Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สเก็ตลีลา - วิกิพีเดีย

สเก็ตลีลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Commons
คอมมอนส์ มีรูปภาพและสื่อในรูปแบบอื่นๆ เกี่ยวกับ:

สเก็ตลีลา (figure skating) เป็นกีฬาสเก็ตน้ำแข็ง ซึ่งแข่งขันโดยการแสดง การหมุน กระโดด และ การแสดงท่าทางอื่น ๆ โดยทั่วไปมักจะเป็นการแสดงประกอบเสียงดนตรี การแข่งขันมีทั่งแบบเดี่ยว เป็นคู่ผสม หรือเป็นกลุ่ม และมีการจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันสเก็ตลีลาชิงแชมป์โลก (World Figure Skating Championships) และ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว (Winter Olympics)

กีฬานี้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับธุรกิจบันเทิง โดยมีการจัดการแสดงที่ไม่ได้เป็นการแข่งขัน และนอกจากนั้นยังมีการแสดงสเก็ตเพื่อบันเทิงผู้ชมหลังจากจบการแข่งขันอีกด้วย นักสเก็ตส่วนมากหลังจากจบอาชีพการแข่งขัน สามารถผันอาชีพไปแสดงสเก็ตโชว์

สารบัญ

[แก้] อุปกรณ์

ภาพ:Skate.jpg
รองเท้าสเก็ต
ใบมีด
ใบมีด

รองเท้าสเก็ตลีลาแตกต่างจากรองเท้าสเก็ตที่ใช้ในไอซ์ฮอกกี้ ตรงที่ส่วนหัวของใบมีดรองเท้าสเก็ตลีลามีรอยหยักเป็นฟัน เรียก โทพิคส์ (หรือ โทเรคส์) ใช้จิกพื้นช่วยในการกระโดด ไม่ควรใช้ในการหมุน ในปัจจุบันโทพิคส์นั้นมีการออกแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย บางแบบมีฟันยื่นออกมาที่ด้านข้างของใบมีดอีกด้วย

ใบมีดรองเท้าสเก็ตลีลา มีรูปร่างโค้งจากด้านหน้าไปจนถึงด้านหลัง ด้วยรัศมีของความโค้งประมาณ 2 เมตร ในปัจจุบันได้มีการออกแบบ ใบมีดสเก็ตรูปพาราโบลาเพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพของนักสเก็ต ใบมีดสเก็ตนั้นมีรูปร่าง กลวงเป็นร่องที่ส่วนขอบใบมีด ซึ่งทำให้ใบมีดนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 คมมีด คือ คมมีดด้านใน และ ด้านนอก ในการสเก็ตนั้นจะสเก็ตบนคมมีดด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่สเก็ตบนทั้งสองคมพร้อมกัน (ซึ่งเรียกว่าเป็นการสเก็ตแบบ แฟลต) การสเก็ตให้ลื่นไถลได้ดีนั้นมีพื้นฐานมาจากความสามารถในการใช้คมมีดเพื่อเร่งความเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ

ในอดีตนั้น รองเท้าสเก็ตจะทำจากหนัง และผลิตขึ้นด้วยมือ แต่ในปัจจุบัน รองเท้าสเก็ตที่ทำจากวัสดุเทียมด้วยการหล่อ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากทนทาน มีน้ำหนักเบากว่าหนัง และ มีการยืดหยุ่นปรับตัวให้เข้ากับเท้าที่ดีกว่า ในรองเท้ารุ่นใหม่จะมีส่วนข้อเท้าที่พับได้เพื่อความยืดหยุ่น ส่วนที่เป็นใบมีดนั้นยึดติดกับพื้นรองเท้า และ ส้นรองเท้า โดยการยึดด้วยตะปูควง

อุปกรณ์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วก็มี แผ่นสำหรับป้องกันก้นกระแทก ใช้สอดไว้ในกางเกงเพื่อช่วยลดการบอบช้ำเวลาลื่นล้ม และอุปกรณ์สำหรับป้องกันใบมีดสเก็ตเรียก การ์ด (guard) ใช้ครอบใบมีดเมื่อจำเป็นต้องเดินบนพื้นที่ไม่ใช่ลานน้ำแข็ง เพื่อปกป้องคมของใบมีด อุปกรณ์สำหรับป้องกันใบมีดอีกชนิดเรียก โซกเกอร์ เป็นครอบชนิดอ่อนสำหรับป้องกันใบมีดขึ้นสนิมจากความชื้น ในขณะที่ไม่ได้สวมใส่

