Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - วิกิพีเดีย

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย

คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(Faculty of Political Science
Thammasat university)


วันที่ก่อตั้ง 14 มิถุนายน พ.ศ.2492
คณบดี รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
สีประจำคณะ สีดำ
สัญลักษณ์คณะ สิงห์แดง
วารสารคณะ รัฐศาสตร์สาร และ โดม
ที่ตั้ง เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10220
เว็บไซต์ http://www.polsci.tu.ac.th

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ส่งผลให้มีการ จัดตั้ง "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ขึ้นในปี พ.ศ. 2477 นับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมของการจัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทย กล่าวคือ ในสมัยแรกเริ่มนั้นการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ได้แทรกปะปนอยู่กับเนื้อหาของหลักสูตรวิชา “ ธรรมศาสตร์บัณฑิต ” ( ธ.บ.) ในระดับ ชั้นปริญญาตรี ในขณะที่ในระดับชั้นปริญญาโทและระดับชั้นปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมืองได้แยกหลักสูตรออกเป็น 3 ทางอย่างชัดเจน ได้แก่ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2491-2492 ภายหลังจากเกิดความผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรงภายหลัง รวมทั้งการที่สภาพแวดล้อมทาง การเมืองระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวได้ว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งมีความเห็นใน แนวทางเดียวกันว่าการเรียนการสอนในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตนั้นมีความ “ ไม่เพียงพอ ” ที่จะผลิตบัณฑิตได้ตรงกับหน้าที่การงาน อีกทั้งธรรมศาสตร์บัณฑิต จัดการเรียนการสอนในแบบตลาดวิชา จาก แนวความคิดดังกล่าวข้างต้นประกอบกับการที่มีสภาวะแวดล้อมทางการเมืองทั้งภายในและ ภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ผลักดันให้มีการ ลงมติให้ตรา “ ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ และกำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492” ขึ้น ข้อบังคับดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อ ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กล่าวคือ ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐ ศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2492 ในสมัยแรกเริ่มของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้น คณบดีและคณะ กรรมการร่าง หลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็นจำนวนหลายประเทศ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือในทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของมูลนิธิ Fulbright ซึ่ง เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วงสมัยนั้นด้วย

นับจากวันนั้นตราบจนถึงปัจจุบัน คณะรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีคณบดีต่อ เนื่องกันรวม 18 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับความช่วยเหลือในทางวิชาการ โดยตรงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีการเปิด "แผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์" ในระดับชั้นปริญญาโท โดยทำการเรียนการสอนทั้งในระบบภาษาอังกฤษและภาษาไทย เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2502 คณะรัฐศาสตร์ ได้มีมติให้จัดตั้งแผนกการทูตในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรก ( หลังจากที่มีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาโทมาเป็นเวลาช้านาน ) รวมทั้งได้มีการจัดตั้ง แผนกบริหารรัฐ กิจ และแผนกรัฐศาสตร์ศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีเพิ่มเติมขั้นอีกสองแผนก ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2510

สรุปได้ว่า เมื่อถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทขึ้นรวม 4 แผนก ได้แก่ การปกครอง บริหารรัฐกิจ การระหว่างประเทศ ( หรือแผนกการทูตเดิม ) และปรัชญาการเมืองก่อนที่จะยุบรวมลงเหลือ เพียง 3 แผนก ได้แก่ การเมืองการปกครอง บริหารรัฐกิจ และการระหว่างประเทศ ใน สมัยปัจจุบัน นอกจากนี้ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และระบบการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศว่าได้ มีการเปลี่ยนแปลงไป คณะรัฐศาสตร์จึงได้มีการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษในระดับชั้นปริญญาโทขึ้นรวม 3 แผนก ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้บริหาร สาขา บริหาร รัฐกิจ (EPA) หลักสูตรปริญญาโท สาขาการปกครอง สำหรับผู้บริหาร (MPE) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ (MIR) ซึ่งจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งหลักสูตร

นอกเหนือจากการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สามารถแข่งขันกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้ คณะรัฐศาสตร์ได้ตระหนักถึงการเผยแพร่ความรู้ในสาขาวิชาใหม่ ๆ และการจัดหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาเอก เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ในระดับสากล ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2548 คณะรัฐศาสตร์จึงได้จัดทำร่างหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ คาดว่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้ ในปีการศึกษา 2550

ในปี พ.ศ. 2549 คณะรัฐศาสตร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ ให้เข้าร่วมประชุมร่วมกับประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และอินเดีย เพื่อหารือเกี่ยวกับการทำโครงการ Joint Program ระดับปริญญาเอก ซึ่งจะเป็นโครงการร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง 5 ประเทศ โดยโครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าคือ ประมาณเดือนมิถุนายน 2549 คณะรัฐศาสตร์จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางและเป้าหมายในการจัดทำโครงการ Joint Program

จากพัฒนาการของคณะรัฐศาสตร์ดังกล่าวแล้วข้างต้น ทำให้คณะฯ ได้ผลิตบัณฑิตสาขาต่าง ๆ ออกไปมากมาย เพื่อรับใช้ประเทศชาติ และในอนาคตจะมีโครงการร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้นอีกด้วย

[แก้] สัญลักษณ์ประจำคณะ

  • สัญลักษณ์ คือ สิงห์แดง
  • สีประจำคณะ คือ สีดำ
  • ต้นไม้ประจำคณะ คือ ต้นจำปี
  • คำขวัญ คือ สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง

[แก้] ปรัชญาในการผลิตบัณฑิตรัฐศาสตร์

"มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจในระบบการเมืองและการเมืองในลักษณะต่างๆ อย่างมีปฏิสัมพันธ์กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรอบด้าน สามารถใช้วิจารณญาณและสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างมีเหตุและผล คิดเป็นและวิเคราะห์เป็น รวมทั้งสามารถประยุกต์ ใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษามาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีความสำนึกและตระหนักในความเป็นพลเมือง ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักนำของการคิดและการดำรงชีวิต

[แก้] หน่วยงาน

[แก้] หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้] ศิษย์เก่าสิงห์แดง

ดูเพิ่ม รายชื่อบุคคลเด่นในประชาคมธรรมศาสตร์

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


คณะรัฐศาสตร์ ใน ประเทศไทย

เกษตรศาสตร์ | จุฬาลงกรณ์ | เชียงใหม่ | ธรรมศาสตร์ | บูรพา | นเรศวร | แม่โจ้ | รามคำแหง | เวสเทิร์น | ศรีนครินทรวิโรฒ | สวนดุสิต | สวนสุนันทา | สงขลานครินทร์ | สุโขทัยธรรมาธิราช | อุบลราชธานี


  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com