Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เรือเหาะไฮเดนเบิร์ก - วิกิพีเดีย

เรือเหาะไฮเดนเบิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรือเหาะไฮเดนเบิร์ก ถูกผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1934 โดยบริษัทเซปเปอลิน โดยใช้ชื่อ "ไฮเดนเบิร์ก" เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายพลพอล ฟอน ไฮเดนเบิร์ก ประธานาธิบดีคนสุดท้ายของเยอรมนีที่รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ก่อนที่ฮิตเลอร์จะครองอำนาจ

สารบัญ

[แก้] ข้อมูลทั่วไป

เรือเหาะนี้ยาวถึง 245 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร ถุงแก็สเบา 16 ถุง จุได้รวม 198000 ลูกบาศก์เมตร น้ำหนัก 132 ตัน บรรทุกได้ 112 ตัน ความเร็วสูงสุดเมื่อลมสงบ 135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วที่ใช้เชื้อเพลงน้อยที่สุดต่อระยะทางที่ไปได้ 1 หน่วย 125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถ้าใช้อัตราความเร็วนั้น เชื้อเพลิงเต็มถังจะใช้เหาะได้ถึง 12000 กิโลเมตร แต่ภายในเรือเหาะเสียงเครื่องยนต์รบกวนจะเบามากจนมนุษย์ไม่ได้ยิน เดิมทีนั้น เรือเหาะลำนี้ถูกสร้างให้ลอยได้ด้วยแก๊สฮีเลียม ซึ่งเป็นแก๊สไม่ติดไฟ เบาเป็นลำดับที่ 2 ในตารางธาตุ แต่ในขณะนั้น ประเทศซึ่งเป็นแหล่งผลิตแก๊สฮีเลียมไม่ไว้ใจเยอรมนี จึงไม่ยอมขายแก๊สให้ ไฮเดนเบิร์กจึงถูกดัดแปลงให้ลอยได้ด้วยแก๊สไฮโดรเจน ซึ่งเป็นแก๊สไวไฟมาก แต่เบากว่าแก๊สฮีเลียม

[แก้] ความสะดวกสบายภายในเรือเหาะไฮเดนเบิร์ก

ในสมัยนั้น ธุรกิจการขนส่งข้ามมหาสมุทรด้วยเรือเหาะ กับ ธุรกิจการขนส่งข้ามมหาสมุทรด้วยเรือสำราญเครื่องจักรไอน้ำ กำลังแข่งขันกัน ภายในไฮเดนเบิร์กจึงเต็มไปด้วยความหรูหรา มีทั้งบาร์ ห้องสูบบุหรี่(ห้องนี้ต้องควบคุมหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะควบคุมไม่ให้แก๊สไฮโดรเจนรั่วไหลเข้าไป) เตาไฟฟ้า ห้องอ่านและเขียนหนังสือ ห้องน้ำและห้องอาบน้ำที่มีเทคโนโลยีทันสมัย และหรูหราสมเป็นพาหนะชั้นยอด ห้องพักผู้โดยสารมี 25ห้อง แต่ละห้องพักได้2คน ไม่มีการแบ่ง FIRST CLASS, SECOND CLASS, THIRD CLASS เหมือนเรือสำราญ ทุกคนอยู่ในระดับเดียวกัน มีหน้าต่างระเบียงชมทิวทัศน์เป็นทางเดินยาว 15 เมตร 2 ฟากเรือ อาหารรสเลิศ ไวน์ชั้นเยื่ยม แต่ค่าโดยสารแพงมาก เทียบเป็นราคาปัจจุบันแล้วก็พอ ๆ กับราคารถยนต์ขนาดครอบครัวหรูๆ หนึ่งคัน ต่อหัว ต่อเที่ยว

[แก้] การเดินทางเที่ยวสุดท้ายของเรือเหาะไฮเดนเบิร์ก

การเดินทางเที่ยวสุดท้ายของไฮเดนเบิร์ก คือ เที่ยวที่18 จากเมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี สู่รัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะถึงอเมริกาในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1937 เวลา 6 นาฬิกาตรง แต่อากาศไม่เป็นใจ ลมแรงมาก ไฮเดนเบิร์กต้องฝ่าลมแรงไป ทำให้ถึงจุดหมายล่าช้าไป 12 ชั่วโมง แต่ไฮเดนเบิร์กก็ไม่สั่นสะเทือนแม้แต่น้อย

[แก้] หายนะที่เกิดกับเรือเหาะไฮเดนเบิร์ก

เวลา 18 นาฬิกาตรง ของวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1937 ไฮเดนเบิร์ก็ถึงที่หมาย แต่ฝนตกหนักมาก กัปตันจึงยังไม่ลงจอด ดูทีท่าจนถึงเวลา 18 นาฬิกา 30 นาที จึงค่อย ๆ ดำเนินการลงจอด การลงจอดเรือเหาะนั้นช้ามาก กว่าจะเสร็จก็เกือบหนึ่งชั่วโมง เวลา 19 นาฬิกา 21 นาที เรือเหาะปล่อยเชือกลงมา การลงจอดกำลังจะสำเร็จ แต่แล้วเรือก็สั่นอย่างหนักโดยไร้สาเหตุอยู่สักพักแล้วหยุด กัปตันสั่งให้หยุดทำทุกสิ่งแล้วตรวจเช็คอุปกรณ์ แต่ไม่มีอะไรผิดปกติ หลังจากนั้นก็เกิดเปลวไฟเล็กๆขึ้นที่บริเวณท้ายเรือใกล้แพนหาง มันทำให้ถุงแก๊สถุงหนึ่งระเบิด และถุงอื่นๆก็ระเบิดตาม ไฟลามไปเรื่อย ๆ ไฮเดนเบิร์กค่อย ๆ ตกลงมา และกลายเป็นเถ้าถ่านในที่สุด หายนะครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 35 คน จาก 97 คน

[แก้] การสืบสวนสาเหตุของหายนะ

ไฮเดนเบิร์กเป็นเรือเหาะในสังกัดพรรคนาซี เป็นไปได้ไหมที่มีศัตรูของฮิตเลอร์พยายามทำลายชื่อเสียงของเขา หรือว่าการเลี้ยวอย่างรวดเร็วในตอนที่กัปตันพยายามลงจอดได้ทำให้ลวดเส้นหนึ่งขาดแล้วไปฉีกถุงไฮโดนเจนจนรั่วไหลออกมาและติดไฟ นี่เป็นสองข้อสันนิษฐานสุดท้ายที่คณะสืบสวนตั้งไว้ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังสืบสวนกันไม่ได้เลย

  เรือเหาะไฮเดนเบิร์ก เป็นบทความเกี่ยวกับ การสื่อสาร และการคมนาคม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เรือเหาะไฮเดนเบิร์ก ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com