Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนทวีธาภิเศก - วิกิพีเดีย

โรงเรียนทวีธาภิเศก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนทวีธาภิเศก


ชื่อ โรงเรียนทวีธาภิเศก

(ท.ภ.)

ชื่อ (อังกฤษ) Taweethapisek School

(T.P.)

ก่อตั้ง 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441
ประเภทโรงเรียน รัฐบาล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำขวัญ รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
เพลงประจำสถาบัน มาร์ชทวีธาภิเศก
สีประจำสถาบัน เขียว-ขาว
ที่อยู่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
เว็บไซต์ http://main.taweethapisek.ac.th/

โรงเรียนทวีธาภิเศก (อังกฤษ: Taweethapisek School) อักษรย่อ (ท.ภ.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ รับเฉพาะนักเรียนชาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600

สารบัญ

[แก้] ประวัติความเป็นมา

เป็นโรงเรียนซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา

โดยเมื่อปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) ปีมะแม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงธรรมการขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่าสถานที่ กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) บริเวณศาลาต้นจันทร์ วัดอรุณราชวราราม เปิดสอนชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีนักเรียน 162 คน ครู 6 คน มีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) เป็นครูใหญ่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ กรมพระบำราบปรปักษ์ (พระนามเดิม เจ้าฟ้ามหามาลา หรือเจ้าชายกลาง พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระราชชายานารี เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ต่อมาได้ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นปราบปรปักษ์และเป็นกรมขุนตามลำดับ จนในสมัยรัชกาลที่ 5 เลื่อนเป็น กรมพระบำราบปรปักษ์ เป็นผู้สำเร็จราชการในราชสำนักและว่าการกระทรวงการคลัง) เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์เเล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศล " ทวีธาภิเษก " ถวายพระอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441

อาคารโรงเรียนหลังแรก
อาคารโรงเรียนหลังแรก

ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเศกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์บูชาธรรมเทศนาเพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุในวัดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างโรงเรียนตรงกุฏิสงฆ์ด้านทิศเหนือ โรงเรียนวัดอรุณราชวรารามเดิม มาเป็นตึกใหญ่ และพระราชทานนามโรงเรียนว่า ทวีธาภิเศก เฉพาะผู้บริจาคมีรายนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงบริจาคเงินร่วมในการนี้ เช่น

มีพระนามร่วมบริจาคทั้งสิ้น 47 ราย เป็นเงินจำนวน 24,000 บาท

เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 19 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันทวีธาภิเศก" และใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2494 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ จึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียน ส่วนอาคารเรียนหลังเดิม ณ วัดอรุณราชวรารามฯ กรมสามัญศึกษา ได้ทำการเปิดสอนในระดับประถมศึกษา ชื่อว่า โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก ในปี พ.ศ. 2512 นายเรวัต ชื่นสำราญ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้งบประมาณสร้างตึก 4 ชั้น 18 ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้นสองล้านบาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ โดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา) เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีและได้ประทานนามตึกนี้ว่า " ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา " ซึ่งก็คือ ตึก 1 ของโรงเรียนและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน

หน้าตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา ปัจจุบัน
หน้าตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา ปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกของโรงเรียนทวีธาภิเศกนับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนมา ได้สานต่อการพัฒนาโรงเรียนด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะบรรยากาศด้านวิชาการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน (ICT) อาทิ ห้องมัลติมีเดียเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้องเรียน ห้องเรียนและสื่อการเรียนรู้อีเลกทรอนิกส์ (E-classroom, E-learning) และการจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และห้องสมุดโรงเรียน เพื่อบริการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตแก่ นักเรียนและครูอย่างทั่วถึง จัดทำศูนย์สารสนเทศนักเรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและบริการสืบค้น ข้อมูลของนักเรียนทั้งด้านวิชาการและปกครองเริ่มโครงการอ่านเฉลิมพระเกียรติ ฯ จัดชั่วโมง หยุดทุกอย่างเพื่ออ่าน (Drop Everything And Read) ทุกวันพุธ จัดศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ การระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกด้าน นอกจากนี้ ได้จัดตั้งชมรมครูอาวุโสโรงเรียนทวีธาภิเศกร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เพื่อให้ ผู้บริหาร และครูทวีธาภิเศกที่เกษียณอายุทุกท่านมีโอกาสกลับมาเยี่ยมโรงเรียน ได้พบปะสังสรรค์ จัดกิจกรรมบริการตรวจสุขภาพ จัดทัศนศึกษาและจัดพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ครูอาวุโส

เหรียญตราทวีธาภิเศก ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนด้วย
เหรียญตราทวีธาภิเศก ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนด้วย

[แก้] เหรียญตราทวีธาภิเศก

ลักษณะรูปทรงเหรียญแบบดาวห้าแฉกยกขอเส้นลวดสองชั้นหูเชื่อม แบบขวางภายใน มีลักษณะดังนี้

