Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย - วิกิพีเดีย

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย



ชื่อ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

(ส.ส.)

ชื่อ (อังกฤษ) Samsenwittayalai School

(S.S.)

ก่อตั้ง พ.ศ. 2498
ประเภทโรงเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญ ลูกสามเสน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีน้ำใจ
เพลงประจำสถาบัน มาร์ชสามเสนวิทยาลัย
ที่อยู่ 132/11 ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เว็บไซต์ www.samsenwit.ac.th

โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บนถนนพระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร มีนักเรียนประมาณ 3500 คน ปรัชญาโรงเรียน คือ สทฺธา สาธํ ปติฏฐิตา แปลว่า "ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ" ต้นไม้ประจำโรงเรียน คือ ต้นนนทรี ปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) โรงเรียนมีอายุครบ 51 ปี

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

ปีการศึกษา 2494 กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการสร้างโรงเรียนฝึกหัดครูอีกแห่งหนึ่ง ที่ตำบลพญาไท อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ต่อมาเนื่องจากสถาพความจำเป็นเกี่ยวกับสถานที่เรียนของนักเรียนมัธยมมีไม่เพียงพอ กระทรวงศึกษาธิการจึงโอนโรงเรียนที่กำลังก่อสร้างนี้ให้เป็นโรงเรียนของกรมวิสามัญศึกษา เรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า โรงเรียนรางน้ำ และย้ายนักเรียนจำนวน 57 คนที่คุรุสภาส่งไปฝากเรียนที่โรงเรียนวัดราชาธิวาสเข้ามาเรียนที่โรงเรียนรางน้ำ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ต่อมา ปีการศึกษา 2495 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น ได้ตั้งชื่อโรงเรียนอย่างเป็นทางการว่าโรงเรียนศรีอยุธยา มีนายพงษ์ แสงทอง เป็นครูใหญ่คนแรก และในปีเดียวกันนั้นเองได้มีนักเรียนหญิงจำนวนหนึ่งเข้าไปเรียน แต่ไม่ได้รวมเป็นโรงเรียนเดียวกัน ฝ่ายโรงเรียนหญิงได้มอบหมายให้ น.ส.เศวต จึงเจริญ เป็นครูใหญ่

ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 กรมวิสามัญศึกษาได้ส่งนักเรียนชายซึ่งไม่มีที่เรียนและคุรุสภารับไว้ ตั้งแต่ชั้น ม.1-ม.6 เข้าไปเรียนเพิ่มเติมจนสถานที่คับแคบ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดหาซื้อที่ดินของเอกชนมรดกของพระยาเพชรปรานี จำนวน 3 แปลง รวมเนื้อที่ 22 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา เพื่อแยกโรงเรียนและเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2497 และได้ย้ายนักเรียนชายจากโรงเรียนศรีอยุธยามาเข้าเรียนเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2498 ให้ชื่อโรงเรียนอย่างเป็นทางการว่า " โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย "

ต่อมาในปีการศึกษา 2510 กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เป็นโรงเรียนแรกและโรงเรียนเดียว ซึ่งใช้หลักสูตรโครงการมัธยมศึกษาแบบประสม (คมส.) และได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสหศึกษานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน " โครงการภาคภาษาอังกฤษ " หรือ English Program เป็นปีการศึกษาแรก

[แก้] ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

  1. พ.ศ. 2494 - 2495 นายดัด จันทนะโพธิ
  2. พ.ศ. 2495 - 2497 นายพงษ์ แสงทอง
  3. พ.ศ. 2497 - 2503 นายทิม ผลภาค
  4. พ.ศ. 2503 - 2507 นายจำเนียร บุญกูล
  5. พ.ศ. 2507 - 2509 นายมนตรี ชุติเนตร
  6. พ.ศ. 2509 - 2519 คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์
  7. พ.ศ. 2519 - 2521 ว่าที่ ร.ต.จรัญ โสตถิพันธุ์
  8. พ.ศ. 2521 - 2523 นางลออศรี ชุมวรชาต
  9. พ.ศ. 2523 - 2532 นายเจือ หมายเจริญ
  10. พ.ศ. 2532 - 2539 นายเสรี ลาชโรจน์
  11. พ.ศ. 2539 - 2542 นางอุไรวรรณ สุพรรณ
  12. พ.ศ. 2542 - 2544 นายอำนาจ ศรีชัย
  13. พ.ศ. 2544 - 2546 น.ส.จงกล ทรัพย์สมบูรณ์
  14. พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน นายวิศรุต สนธิชัย