[แก้] แขนงต่าง ๆ

[แก้] การกระโดด

การกระโดดในสเก็ตลีลา นั้นเป็นกระบวนการเริ่มตั้งแต่การโดยลอยตัวขึ้น หมุนตัวกลางอากาศ และ การลงสัมผัสพื้น การกระโดดนั้นมีหลายประเภท แยกออกโดย ท่าทางของการกระโดดขึ้น การลงสัมผัสพื้น และ จำนวนรอบของการหมุนตัวกลางอากาศ

นักสเก็ตโดยส่วนใหญ่นิยมหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา แต่ก็มีบางคนที่หมุนตัวตามเข็มนาฬิกา มีนักสเก็ตจำนวนน้อยคนที่จะหมุนตัวได้ทั้งสองทิศทาง ดังนั้นการอธิบายถึงลักษณะการกระโดดด้านล่างนี้ จะใช้หมายถึงการกระโดดเพื่อหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

การกระโดดในสเก็ตลีลามีอยู่ 6 ประเภทหลัก โดยการกระโดดทั้ง 6 ปรเภทนี้จะลงสัมผัสพื้น บนคมมีดด้านนอกของเท้าขวา (สำหรับการหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา ทั้งแบบรอบเดียว หรือ หลายรอบ) แต่แตกต่างกันตอนกระโดดขึ้น ลักษณะของการกระโดดขึ้นสามารถแยกได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ การกระโดดใช้ปลายเท้า (toe jumps) และ การกระโดดใช้คมมีด (edge jumps) (รายละเอียดด้านล่างอธิบายถึง การกระโดดหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกา ส่วนการหมุนตัวตามเข็มนาฬิกานั้นจะสลับข้างกัน)

การกระโดดใช้ปลายเท้า นั้นจะกระแทกโทพิกส์ลงบนพื้นน้ำแข็งในขณะออกตัวกระโดดขึ้น แบ่งเป็นประเภทย่อย (ตามลำดับจากง่ายที่สุด ไปยากที่สุด) คือ

  1. โทลูป (Toe loop) เริ่มออกตัวกระโดดจากการไถลไปด้านหลัง จากคมมีดด้านนอกของเท้าขวา โดยใช้โทพิกส์เท้าซ้ายช่วยในการออกตัว (มีลักษณะคล้ายการกระโดดโทวัลลียส์ เพียงแต่โทวัลลียส์นั้น ออกตัวจากคมมีดด้านในของเท้าขวา)
  2. ฟลิป (Flip) ออกตัวกระโดดจากด้านหลัง ด้วยคมมีดด้านในของเท้าซ้าย และ ใช้โทพิกส์เท้าขวาช่วยในการออกตัว
  3. ลัทซ์ (Lutz) ออกตัวกระโดดจากด้านหลัง ด้วยคมมีดด้านนอกของเท้าซ้าย และ ใช้โทพิกส์เท้าขวาช่วยในการออกตัว

