Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย - วิกิพีเดีย

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารบัญ

[แก้] จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

[[1]]

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย


โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย เป็นโรงเรียนหนึ่งใน 12 โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2536 เพื่อเป็นสถานศึกษาในการปลูกฝังและส่งเสริมพร้อมทั้งให้โอกาสแก่เยาวชนที่มีความสนใจ มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อมได้ฝึกฝนด้านนี้เป็นพิเศษ ตั้งแต่วัยเยาว์ โดยขอพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้นามโรงเรียนว่า “จุฬาภรณราชวิทยาลัย” และใช้นามภาษาอังกฤษว่า “Princess Chulabhorn’s College”

[แก้] ชื่อภาษาอังกฤษ

Princess Chulabhorn’s College Chiang Rai

[แก้] ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ได้รับประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2536 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จังหวัดเชียงราย ต่อมามีประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงรายได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย บริเวณบ้านป่ายางมน เป็นที่ตั้งโรงเรียนมีเนื้อที่ 149 ไร่ 2 งาน 86 ตารางวา โดยความร่วมมือจากนายบุญธรรม กันทาสุวรรณ กำนันตำบลรอบเวียง นายศรีพงษ์ อยู่มั่น นายอำเภอเมืองเชียงราย ดร.เฉลิมชัย รัตนประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ภายใต้การกำกับดูแล และเห็นชอบของ นายคำรณ บุญเชิด ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ดำเนินการรับนักเรียนครั้งแรกในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ชั้นละ 1 ห้องเรียน รวม 2 ห้องเรียน เปิดเรียนวันแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2537 ซึ่งในขณะนั้นอาคารเรียนและอาคารประกอบต่างๆ อยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงเรียนจึงขออนุญาตใช้สถานที่เรียนชั่วคราวที่สถาบันราชภัฎเชียงราย 1 ปีการศึกษา และเมื่อภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2538 ได้ขอเช่าอาคารคริสตจักรภาคที่ 2 เชียงราย เป็นสถานที่เรียน และได้ย้ายมาเรียนในสถานที่ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย เป็นโรงเรียนสหศึกษา รับนักเรียนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 แบบพักประจำ มีพื้นที่การรับนักเรียนครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือ อันได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ และแม่ฮ่องสอน

[แก้] วัตถุประสงค์การจัดตั้งโรงเรียน

1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ

2. เพื่อเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ที่ฝึกทักษะ ความรู้ ความสามารถนักเรียนพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมแก่

นักเรียนตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อเตรียมบุคลากรไว้รองรับโครงการด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

3. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตัวอย่างในด้านการอบรมนักเรียนให้เป็นกุลบุตรและกุลธิดาที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม

สามารถพึ่งตนเองได้ และมีประโยชน์ต่อสังคม

4. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนดีมีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา

และได้พัฒนาความรู้พื้นฐานในด้านนี้ให้เข้มข้น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลอย่างแท้จริงต่อไป

[แก้] ปรัชญาประจำโรงเรียน

ปญญายตถํ วิปสสติ “คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา”

หมายความว่า ปัญญาเกิดด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

  • สุตมยปัญญา ปัญญาสำเร็จได้ด้วยการฟัง
  • จินตามยปัญญา ปัญญาสำเร็จได้ด้วยการนึกคิด
  • ภาวนามยปัญญา ปัญญาสำเร็จได้ด้วยการฝึก

ฉะนั้น บุคคลผู้อยากให้เกิดปัญญา ต้องประกอบด้วยเหตุ 3 ประการดังกล่าวนี้ เมื่อมีปัญญาพินิจพิจารณาถึงเหตุถึงผล

จึงสามารถรู้แจ้งเห็นจริงในเนื้อความนั้นๆ หรือ คนย่อมรู้แจ้งและเห็นจริงด้วยปัญญา

[แก้] คำขวัญประจำโรงเรียน

"รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ"

