Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช - วิกิพีเดีย

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

ตราประจำโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

ชื่อ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

(บ.ม.)

ชื่อ (อังกฤษ) Benchama Maharat School

(B.M.)

ก่อตั้ง พ.ศ. 2458
ประเภทโรงเรียน โรงเรียนรัฐบาล สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้อำนวยการ นายอิทธิพล ทองปน
คำขวัญ ประพฤติดี มีวัฒนธรรม นำสังคม
เพลงประจำสถาบัน มาร์ชเบ็ญจะมะมหาราช, ร่วมกายร่วมใจ
ต้นไม้ประจำสถาบัน ต้นไทรงาม
สีประจำสถาบัน เขียว-แดง
ที่อยู่ 600 ถ.สรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
เว็บไซต์ http://www.benchama.ac.th

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขตที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แต่เดิมโรงเรียนนี้เคยเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำมณฑลอุบลราชธานีในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดในสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ส่วนโรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัด คือ โรงเรียนนารีนุกูล ซึ่งปัจจุบันก็เปิดรับนักเรียนแบบสหศึกษาเช่นกัน

สารบัญ

[แก้] ชื่อโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

"เบ็ญจะมะมหาราช" ชื่อนี้ไม่เหมือนใครและต่างจากโรงเรียนที่ชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า "เบญจ" ทั้งหลาย ก็ด้วยถือเอาตามลายพระหัตถ์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้ประทานนามไว้เมื่อปี พ.ศ. 2458 และเป็นโรงเรียนเดียวที่ต่อท้ายด้วย "มหาราช" ในประเทศไทย และใช้ชื่อภาษาอังกฤษตามที่กรมวิชาการกำหนดให้ใช้ในการออกเอกสารใบรับรองผลการเรียน (Transcript) ว่า Benchama Maharat School

[แก้] ประวัติความเป็นมา

อาคารเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชหลังที่ 2 ถ่ายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2496
อาคารเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชหลังที่ 2 ถ่ายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2496

[แก้] ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโรงเรียนในปัจจุบัน

[แก้] ที่ตั้ง

600 ถนนสรรพสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000

โทรศัพท์ : (045) 240683-5, 262194
โทรสาร : (045) 262193
e-Mail : info@benchama.ac.th
website : http://www.benchama.ac.th

[แก้] ข้อมูลบุคลากร : ครู-อาจารย์แยกตามระดับตำแหน่ง

ตำแหน่ง ระดับ ชาย หญิง รวม
ผู้อำนวยการโรงเรียน คศ. 4 1 - 1
รองผู้อำนวยการโรงเรียน คศ. 3 - 1 1
รองผู้อำนวยการโรงเรียน คศ. 2 2 - 2
ครูเชี่ยวชาญ คศ. 4 - 1 1
ครูชำนาญการพิเศษ คศ. 3 10 11 21
ครูชำนาญการ คศ. 2 67 152 219
ครู คศ. 1 3 3 6
รวม 83 168 251

[แก้] ข้อมูลบุคลากร : ครู-อาจารย์แยกตามกลุ่มสาระ/งาน

กลุ่มสาระ/งาน ชาย หญิง รวม
1. วิทยาศาสตร์ 10 27 37
2. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 9 17 26
3. คณิตศาสตร์ 8 22 30
4. ภาษาต่างประเทศ 4 30 34
5. ภาษาไทย 3 19 22
6. สุขศึกษาและพลศึกษา 14 4 18
7. ศิลปศึกษา 5 4 9
8. การงานอาชีพและเทคโนโลยี 24 17 41
9. อื่นๆ 3 27 30
10. ฝ่ายบริหาร 3 1 4
รวม 83 168 251

[แก้] ข้อมูลนักเรียน : ทุกระดับชั้น

ระดับชั้น ห้อง ชาย หญิง รวม
มัธยมศึกษาปีที่ 1 17 428 521 949
มัธยมศึกษาปีที่ 2 17 490 459 949
มัธยมศึกษาปีที่ 3 17 390 504 894
มัธยมศึกษาปีที่ 4 16 349 502 851
มัธยมศึกษาปีที่ 5 16 321 446 767
มัธยมศึกษาปีที่ 6 16 319 467 786
รวม 99 2297 2899 5196

[แก้] วิสัยทัศน์และพันธกิจ

[แก้] วิสัยทัศน์

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดีบนพื้นฐานของความเป็นไทย และศักยภาพในการแข่งขัน