[แก้] เกียรติประวัติ

  • พ.ศ. 2515 นักเรียนชั้นม.ศ.5 หลักสูตรโครงการมัธยมศึกษาแบบประสม (คมส.)รุ่นแรก แผนกวิทยาศาสตร์ สอบได้เป็นที่ 1 ของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2527 นักเรียน ม.6 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 รุ่นแรก สายศิลปะ สอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาได้เป็นที่ 1 ของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2535 นายกิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2537 น.ส.ปรียานุช แสงไตรรัตนนุกูล ได้รีบเหรียญเงิน ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ และนายปกรณ์ แสงสุเรนทร์ ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2538 น.ส.สิรินญา มัจฉาชีพ ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ และนายพลพิบูล สตางค์พุฒ ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2539 นายแทนไท ประเสริฐกุล ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัว และนายวินัย วงศ์สุรวัฒน์ ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก สาขาศิลปศาสตร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2541 น.ส.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก สาขาศิลปศาสตร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา และโรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จาก UKAS สหราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2543 หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณณวรี มหิดล (พระยศในขณะนั้น)เสด็จเป็นองค์ประธานในงานเดินวิ่ง "สามเสนฯเพื่อการศึกษา" ที่ กระทรวงสาธารณสุข และนายพงศกร ฐิตโชติ ได้รับเหรียญเงิน ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2544 น.ส.เอมอร ทองเป็นใหญ่ ได้รับทุนทำโครงการวิจัย ระดับปริญญาตรี-โท-เอก จากสำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2545 นายกิตติคุณ วังกานนท์ ได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ และนายอภิชาติ อภัยวงศ์ ได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2546 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในนขณะนั้น ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานการประชุมทางไกล โครงการอบรมครูหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน และจัดบรรยายเรื่อง "สอนอย่างไรให้ถึงฝัน" ณ หอประชุมอาคารอเนกประสงค์ และได้ถ่ายทอดสดการสอนคณิตศาสตร์ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา และในปีเดียวกันนี้ นายอัมพล ลิขิตชัชวาลกุล ได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2549 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนพรรณวดี เสด็จทรงเปิดโครงการทูบีนัมเบอร์วันของโรงเรียน