การกระโดดใช้คมมีด นั้นจะไม่มีการใช้โทพิกส์ช่วยในการกระโดด แบ่งออกเป็น

  1. วอลทซ์ (Waltz) ออกตัวกระโดดจากการไถลไปด้านหน้า เป็นการกระโดดแบบเดียวกับการกระโดดแบบแอกเซิล แต่เป็นการกระโดดครึ่งรอบเท่านั้น โดยออกตัวกระโดดจาก คมมีดด้านนอกของเท้าซ้าย และ ลงสัมผัสพื้นไถลไปด้านหลัง ด้วยคมมีดด้านนอกของเท้าขวา
  2. ซาลคาว (Salchow) เริ่มออกตัวกระโดดจากการไถลไปด้านหลัง จากคมมีดด้านในของเท้าซ้าย และใช้การเหวี่ยงขาที่เหลืออีกข้างเป็นวง ช่วยในการออกตัวกระโดด
  3. ลูป (Loop) ออกตัวกระโดดทางด้านหลัง จากคมมีดด้านนอกของเท้าขวา และ ลงสัมผัสพื้นด้วยคมมีดเดียวกัน
  4. แอกเซิล (Axel) เป็นท่าการกระโดดเดียวที่กระโดดจากการไถลตัวไปด้านหน้า โดยออกตัวจากคมมีดด้านนอกของเท้าซ้าย เนื่องจากการกระโดดเริ่มออกตัวจากการไถลไปด้านหน้า จึงมีรอบการหมุนตัวเพิ่มขึ้นอีกครึ่งรอบ การกระโดดแบบนี้ถือว่าเป็นการกระโดดที่ยากที่สุดในบรรดาการกระโดดทั้ง 6 แบบ การกระโดดในลักษณะเดียวกันนี้ ที่หมุนตัวเพียงครึ่งรอบเรียกว่า การกระโดดแบบวอลทซ์ และโดยปกติจะเป็นท่ากระโดดท่าแรก สำหรับผู้เริ่มฝึกสเก็ต

จำนวนรอบของการหมุนตัวกลางอากาศในการกระโดดแต่ละครั้ง มี 1 รอบ 2 รอบ 3 รอบ และ 4 รอบ นักสเก็ตชายชั้นนำจะกระโดดหมุน 3 และ 4 รอบเป็นหลัก ส่วนนักสเก็ตหญิงชั้นนำนั้นส่วนมากจะกระโดดหมุน 3 รอบ ยกเว้นการกระโดดแบบแอกเซิล ซึ่งปกติแล้วจะหมุนเพียง 2 รอบ มีนักสเก็ตหญิงเพียงไม่กี่คนที่สามารถกระโดด แอกเซิล 3 รอบในการแข่งขันได้สำเร็จ

นอกจากการกระโดดดังกล่าวแล้ว ยังมีรูปแบบของการกระโดดเรียกการกระโดดแบบ ทาโน ซึ่งยากกว่าการกระโดดแบบธรรมดา เนื่องจากในระหว่างการกระโดดนักสเก็ตจะชูแขนข้างหนึ่งขึ้นไว้เหนือศรีษะ ชื่อทาโนนี้ตั้งตามนักสเก็ต ไบรอัน บอยทาโน (Brian Boitano) ซึ่งเป็นคนแรกที่กระโดดลัทซ์ 3 รอบ และชูแขนขึ้นระหว่างการกระโดด

นอกเหนือจากการกระโดดดังกล่าวข้างต้น ยังมีการกระโดแบบอื่นๆ ซึ่งปกติใช้ในการเล่นแบบเดี่ยว ใช้ในการเชื่อมโยงความต่อเนื่องระหว่างท่าต่างๆ หรือใช้ในการเน้นท่าก้าวต่อเนื่อง

  1. การกระโดดครึ่งลูป (Half loops) ออกตัวกระโดดด้วยคมมีดด้านนอกของเท้าขวาทางด้านหลัง เหมือนกับการกระโดดลูป แต่ลงสัมผัสพื้นบนคมมีดในด้านหลังของเท้าซ้าย
  2. การกระโดดวัลลีย์ (en:Walley jump) ออกตัวจากคมมีดในของเท้าขวาด้านหลัง ท่านี้อาจนับได้ว่าเป็นท่าที่ยากกว่าแอกเซิล เนื่องการทิศทางการเคลื่นที่ของคมมีดด้านในนั้นหมุนตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสวนทางกับทิศทางการหมุนตัวในอากาศซึ่งทวนเข็มนาฬิกา
  3. การกระโดดสปลิต (Split jump)เป็นการกระโดหมุนตัวครึ่งรอบตามแบบ ฟลิป ลัทซ์ หรือ ลูป
  4. การกระโดดแอกเซิลด้านใน (Inside axel) เป็นการกระโดดหมุนตัวหนึ่งรอบครึ่ง ที่ออกตัวกระโดดทางด้านหน้าจากคมมีดด้านในของเท้าขวา
  5. การกระโดดแอกเซิลขาเดียว (One-foot axel) เป็นการกระโดดหนึ่งรอบครึ่ง ด้วยการออกตัวแบบเอกเซิล ซึ่งเป็นการออกตัวกระโดดทางด้านหน้าจากคมมีดด้านนอกของเท้าซ้าย แต่ลงสัมผัสพื้นทางด้านหลังบนคมมีดด้านในของเท้าซ้าย

