Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี - วิกิพีเดีย

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย
เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
ศาลาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
ศาลาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี นามเดิม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล (พ.ศ. 2410 - 2459) อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ระหว่าง พ.ศ. 2454 - 2458

สารบัญ

[แก้] ประวัติ

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2410 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ต้นราชสกุลมาลากุล ประสูติจากหม่อมกลีบ) และหม่อมเปี่ยม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มีเลขประจำตัวหมายเลข 2 มีผลการเรียนดีเลิศ ซึ่งสอบได้ประโยคที่ 2 ในจุลศักราช 1248 หรือ พ.ศ. 2429

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น พระมนตรีพจนกิจ ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้อภิบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป [1]

จากการที่ท่านได้เห็นการศึกษาของนักเรียนไทยในต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี ท่านได้กราบทูลเสนอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย ร่างเป็น "โครงแผนการศึกษาในกรุงสยาม" เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2441 และโครงการสร้างสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2453

ท่านได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ) และได้เลื่อนเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในสมัยรัชกาลที่ 6

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เมื่อปี พ.ศ. 2456 และถึงแก่อสัญกรรมในอีก 3 ปีต่อมา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี สมรสกับท่านผู้หญิงเสงี่ยม มาลากุล (วสันตสิงห์) มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ

  • หม่อมหลวงปก
  • หม่อมหลวงปอง สมรสกับ หม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล
  • หม่อมหลวงเปนศรี
  • หม่อมหลวงเปนศักดิ์
  • หม่อมหลวงป้อง
  • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฏี มาลากุล
  • หม่อมหลวงเปี่ยมสิน
  • หม่อมหลวงปานตา สมรสกับ นายเมืองเริง วสันตสิงห์

สมรสกับคุณเจียร ลักษณะบุตร มีธิดาคือ

  • หม่อมหลวงนกน้อย

สมรสกับคุณเลื่อน ศิวานนท์ มีบุตรคือ

  • หม่อมหลวงประวัติ

[แก้] ผลงาน

[แก้] เพลงสรรเสริญพระบารมี

แต่เดิม การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี มีการแยกเนื้อร้องที่ใช้สำหรับ ทหารเรือหรือพลเรือนร้อง นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกเนื้อร้องบางวรรคบางตอน สำหรับชาย และหญิงร้องต่างกัน ทำให้เกิดความลักลั่น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2445 พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ได้ออกคำสั่ง กำหนดให้เพลงสรรเสริญพระบารมีมีเพียงเนื้อร้องเดียว เหมือนกันหมด

[แก้] เพลงสามัคคีชุมนุม

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลง สามัคคีชุมนุม โดยใช้ทำนองเพลง โอลด์แลงไซน์ ท่านได้รับการยกย่องว่า สามารถใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปให้สอดคล้องกับทำนองเดิมได้อย่างเหมาะเจาะ สามารถร้องเนื้อภาษาไทยไปพร้อมๆกับเนื้อภาษาเดิมของเพลงได้อย่างไม่ขัดเขิน เนื้อเพลงมีความหมายลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกถึงความสามัคคีเป็นอันดีต่อหมู่คณะ [2]

[แก้] สมบัติผู้ดี

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม เล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ สมบัติผู้ดี ซึ่งกล่าวถึงหลักปฏิบัติ 10 ประการของผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อันสุจริต ท่านได้เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 [3]

[แก้] อ้างอิง

  1. เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
  2. เพลงสามัคคีชุมนุม
  3. หนังสือสมบัติผู้ดี


  เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com