[แก้] สิ่งปลูกสร้าง

  • อาคาร 1 (ตึกหนึ่ง)สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2497 เป็นอาคารแรกและอาคารเดียวที่สร้างพร้อมกับการก่อตั้งโรงเรียน ปัจจุบันได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี อาคารนี้ประกอบด้วย ห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การเงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตรกรรม)ห้องรับรอง ห้องประชุม ที่ทำการของสมาคมนักเรียนเก่าสามเสนวิทยาลัย ห้องพยาบาล สำนักงานงานฝ่ายบริหารการเงินและสินทรัพย์ และสำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน
  • อาคาร 2 (ตึกวิทยาศาสตร์)เดิมเป็นอาคารไม้ทั้งหลัง ต่อมาได้งบประมาณรื้อทิ้ง และสร้างใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2512 ปัจจุบันอาคารนี้เป็นอาคารวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และสำนักงานของฝ่ายบริหารวิชาการ
  • อาคาร 3 (ตึกสาม) เดิมเป็นเรือนไม้แถวยาว สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2497 ต่อมาได้ถูกรื้อและสร้างใหม่ด้วยเงินสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นอาคารสูง 5 ชั้น สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2517 ปัจจุบันประกอบด้วยห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ห้องแนะแนว ห้องโสตทัศนศึกษาสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นล่างมีสหกรณ์โรงเรียน ห้องสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และห้องของคณะกรรมการนักเรียน และเมื่อปีพ.ศ. 2544 ในสมัยที่นายอำนาจ ศรีชัย เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ได้สร้างส่วนต่อเติมเป็นสำนักงานผู้อำนวยการ ห้องเรียนรวม ห้องรับรอง และห้องประชุม ให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น
  • อาคาร 4 (ตึกศิลปะ) เดิมเป็นอาคารศิลปศึกษา สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2506 ต่อมาได้ถูกรื้อและสร้างใหม่เป็นอาคารสูง 5 ชั้นเมื่อปีพ.ศ. 2532 ปัจจุบันเป็นห้อสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมปลายสายศิลปะ สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา ห้องเรียนศิลปะ ห้องเรียนนาฎศิลป์ ห้องเรียนดนตรีสากล และห้องเรียนดนตรีไทย
  • อาคาร 5(ตึกคหกรรม) เป็นอาคาร 2 ชั้น ปัจจุบันเป็นอาคารเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คหกรรมศาสตร์)
  • อาคาร 6 (โรงยิมส์) เป็นโรงพลศึกษา ไว้สำหรับเรียนวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และในปีพ.ศ. 2545 ได้ก่อสร้างสนามเทนนิสขนาดมาตรฐานขึ้นแทนสนามเดิม เพื่อรองรับการเรียนการสอนในวิชาพลศึกษา
  • อาคาร 7 (ตึกอุต) เป็นอาคาร 2 ชั้น สำหรับการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (อุตสาหกรรมศึกษา และ ธุรกิจศึกษา) ชั้นแรก เป็นห้องเรียนวิชา งานช่าง งานเหล็ก ส่วนชั้นที่ 2 เป็นห้องงานปั้น งานเขียนแบบ และห้องปฏิบัติการของวิชาธุรกิจศึกษา
  • อาคาร 8 (ตึก ศน.) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2507 เดิมเป็นอาคารของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาโรงเรียนได้รับคืนจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อปีพ.ศ. 2545 และโรงเรียนปรับปรุงภายนอกและภายในอาคารใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันเป็นห้องเรียนของโครงการภาคภาษาอังกฤษ ห้องเรียนของกลุ่สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)รวมทั้งสำนักงานฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานโครงการภาคภาษาอังกฤษ ห้องลีลาศ และห้องออกกำลังกาย
  • อาคาร 9 (ตึกเก้า) เป็นส่วนต่อเติมของอาคาร 4 เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนสายศิลปะที่เพิ่มมากขึ้น เป็นอาคารสูง 4 ชั้น ชั้นที่ 1 และ 2 เป็นส่วนขยายของห้องสมุด ส่วนชั้นที่ 3 และ 4 เป็นห้องเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลปะ รวมทั้งห้องปฏิบัติการทางภาษา
  • อาคารอเนกประสงค์ (อเนก) สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2520 ด้วยเงินงบประมาณ เพื่อเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่(ชั้นบน) และโรงอาหาร(ชั้นล่าง)
  • ศาลาสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2525 สำหรับเป็นห้องประชาสัมพันธ์
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (ตึกเฉลิม)สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2539 เป็นส่วนต่อเติมของอาคาร 2 เป็นศูนย์วิทยบริหาร ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และห้องเรียนคณิตศาสตร์ อันทันสมัย

[แก้] ศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียง

  • ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • นายมนตรี เจนอักษร นักแสดง
  • ร.ต.ท.นรบดี ศศิประภา (ก้อง) นักแสดง
  • นายกรุณพล เทียนสุวรรณ (เพชร) นักแสดง
  • น.ส.ฐิติมา ประทุมทิพย์ (แอนคูณสาม) นักร้อง
  • น.ส.ศิริลักษณ์ ผ่องโชค (จอย) นักร้อง นักแสดง พิธีกร
  • นายตะวัน จารุจินดา (เติ้ล) นักร้อง นักแสดง พิธีกร
  • นายสิทธิ์ ตันติพิสิฐกุล หรือ พาทิศ ตันติพิสิฐกุล(ไผ่) ดัชชี่บอย และ นักแสดง
  • นายวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (สิงห์) พิธีกร
  • นายธนกฤต พาณิชย์วิทย์ (ว่าน) นักร้อง
  • นายวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ (จอห์น) พิธีกร
  • นายปฎิญญา วิโรจน์แสงประทีป (แอม) ดัชชี่บอย และ นักแสดง
  • นายพิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร (ท็อป) พิธีกร และนักแสดง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


  โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com