การกระโดดนั้น นอกจากจะแยกกระโดด แยกเป็นท่าเดี่ยว ๆ แล้ว ยังสามารถเป็น การกระโดดแบบต่อเนื่อง หรือ การกระโดดแบบเป็นชุด หลายท่าได้

ชุดของการกระโดดหลายท่า จะถือเป็นการกระโดดแบบต่อเนื่อง เมื่อการกระโดดในท่าถัดไปนั้นออกตัวกระโดดจาก คมมีดที่ใช้ในการลงสัมผัสพื้นในท่าก่อนหน้าเท่านั้น โดยที่ไม่มีการก้าว การหัน และ การเปลี่ยนคมมีด ระหว่างการกระโดด ดังนั้นท่าที่สามารถใช้ในการกระโดดต่อเนื่องที่ไม่ใช้ท่าแรกนั้น จำกัดอยู่เฉพาะ โทลูป และ ลูป (ซึ่งออกตัวกระโดดทางด้านหลัง จากคมมีดด้านนอกของเท้าขวา ซึ่งเป็นคมมีดที่ใช้ในการลงสัมผัสพื้นของท่ากระโดดพื้นฐานทั้ง 6 ท่า) นักสเก็ตสามารถใช้การกระโดดลูปครึ่งรอบในการเชื่อมต่อท่ากระโดด (ซึ่งเป็นการกระโดดเต็มรอบ และลงสัมผัสพื้นด้วยคมมีดด้านในของเท้าซ้าย) เพื่อช่วยเปลี่ยนคมมีด ทำให้สามารถใช้ท่า ซาลคาว หรือ ฟลิป เป็นท่าจบของชุดการกระโดดต่อเนื่องได้

ส่วนการ กระโดดแบบเป็นชุด นั้นคือการกระโดดที่อาจมีการก้าว หรือ การเปลี่ยนคมมีดระหว่างท่าการกระโดด

[แก้] การหมุนตัว

การหมุนตัว หรือ เรียกในภาษาอังกฤษ ว่า สปิน (spin) แบ่งออกเป็นหลายประเภทตาม ตำแหน่งของแขน ขา และ มุมของหลัง การหมุนตัวนั้นเป็นการหมุนบนส่วนโค้งของใบมีด ในตำแหน่งที่อยู่หลังโทพิกส์เล็กน้อย (คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าการหมุนตัวนั้นทำบนโทพิกส์) ส่วนโค้งของใบมีดนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า บอลของเท้า (ball of the foot) ซึ่งใช้หมายถึงส่วนโค้งมนที่ยื่นออกมา

การหมุนตัวนั้น ทำบนเท้าข้างใดก็ได้ หากนักสเก็ตหมุนตัวในทิศทวนเข็มนาฬิกา โดยหมุนบนเท้าขวาจะเรียก หมุนไปข้างหน้า หรือ ฟอร์เวิร์ดสปิน (forward spin) หากหมุนอยู่บนเท้าขวาจะเรียกว่าเป็นการหมุนกลับหลัง หรือ แบคสปิน (back spin)