ด้านหน้า

1. พระอุนาโลม ภายใต้พระอุณหิศ มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ พระอุณหิศก็คือพระมงกุฎ

2. พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) มีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

3. ครุฑยึดนาค มีความหมายถึงพระบรมราชสัญลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ผู้เป็นพระบรมราชอัยกา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

4. พระแสงขรรค์ไชยศรีและธารพระกรไขว้ มีความหมายถึง เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เนื่องในวโกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติราชาภิเศก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 การเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งสองนี้ เพื่อแสดงว่าเป็นของสำหรับพระราชาธิบดี

5. สายสร้อย เป็นรูปดอกประจำยามอยู่เบื้องใต้โล่ คือสังวาลย์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระมหากษัตริย์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลอันสำคัญอย่างยิ่ง

ด้านหลัง จารึกว่า

ที่รฤก รัชกาลที่ ๕

เสมอด้วยรัชกาล ที่ ๒

ทวีคูณ รัตนโกสินทร

๓๑ ศก ๑๑๗

[แก้] เกียรติภูมิโรงเรียน

  • พิพิธภัณฑ์โรงเรียนทวีธาภิเศก

เปิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 เป็นอาคาร 2 ชั้น ติดกับตึก 3 ตึกเอนกประสงค์ ภายในแสดงวัตถุประเภทครุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และของใช้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้แก้โรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น อาทิ นาฬิกาตั้งยอดพระเกี้ยว เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้โรงเรียน ด้านบนประดิษฐานพระจุลมงกุฎจำหลักไม้ที่ประณีตงดงามมาก, ตู้พระราชทาน และโต๊ะเก้าอี้พระราชทาน เป็นต้น

[แก้] สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน

พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้อัญเชิญจากโรงหล่อส่วนปฏิมากรรม กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยผู้อำนวยการสุธน จุลโมกข์, พ.ต.อ.(พิเศษ) พลวุฒิ วิเศษสงวน นายกสมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก พล.ร.ท. ฉกรรจ์ สุวรรณเสนีย์ อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเศก โดยผ่านมาทางถนนปิ่นเกล้านครไชยศรี ขึ้นทางลอยฟ้าคู่ขนาน ผ่านไปข้ามสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปเลี้ยวกลับที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นความเป็นศิริมงคล ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ข้างอาคารพิพิธภัณฑ์

  • พระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคล

มีทั้งสิ้น 2 องค์ องค์แรก เป็นพระพุทธรูปโบราณปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องใหญ่แบบสกุลช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ใน ปี พ.ศ. 2536 สมัยนายกนก จันทร์ขจร เป็นผู้อำนวยการ

และองค์ที่ 2 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธศิลปแบบสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ไว้สำหรับเป็นที่สักการะประจำโรงเรียน เช่นเดียวกับที่โรงเรียนอื่น ๆ ทั่วไป โดยใช้ชื่อเดียวกับพระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคลองค์แรก ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ซุ้มพระพุทธรูปใกล้ประตูทางเข้าโรงเรียน เป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพกราบไหว้ของครูอาจารย์ นักเรียนและผู้ปกครองเป็นจำนวนมากอยู่โดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม. 1 และม. 4 ของทุกปี เมื่อเข้ามาในโรงเรียนผ่านประตูมองไปทางซ้าย ก็จะได้เห็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามองค์นี้ ประดิษฐานอยู่อย่างสงบภายใต้เงาไม้ที่ดูร่มรื่น

  • พ่อขุนสุรชัยรณรงค์

ในอดีตท่านรับราชการ เป็นทหารในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2325 ร.ศ.1 ปีขาล ถึง พ.ศ. 2352 ร.ศ.28 ปีมะโรง มีตำแหน่งเป็นนายกองเสือป่า แมวเซา ได้รับพระราชทานพำนักเป็นการถาวรที่วัดนาคกลาง ใกล้กับที่ตั้งปัจจุบันของโรงเรียน โดยมีหน้าที่ดูแลด่านตั้งแต่กรุงเทพ ฯ - ด่านพระเจดีย์สามองค์

