Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
การสอบแอดมิดชันส์ - วิกิพีเดีย

การสอบแอดมิดชันส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 มีการแนะนำว่า บทความนี้น่าจะรวมเข้ากับ การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (อภิปราย)

การสอบแอดมิดชันส์ (Admission) เป็น ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (CentraI University Admissions System : CUAS) ใช้ในการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาแทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งคะแนนที่ได้ ไม่ได้มาจากการสอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีคะแนนบางส่วนจากเกรดเฉลี่ยของที่โรงเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อด้วย โดยเริ่มใช้เมื่อปีการศึกษา 2549 ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งนักเรียนที่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ต้องการเปลี่ยนคณะ

ในขั้นแรก นักเรียนที่มีความประสงค์ต้องการทดสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน และ ขั้นสูง จะต้องยื่นความจำนงค์ และสมัครที่ สทศ.หรือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

หลังจากการแอดมิดชันส์เรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบคะแนนจาก สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ และเมื่อนักเรียนที่ยังต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาผ่านระบบแอดมิดชันส์ จะต้องยื่นคะแนนเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษา ที่ ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฯของ สกอ. หรือ สถาบันการอุดุมศึกษา เพื่อคัดเลือกเข้าสู่มหาลัยต่อไป

การสอบแอดมิสชันส์ องค์ประกอบคะแนนอยู่ 4 ส่วน ได้แก่ GPAX, GPA, O-NET และ A-NET

สารบัญ

[แก้] แอดมิดชันส์ตรง และ แอดมิดชันส์ส่วนกลาง

การสอบแอดมิดชันส์ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ แอดมิดชันส์ตรง และ แอดมิดชันส์ส่วนกลาง โดยการสอบ แอดมิดชันส์ตรง ทางสถาบันจะกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น นักเรียน จะต้องอาศัยอยู่ในภาคเหนือเท่านั้น, เกรดเฉลี่ยของนักเรียนจะต้องมากกว่า 3.00 หรือ คะแนนขั้นต่ำของนักเรียน จะต้องมากกว่า 50 % เป็นต้น ส่วนแอดมิชชันส์ส่วนกลาง จะคล้ายกับการเอ็นทรานซ์ระบบเก่า

[แก้] ขั้นตอนการแอดมิดชันส์

การแอดมิดชัน จะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ โดยทั้ง 4 องค์ประกอบจะมาจากขั้นตอนต่างๆ มากมาย

ในขั้นแรก นักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะต้องหมั่นศึกษาเล่าเรียน และหาความรู้ โดยคะแนนที่ได้ในขณะเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะนำมาใช้เป็น องค์ประกอบ ที่ 1 และ 2 ต่อไป

จากนั้น เมื่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในปีการศึกษาหน้า จะต้องทดสอบ การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน และ ขั้นสูง โดยสามารถยื่นความจำนงค์ และสมัครที่ เว็บไซท์ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

หลังจากการทดสอบเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบผลคะแนน จากเว็บไซท์ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ อีกครั้ง แล้ว รอจนกว่าการตรวจสอบครั้งใหม่จะเสร็จสิ้น (หากมีการตรวจสอบผิดพลาด ซึ่งในปีการศึกษา 2549 มีการตรวจสอบใหม่ 3 ครั้ง) แล้วจึงตรวจสอบผลคะแนน จากเว็บไซท์ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ อีกครั้ง หากมีข้อสงสัยในคะแนนของตน ให้ยื่นเรื่องขอตรวจขอสอบใหม่ ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติโดยตรง ตามเวลาที่สถาบันประกาศไว้

เมื่อการตรวจสอบผลคะแนนเป็นที่ยุติเรียบร้อยแล้ว นักเรียนที่ยังต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ผ่านระบบแอดมิดชันส์ต่อ จะต้องยื่นคะแนนตามองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ เพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาที่ ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัยต่อไป

[แก้] ทางเลือกอื่นนอกจากการแอดมิดชันส์

เนื่องจากการทดสอบที่มีปัญหาในการสอบแอดมิดชันส์ ประจำปีการศึกษา 2549 จึงทำให้มีนักศึกษาจำนวนมาก หวาดวิตก และขาดความเชื่อมั่นในระบบการสอบแอดมิดชันส์ แต่ถึงกระนั้น การสอบแอดมิดชันส์ ไม่ใช้เพียงทางเลือกเดียว ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยมีทางเลือกอื่นๆ ดังนี้

  • การรับสมัครของมหาลัย เป็นกรณีพิเศษ เช่น การรับสมัครเป็นกรณีพิเศษ (จาก 10 คณะ ใน 39 วิชา) ของ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
  • เรียนทางด้านสายอาชีพ หรือ อาชีวศึกษา ในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลังจากนั้นยังสามารถศึกษาต่อเนื่องไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ และยังสามารถหางานทำได้ทันที

[แก้] องค์ประกอบคะแนน

องค์ประกอบคะแนนที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาในระดับมหาวิทยาลัย มีอยู่ด้วยกัน 4 ส่วน ได้แก่ GPAX, GPA, O-NET และ A-NET ทั้งนี้องค์ประกอบที่ 1 และ 2 จะต้องถ่วงน้ำหนักจากผลสอบ O-NET เป็นรายบุคคลก่อนนำไปใช้ โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติจะเป็นผู้จัดสอบ O-NET และ A-NET

จากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้บรรลุถึงข้อยุติซึ่งจะประกอบเป็นระบบใหม่ที่จะใช้สำหรับการรับนักเรียนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยมีข้อสรุป ในการใช้องค์ประกอบ ในปีต่างๆ เพื่อความเสมอภาคดังนี้

องค์ประกอบ ค่าน้ำหนัก
2549 2550 2551
1. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า (GPAX) 10 % 10 % 10 %
2. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA) 3-5 กลุ่มจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 20 % 30 % 40 %
3. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET) มี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 35 – 70% 60% 50%
4. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (Advanced National Educational Test : A-NET) และ/หรือวิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา 0 – 35%

[แก้] สัดส่วนน้ำหนักของคะแนนของข้อสอบปรนัยและอัตนัย

สาระที่สอบ O-NET A-NET
% ปรนัย % อัตนัย % ปรนัย % อัตนัย
1. ภาษาไทย 80 - 90 10 - 20 60 - 80 20 - 40
2. คณิตศาสตร์ 80 - 90 10 - 20 60 - 80 20 - 40
3. วิทยาศาสตร์ 80 - 90 10 - 20 60 - 80 20 - 40
4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 80 - 90 10 - 20 60 - 80 20 - 40
5. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) 80 - 90 10 - 20 60 - 80 20 - 40

[แก้] คำนิยามที่เกี่ยวข้อง

[แก้] กลุ่มสาระการเรียนรู้

  1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
  6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

[แก้] วิชาเฉพาะ

วิชาเฉพาะ คือ วิชาความถนัดต่างๆ เช่น ด้านศิลปะ ความถนัดทางสถาปัตยกรรม ความถนัดทางด้านวิศวกรรม กำหนดสอบ ปีละ 1 ครั้ง สำหรับวิชาทางด้านภาษาต่างประเทศ มีการสอบภาษาต่างๆ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาบาลี และ ภาษาอาหรับ กำหนดสอบต่อจากการสอบ A - NET

[แก้] ลิงก์ภายนอก

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com