  • อัปไรท์สปิน (upright spin - การหมุนตัวตรง) หรือเรียก คอร์กสกรูว์สปิน (corkscrew spin - การหมุนตัวเป็นเกลียว) ซึ่งเป็นการหมุนในลักษณะที่ตัวตั้งตรงในแนวดิ่ง โดยขาอิสระมักจะวางอยู่ในลักษณะไขว้ไว้ด้านหน้าของขาที่ใช้ในการหมุน การหมุนตัวในลักษณะนี้ที่เป็นการหมุนตัวอย่างเร็วนั้นเรียกว่า สแครชสปิน
  • แคเมลสปิน (Camel spin) หรือเรียก พาราเรลสปิน (parallel spin - การหมุนตัวแบบขนาน) เป็นการหมุนโดยมีการวางตัวอยู่ในลักษณะของ "เครื่องบิน" (airplane position) หรือ วางตัวในลักษณะขดเป็นวง (spiral position) ซึ่งขาอิสระจะยืดออกไปทางด้านหลังในระดับเดียวกับสะโพก ขนานกับพื้นน้ำแข็ง
  • ซิทสปิน (sit spin - การนั่งหมุน)เป็นการหมุนโดยงอเข่าของขาที่ใช้เสก็ตจนต่ำมากคล้ายท่านั่งยอง ส่วนขาอิสระจะยืดตรงยื่นไปข้างหน้าขนานกับพื้นน้ำแข็ง
  • ครอสฟุตสปิน (crossfoot spin - การหมุนไขว้เท้า)เป็นการหมุนในลักษณะตัวยืนตรง โดยที่ขาอิสระจะไขว้ไปด้านหลังของขาที่ใช้เสก็ต
  • เลย์แบคสปิน (layback spin - การหมุนแอ่นหลัง)เป็นการหมุนในลักษณะที่แอ่นตัวไปด้านหลัง และมีการจัดลักษณะของแขนให้เกิดความสวยงามของท่วงท่า
  • แคทช์เดอะฟุตสปิน (Catch-the-foot spins - การหมุนจับเท้า)
  • บีลแมนสปิน (Biellmann spin - การหมุนแบบบีลแมน) ผู้เสก็ตจะดึงขาอิสระขึ้นมาเหนือสีรษะจากทางด้านหลัง (ท่านี้ใช้โดยนักเสก็ตสตรีเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้องใช้ความยืดหยุ่นในการดัดตัวสูง) โดยการยึดจับบนใบมีดของรองเท้าเสก็ต ชื่อของท่านี้ตั้งตามนักเสก็ตแชมเปียนโลกฝ่ายหญิง ปี ค.ศ. 1981 ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ชื่อ เดนิส บีลแมน (Denise Biellmann)
  • โดนัทสปิน (Doughnut spin - การหมุนตัวรูปโดนัท) เป็นการหมุนที่ดัดแปลงจากแคเมลสปิน โดยที่นักเสก็ตใช้แขนข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างจับใบมีดของเท้าอิสระดึงไปด้านหลัง โดยส่วนของหลังโค้งเป็นวงขนานกับพื้นน้ำแข็ง
  • แดทดรอปสปิน (Death drop spin)
  • บัตเตอร์ฟลายสปิน (Butterfly spin)
  • ฟอร์เวิร์ดเชนจ์เอดจ์สปิน (Forward change-edge spin)
  • แบคเวิร์ดเชนจ์เอดจ์สปิน (Backward change-edge spin)
  • การหมุนตัวแบบอื่น

ฟลายอิงสปิน (flying spin - การหมุนลอยตัว)

[แก้] การก้าวและเลี้ยว

ลำดับการก้าวเป็นองค์ประกอบบังคับหนึ่งในการแข่งขัน ลำดับการก้าวนี้หมายถึงการผสมผสานระหว่างการหันตัว การก้าวเท้า การกระโดดสั้น และ การเปลี่ยนคมมีดที่สัมผัสพื้น โดยลำดับของการแสดงเหล่านี้อาจกระทำในระหว่างเคลื่อนตัวเป็นเส้นตรง เป็นวง หรือ เป็นรูปตัว S

ลักษณะการเลี้ยวซึ่งนักสเก็ตใช้ประกอบในลำดับการก้าวมีหลายชนิด ดังนี้

  • การเลี้ยวรูปหมายเลข 3 (3 turn) ซึ่งตั้งชื่อตามลักษณะของรูปร่างการเลี้ยวโค้งของใบมีดรองเท้าสเก็ต ซึ่งมีการหันใบมีดตามแนวโค้ง และทิ้งริ้วรอยเหมือนกับหมายเลข "3" ไว้บนผิวน้ำแข็ง
  • การเลี้ยวรูปปีกกา (bracket turn)
  • การเลี้ยวแบบร็อคเกอร์ (rocker turn) และการเลี้ยวแบบเคาน์เตอร์ (counter turn)
  • การเลี้ยวแบบโมฮอว์ค (Mohawk turn)
  • การเลี้ยวแบบชอคทอว์ (Choctaw turn)
  • การเลี้ยวแบบทวิซเซิล (twizzle)



  สเก็ตลีลา เป็นบทความเกี่ยวกับ กีฬา นักกีฬา หรือ ทีมกีฬา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สเก็ตลีลา ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com