โรงพิมพ์จุฬา ถ้าใครมีเวลา อยากให้มาช่วยกันสร้างบทความออกมาเป็นหน้า (อย่างน้อย 2-3 บรรทัด) เช่น ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจจะเยิ่นเย้อ และไม่มีรายละเอียด หรือว่า สร้างเป็นหน้าใหม่หน้าเดียว เป็น หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีครับ --Manop | พูดคุย - ภาพ:94x15 Portalmanga.gif 00:02, 25 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)

ตอนนี้มีผู้ใช้ท่านอื่นช่วยแก้แล้วครับ ขอบคุณทุกท่าน --Manop | พูดคุย - ภาพ:Wikipe-tan tab.png 20:05, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)

[แก้] แก้ไขชื่อผู้พระราชนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากหัวเรื่องเลยนะครับ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และได้รับยกย่องเป็นมหาวิทยาลัยที่ชั้นนำของประเทศ จุฬาลงกรณ์ประกอบไปด้วย 18 คณะและ 14 สถาบัน โดยชื่อจุฬาลงกรณ์ได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางกรุงเทพมหานคร

ชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบรมราชชนกคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามข้อความที่อ้างไว้ต่อไปนี้ จึงขอแก้ไขให้ถูกต้องครับ


อ้างจาก [1]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาลและมิรู้เสื่อมสูญ

เราควรจะจัดรูปแบบหน้าอย่างไรเหรอครับ จะได้ช่วนจัดให้มันเหมาะสมขึ้น รวมทั้งที่หน้าของ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย

[แก้] แก้รูปแบบการจัดหน้า

ต้องการให้แก้รูปแบบการจัดหน้า เป็นแบบไหนครับ เดี๋ยวจะช่วยแก้ให้ถูกต้องครับผม

[แก้] การจัด ranking

อย่างไรก็ตามการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ซึ่งได้รับการอ้างอิงมากกว่า พบว่าไม่มีมหาวิทยาลัยใดจากเมืองไทย ติดอันดับ 1-500 อันดับแรก

ตามที่คุณ BF กรุณาเพิ่มเติมในส่วน Ranking จาก Shanghai Jiao Tong University[[2]] นั้น ว่าได้รับ การอ้างอิงมากกว่า ค่อนข้างจะเป็นความเห็นที่เกรงว่าจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น

  • อ้างอิง [3]
The quality of universities cannot be precisely measured by mere numbers. Therefore, any ranking is controversial and no ranking is absolutely objective. People should be cautious about any ranking including our Academic Ranking of World Universities.
It would be impossible to have a comprehensive ranking of universities worldwide, because of the huge differences of universities in the large variety of countries and the technical difficulties in obtaining internationally comparable data. Our ranking is using carefully selected indicators and internationally comparable data that everyone could check.

และจะเห็นได้อีกว่าไม่ว่าเกณฑ์ที่ระบุไว้นั้น จะพยายามครอบคลุมอย่างไรก็อาจมีข้อโต้แย้ง เช่น เมื่อปี 2004 นั้นเอาเฉพาะกลุ่ม Science ไม่รวม Art and Social science ไว้ เพิ่งจะมาเพิ่มปีนี้ เป็นต้น

แม้แต่ของ THES นั้น ก็กล่าวว่า เค้าเป็นการจัดลำดับที่น่าเชื่อถือ

  • อ้างอิง [4]
With its improved accuracy and the inclusion of even more information, the second Times Higher World Rankings is the best guide to the world's top universities, says Martin Ince
Today The Times Higher publishes the World University Rankings for the second year running. The aim is the same as it was in 2004: to offer a consistent and systematic look at the world's top universities in the context of the globalisation of higher education. But we think that this version is more robust and reliable than the first.
We have gathered new data on employers' opinions of universities around the world. This has allowed us to widen the pool of information we present, but we have gone further and deepened the pool as well. This year's tables are virtually free of gaps in data. And because we have collected a wealth of data on institutions outside the top 200, we are confident that no institution that should be in these tables has been overlooked. These efforts have resulted in what we believe is the world's best guide to the standing of top universities.

ขออภัยหากยาวไปหน่อย... ^_^" ฉะนั้น..เลยไม่แน่ใจน่ะค่ะ ว่าสมควรระบุอย่างนั้นหรือไม่ ว่าของ Shanghai Jiao Tong University อ้างอิงมากกว่า หรือน่าเชื่อถือว่า? --Look-Narm 13:31, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)


ถ้าแก้เป็นการจัดอันดับเชิงวิชาการจะเห็นด้วยมั้ยครับ เพราะทามไฮเออร์ไม่ได้จัดเชิงวิชาการด้านเดียว แต่ของมหาวิทยาลัย เซียงไฮ้ เจียวตง จัดตามอคาเดมิค หรือทางการศึกษาวิจัยอย่างเดียว เลยไม่มีมหาวิทยาลัยไทยติดท้อปห้าร้อย ซึ่งถ้าเป็นนักวิจัยจะพบว่า น่าจะเห็นควรด้วยทุกประการครับ

ตอบคุณ Jame (ข้างบน) ตอนนี้แก้เป็น "ตัด" ที่เป็นความเห็นออกค่ะ ส่วนเรื่องดรรชนีที่ใช้วัดนั้น Shanghai Jiao Tong University ใช้สัดส่วนของวิชาการ ทุกด้าน อย่างละ 20% ค่ะ มีเรื่องขนาดพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอีก 10% ซึ่งก็ดูแปลกๆอยู่ แทนที่จะดูเรื่อง facility ของการวิจัย บุคคลากร ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรไปเขียนอธิบายในเรื่อง การจัดลำดับมหาวิทยาลัย ไม๊คะ? --Look-Narm 15:49, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)
เห็นด้วยครับ เอาเป็นว่าผมจะไปเติมว่า ถ้าพิจารณาในแง่วิชาการแรงกิ้งของ เซี่ยงไฮ้ ดูจะได้รับการอ้างอิงมากกว่า แต่เอาไว้เขียนในเรื่อง ranking แล้วกันครับ ไว้จะไปเขียนอธิบายในนั้นแล้วกัน--BF 16:18, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)
อันดับที่นี่ครับ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย --Manop | พูดคุย - ภาพ:94x15 Portalmanga.gif 16:28, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)
ผมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใส่ข้อความว่าไม่ได้อยู่ในอันดับ 1-500 ลงไป อาจจะเหมาะกว่าครับ (ควรบอกว่าเขาเป็นอย่างไร แต่ไม่จำเป็นจะต้องบอกว่าเขาไม่ได้เป็นอย่างไร..จะเอาไปใส่ในลิงค์การจัดอันดับแทนครับ)หรือเห็นว่าควรเอาใส่เอาไว้เปรียบเทียบกันดีครับ??--BF 17:01, 9 พฤษภาคม 2006 (UTC)


[แก้] ชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ไม่ใช่ "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ดังนั้น ที่เขียนตรงหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นผิดนะครับScorpianPK 00:23, 28 กรกฎาคม 2006 (UTC)

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com