[แก้] พันธกิจ

1. บริหารจัดการการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการมีส่วนร่วมและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. จัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตอบสนองตามความต้องการของชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
3. พัฒนาบุคลากรของโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ
4. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและมีศักยภาพในการแข่งขัน
5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ
6. มีส่วนร่วมกับชุมชน สังคม เพื่อพัฒนาสังคม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้

[แก้] เป้าประสงค์

ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

[แก้] คุณลักษณะที่พึงประสงค์

ขยัน สะอาด ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ กตัญญู ชูเกียรติเบ็ญฯ

[แก้] กลยุทธ์ของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช

  • พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยเน้นการมีส่วนร่วม
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการให้เข้มแข็งโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA)
  • ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์วิชาชีพครู
  • พัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
  • พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบการบริหารและระบบการเรียนรู้
  • พัฒนาการสร้างเครือข่ายครู ผู้ปกครอง และชุมชน ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

[แก้] ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

1. ราชบุรุษอุ่ม สุวรรณ พ.ศ. 2458
2. อำมาตย์ตรีเจิม ยุวจิติ พ.ศ. 2459
3. อำมาตย์ตรีละมุน พ.ศ. 2460
4. ราชบุรุษผึ่ง ผโลปการ พ.ศ. 2461
5. รองอำมาตย์ตรีขุนโกศลเศรษฐ์ พ.ศ. 2462-2466
6. รองอำมาตย์ตรีขุนประสงค์จรรยา พ.ศ. 2466 - 2468
7. รองอำมาตย์ตรีทองอินทร์ ภูริพัฒน์ พ.ศ. 2468 - 2474
8. รองอำมาตย์ตรีน้อม (น้อม วนรมย์) พ.ศ. 2474 - 2483
9. นายสกล สิงหไพศาล พ.ศ. 2483 - 2486
10. นายเข็บ พฤกษพิทักษ์ พ.ศ. 2486 - 2505
11. นายวินัย เกษมเศรษฐ พ.ศ. 2505 - 2508
12. นายขวัญ จันทนปุ่ม พ.ศ. 2507 - 2518
13. นายเนย วงศ์อุทุม พ.ศ. 2518 - 2519
14. นายบัญญัติ บูรณะหิรัญ พ.ศ. 2519 - 2520
15. นายอุดร มหาเมฆ พ.ศ. 2520 - 2527
16. นายคำพันธ์ คงนิล พ.ศ. 2527 - 2532
17. นายมงคล สุวรรณพงศ์ พ.ศ. 2532 - 2534
18. นายประดิษฐ์ ศรีวรมาศ พ.ศ. 2534 - 2536
19. นายวินัย เสาหิน พ.ศ. 2536 - 2541
20. นายสมพงษ์ โลมะรัตน์ พ.ศ. 2541 - 8 มกราคม 2546
21. นายอิทธิพล ทองปน 9 มกราคม 2546 - ปัจจุบัน

[แก้] สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้] ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

ตราประจำโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ในระยะแรกอาจารย์น้อม วนะรมย์ (อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2474 - 2483) ได้กำหนดตราให้เป็นรูปต้นไทรมีอักษร "ร" เกี่ยวที่ลำต้นไทรมีเลข "๕" อยู่ด้านล่าง มีรัศมีกระจายเป็นวงรอบต้นไทรมีชายผ้าเป็นธงปลาย 2 แฉก และเขียนตรงกลางว่า "เบ็ญจะมะมหาราช" ไว้ด้านล่าง ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงออกแบบให้เข้ากับสมัยโดยเปลี่ยนเป็นตราพระมหามงกุฎเปล่งรัศมีครอบเลข "๕" ไทย ตั้งอยู่บนฐานดอกบัวจนทุกวันนี้ ตราดังกล่าวนี้มีความหมายว่า "โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเป็นโรงเรียนที่สถาปนาขึ้นเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ จังหวัดอุบลราชธานี"

[แก้] สีธงประจำโรงเรียน

ที่มาของสีธงประจำโรงเรียนนั้น สมัยก่อนเมื่อมีการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียนต่างๆ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีอัฒจันทร์สำหรับนั่งดูกีฬา นักเรียนต่างรุมดูอยู่รอบสนามปะปนกัน ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างนักเรียนต่างโรงเรียน โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชจึงได้ทำธงสามเหลี่ยม 2 ผืน ผืนหนึ่งสีเขียวอีกสีหนึ่งสีแดง นำไปปักไว้เป็นเขตดูกีฬา กำหนดให้นักเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชต้องเข้าไปยืนดูอยู่ระหว่างธง 2 ผืนนี้ ธงสีเขียวแดงจึงกลายมาเป็นสีของโรงเรียนจนกระทั่งบัดนี้