เมื่อปี พ.ศ. 2508 อาจารย์เรวัตร ชื่นสำราญ และอาจารย์ประพนธ์ รอดเรืองนาม ผู้ออกแบบและสร้างถวาย โดยมีขนาดความสูง 90 เซ็นติเมตร ทำพิธีบวงสรวงเชิญวิญญาณโดย อาจารย์กมล โปราณานนท์ และอาจารย์ชาคร บริรักษ์บทวลัญช์ ถือเป็นเจ้าพ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองบริเวณโรงเรียน พ่อขุนสุรชัยฯ เป็นที่เคารพสักการะของอาจารย์ นักเรียน เสมือนท่านเป็นญาติอาวุโส เครื่องสังเวย โดยมากมักจะเป็นผลไม้ต่างๆ เพราะสมัยท่านรับราชการ เป็นคนถือศีล จาการบอกเล่าของภารโรงท่านหนึ่ง มีความเคารพพ่อขุนฯมาก คืนหนึ่งลูกชายได้กินขนุน บังเอิญเมล็ดขนุนติดหลอดลมหายใจไม่ออกแน่นิ่งไป จึงอุ้มลูกชายไปเรียกรถรับจ้าง รถรับจ้างปฏิเสธ เพราะเห็นว่าเด็กมีอาการไม่ดี ภารโรงจึงอุ้มลูกชาย ไปถวายบนแท่นบูชาพ่อขุนฯ " ผมมีลูกชายคนเดียว ผมเองก็ไม่แข็งแรง อยากเอาลูกไว้สืบสกุล ..... " ปรากฎว่าลูกชายได้ฟื้นขึ้นยิ้ม และหายเป็นปกติ หลังจากกลับที่พักกำลังเคลิ้มได้เห็นพ่อขุนฯ ไปเยี่ยมลูกชายที่บ้าน มีรูปร่างลักษณะสูงใหญ่ ผิวดำ-แดง ด้วยความรักและเคารพพ่อขุนจึงทำให้ภารโรงผู้นี้ มีโชคบ่อยครั้ง เวลาถวายของท่านพ่อขุนฯจะใช้ขนมเปี๊ยะไส้หมูเสมอ ปัจจุบัน พ่อขุนเป็นที่เคารพกราบไหว้ของบุคคลากรในโรงเรียน ทั้ง ครูอาจารย์และนักเรียน โดยเฉพาะในช่วงสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนใหม่หรือช่วงจบการศึกษา


[แก้] ความภาคภูมิใจ

  • รางวัลโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น กรมสามัญศึกษา พ.ศ.2533
  • โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2548

[แก้] ผู้บริหารโรงเรียน

  • 1. ขุนอุปการศิลปะเศรฐ พ.ศ. 2441 – 19 มิถุนายน 2450
  • 2. นายพร้อม 21 มิถุนายน 2450 - พ.ศ. 2454
  • 3. พระบรรเจิดวิชาชาญ(นายชม บุญญาคง ป.ม.) พ.ศ.2454 - 11 พฤศจิกายน 2454
  • 4. ขุนดรุณวิทย์วรเสษฐ (นายยง ศิลปคุปต์) 12 พฤศจิกายน 2454 – 31 ตุลาคม 2459
  • 5. ขุนวิสิษฐ์ดรุณกาล (นายบุบผา พลายสุต) 1 พฤศจิกายน 2459 – มิถุนายน 2492
  • 6. นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ 2 กรกฏาคม 2492– 30 กันยายน 2508
  • 7. นายเรวัต ชื่นสำราญ 1 ตุลาคม 2508 – 31 พฤษภาคม 2517
  • 8. นายสำเริง นิลประดิษฐ์ 1 ตุลาคม 2517 – 30 กันยายน 2522
  • 9. นายจงกล เมธาจารย์ 1 ตุลาคม 2522 – 2 พฤศจิกายน 2527
  • 10. นายสุชาติ ไชยมะโน 2 พฤศจิกายน 2527 – 28 มิถุนายน 2531
  • 11. นายสำราญ รัตนวิทย์ 29 มิถุนายน 2531 – 30 กันยายน 2532
  • 12. นายกนก จันทร์ขจร 1 ตุลาคม 2532 – 30 กันยายน 2538
  • 13. นายประสาร อุตมางคบวร 1 ตุลาคม 2538 – 30 กันยายน 2541
  • 14. นายสุธน จุลโมกข์ 1 ตุลาคม 2541 – 30 กันยายน 2544
  • 15. นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า 1 ตุลาคม 2544 – 30 กันยายน 2547
  • 16. นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ 1 ตุลาคม 2547 – ปัจจุบัน

[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

  • บุคคลสำคัญระดับประเทศ

ดร. สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี

พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตผู้บัญชาการกองทัพบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตนายกรัฐมนตรี

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวช จเรตำรวจแห่งชาติ

พล.อ.ปรีชา โรจนเสน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

  • ศิลปิน นักร้อง นักแสดง

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์

ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ดารา นักร้อง

สมพล ปิยะพลสิริ นักจัดรายการวิทยุ พิธีกร

ภุชงค์ โยธาพิทักษ์ ดารา นักแสดง พิธีกร

วิชัย จงประสิทธิพร ดารา นักแสดง

อธิชาติ ชุมนานนท์ ดารา นักแสดง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิแมเปีย
กูเกิล
วิกิแมเปีย มีภาพถ่ายทางอากาศของ:
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com