[แก้] สีประจำโรงเรียน

น้ำเงิน-แสด

[แก้] ต้นไม้ประจำโรงเรียน

ต้นแคแสด
ต้นแคแสด

[[2]]

[แก้] ลักษณะทั่วไป

เป็นต้นไม้ที่ให้ดอกสีแสด และเป็นไม้ที่โตเร็วสามารถขึ้นได้ทุกภาค ทุกพื้นที่

[แก้] ชื่อวิทยาศาสตร์

Spathodea campanulata

[แก้] ชื่อวงศ์

BIGNONIACEAE (The Bignonia Family)

[แก้] ชื่อสามัญ

African tulip Tree. Flame of the Fountain Tree.

[แก้] วิสัยทัศน์ และพันธกิจ

[แก้] วิสัยทัศน์

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษา เพื่อมุ่งสืบสานงานพระราชดำริ

เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม

และพลานามัยที่สมบูรณ์ สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้เป็นอย่างดี

[แก้] พันธกิจ

1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

2. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

3. มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพทางวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษา

4. ปรับปรุงและพัฒนาอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อม และภูมิทัศน์ในบริเวณโรงเรียนรอบบริเวณโรงเรียนให้สะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่นและสวยงาม

5. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสืบสานงานพระราชดำริอย่างสมพระเกียรติ

[แก้] เพลงประจำโรงเรียน

คำร้อง วิชาญ เชาวลิต

ทำนอง กิตติ ศรีเปารยะ


         ราชวิทยาลัยอันใหญ่ยิ่ง                        งามเพริศพริ้งคุณธรรมเลิศล้ำค่า
  ทั้งศาสตร์ศิลป์เลิศล้ำทางปัญญา                 มุ่งศึกษาวิทยาศาสตร์ให้ก้าวไกล 
         ชูเชิดเทิดพระเกียรติแห่งเจ้าฟ้า         องค์จุฬาภรณ พระนามยิ่งใหญ่
  เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ของชาติไทย         ก้องเกริกไกรลือเลื่องกระเดื่องนาม
         สีแสดประเสริฐเจิดจ้าองค์ฟ้าหญิง         น้ำเงินมิ่งกษัตริยาฟ้าสยาม 
  มงคลสถิตย์อยู่คู่เขตคาม                             ปรากฏนาม จุฬาภรณราชวิทยาลัย
         มุ่งส่งเสริมสร้างสรรค์จรรโลงชาติ            สร้างนักวิทยาศาสตร์ให้ยิ่งใหญ่
  สร้างเกียรติยศชื่อเสียงให้เกรียงไกร        นำชาติไทยก้าวหน้าชั่วฟ้าดิน

[แก้] คุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  2. มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ต่อตนเองและสังคม
  3. อนุรักษ์และเห็นคุณค่าในขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
  4. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย มีบุคลิกภาพดี และมีสุขภาพอนามัย สมบูรณ์ แข็งแรง
  5. มีทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  6. สามารถสืบค้นข้อมูล ข่าวสารและสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[แก้] ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[[3]]


ตราสัญลักษณ์โรงเรียน
ตราสัญลักษณ์โรงเรียน


มีเส้นรัศมีสีเหลืองทองอยู่เหนือพระมหามงกุฎ 19 เส้น พระมหามงกุฎเป็นสีเหลืองทอง

ภู่ทั้งสองข้างพระมหามงกุฎด้านล่างเป็นสีชมพูมี พระนามาภิไธยอักษรย่อ จภ อยู่ใต้พระมหามงกุฎ

อักษร จ เป็นสีแสดอักษร ภ เป็นสีน้ำเงินโบว์ด้านล่างเป็นสีฟ้าตัดขอบโบเป็นเส้นสีเหลืองทอง

ในโบว์มีชื่อเต็มของโรงเรียนตามด้วยชื่อจังหวัดที่ตั้งเป็นตัวอักษรสีเหลือง

[แก้] เว็บไซต์ของโรงเรียน

http://www.pcccr.ac.th

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com