[แก้] ต้นไม้ประจำโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2480 อาจารย์น้อม วนะรมย์ อาจารย์ใหญ่ในขณะนั้นได้ปลูกต้นไทรไว้ด้านหลังโรงเรียนหลังที่ 2 (ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) ใกล้กับแท้งก์น้ำ โดยให้นักเรียนทุกคนร่วมปลูก ท่านได้กล่าวว่า ลูกเบ็ญจะมะทุกคนคือลูกไทรงาม ใครจะลบหลู่ดูหมิ่นไม่ได้ และสาปแช่งไว้ว่า ถ้าใครลบหลู่ดูหมิ่นไม่นับถือขอให้มีอันเป็นไป ต้นไทรงามต้นนั้นก็เจริญงอกงามขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็น "สัญลักษณ์" ของโรงเรียน และศิษย์เบ็ญจะมะฯ ทุกคนจะเรียกตนเองว่าเป็น "ลูกแม่ไทรงาม" และต่างถือต้นไทรงามนั้นเป็นที่เคารพแต่นั้นมาจนปัจจุบัน

[แก้] ปรัชญา คติธรรม และคำขวัญของโรงเรียน

[แก้] ปรัชญาของโรงเรียน

ประพฤติดี มีวัฒนธรรม นำสังคม

[แก้] คติธรรมของโรงเรียน

สุพฺพตธมฺมสงฺคโม วฑฺฒติ
ผู้มีความประพฤติธรรม สังคมดี ย่อมเจริญ
(ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช)

[แก้] คำขวัญของลูกแม่ไทรงาม

วิชา กีฬา ดนตรี คือศักดิ์ศรีของเบ็ญฯ

[แก้] อาคารเรียนต่างๆ ภายในโรงเรียน

[แก้] อาคารเรียนหลัก 5 หลัง

อาคารเรียนหลักของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชมีทั้งหมด 6 อาคาร เมื่อแรกสร้างโรงเรียนใหม่ใน พ.ศ. 2513 นั้น มีอาคารเรียนหลักเพียง 5 หลัง ทางโรงเรียนได้กำหนดชื่ออาคารเรียนหลักทั้งหมดตามพระราชสมัญญานามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และผู้ประทานนามโรงเรียนคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ดังนี้

  • "มหาราช" คือ อาคารเรียนวิทยาศาสตร์
  • "จักรพงษ์" คือ อาคารเรียนที่ 1 ตึกอำนวยการ เป็นที่ตั้งของฝ่ายแนะแนวและห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน
  • "ภูวนาถ" คือ อาคารเรียนที่ 2 เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและห้องพยาบาล
  • "ปิยะ" คือ อาคารเรียนที่ 3 เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • "ประชานาถ" คือ อาคารเรียนที่ 4 เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

[แก้] อาคารเรียนสิรินธร

ต่อมาเมื่อมีนักเรียนจำนวนนักเรียนมากขึ้นใกล้จำนวน 5,000 คน ทำให้เกิดปัญหาความแออัดในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เนื่องจากจำนวนนักเรียนต่อห้องโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50 คนโดยประมาณ แต่จำนวนห้องเรียนมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางโรงเรียนจึงดำเนินการของบประมาณจากทางรัฐบาลเพื่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม เป็นอาคารเรียนแบบ 324 ล./41 (หลังคาทรงไทย) 4 ชั้น 24 ห้องเรียน ชั้นล่างใต้ถุนโล่ง ชั้นที่ 2, 3 และ 4 แบ่งเป็นห้องเรียน 20 ห้อง ห้องสำนักงาน 2 ห้อง และห้องปฏิบัติการพิเศษ 2 ห้อง โดยได้รับงบประมาณในปี 2543 จำนวน 19,837,000 บาท สร้างแล้วเสร็จและใช้งานในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 อาคารเรียนนี้ทางโรงเรียนขอพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีใช้ชื่ออาคารว่า "สิรินธร" พร้อมอัญเชิญพระนามาภิไธย "ส.ธ." ประดิษฐานที่ป้ายชื่ออาคาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตตามที่กราบบังคมทูล เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545และเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปิดป้ายอาคารสิรินธร โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ในวันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2545

[แก้] อาคารเรียนอื่นๆ

[แก้] สถานที่ต่างๆ ในโรงเรียน

[แก้] ปูชนียสถานภายในโรงเรียน

[แก้] หอประชุม

[แก้] หอสมุด

[แก้] โรงอาหาร

[แก้] เกียรติประวัติที่ควรกล่าวถึง

[แก้] ลิงก์ภายนอก

http://www.benchama.ac.th เว็บไซต์ของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช



  โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com