Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สมเด็จพระมหาธรรมราชา - วิกิพีเดีย

สมเด็จพระมหาธรรมราชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระมหาธรรมราชา ในภาพบนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.  2550) รับบทโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช
สมเด็จพระมหาธรรมราชา ในภาพบนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550) รับบทโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช

สมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ ขุนพิเรนทรเทพ (กรมพระตำรวจฝ่ายขวา) ทรงสืบเชื้อสายข้างพระราชบิดามาจากราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ส่วนพระราชมารดานั้นกล่าวกันว่าเป็นราชนิกูลในราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยา

สารบัญ

[แก้] พระราชประวัติ

เมื่อครั้งขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ซึ่งตามพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวไว้ว่า ได้สมคบกันก่อการทรยศโดยลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระไชยราชาธิราช ต่อจากนั้นขุนวรวงศาธิราชได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ เมื่อความแจ้งไปถึงขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งขณะนั้นรั้งตำแหน่งเจ้าเมืองพิษณุโลก พระองค์จึงเสด็จลงมาจากเมืองพิษณุโลกเพื่อชิงพระราชบัลลังก์คืนจากขุนวรวงศาธิราช ถวายราชสมบัติแด่ พระเฑียรราชา ผู้เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระไชยราชาธิราช

หลังจากพระเฑียรราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์ได้ทรงสถาปนาขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งเป็นราชนิกูลข้างพระราชมารดาแต่เดิมขึ้นเป็นเจ้า ทรงนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ให้ไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก รั้งตำแหน่งเจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในหัวเมืองเหนือทั้งหมด และมีพระวิสุทธิกษัตรีเป็นอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ พระสุพรรณเทวี หรือพระสุพรรณกัลยา ซึ่งต่อมาสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้ถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๗ พรรษา เพื่อขอสมเด็จพระนเรศวรมาช่วยงานของพระองค์ องค์ที่สองคือ พระองค์ดำ หรือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ พระเจ้าบุเรงนองได้ขอไปอยู่ที่กรุงหงสาวดี ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา สมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้ขอตัวมาช่วยงานของพระองค์ และทรงตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช ไปครองเมืองพิษณุโลก ดูแลหัวเมืองเหนือทั้งปวง องค์ที่สามคือ พระองค์ขาว หรือสมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๑๐๐

จากนั้นพม่ากรุงหงสาวดีเห็นว่าเป็นช่วงผลัดแผ่นดินจึงบุกโจมตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทราบจึงทรงนำทัพออกต้านศึก และในขณะที่พระมหาจักรพรรดิทรงกระทำยุทธหัตถีกับ พระเจ้าแปรอยู่ ช้างพระที่นั่งของพระมหาจักรพรรดิก็เสียที ทำให้พระเจ้าแปรไล่ชน แต่สมเด็จพระสุริโยทัยได้นำช้างมาขวาง ทำให้พระศรีสุริโยทัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นกรุงศรีอยุธยาก็ส่งเรือรบไปยิงค่ายพม่า ทำให้พม่าต้องถอยทพกลับหงสาวดี เมื่อกลับถึงเมืองพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กลับยึดติดกับการตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้จึงทรงติดสุราอย่างหนักจนออกว่าราชการไม่ได้ต้องให้บุเรงนองผู้เป็นพระญาติเป็นผู้สำเร็จราชการแทน

จากนั้นพวกมอญก็ได้ลวงพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ไปลอบปลงพระชนม์แล้วยึดหงสาวดีไปได้ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองได้นำกำลังเข้ายึดหงสาวดีกลับคืนมา และก็นำกองทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาหมายจะตีอยุธยา เรียกว่าสงครามช้างเผือก ตอนแรกทรงส่งสาส์นมาขอช้างเผือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ส่งพระราชสาส์นตอบกลับไปว่า "ถ้าประสงค์จะได้ช้างเผือกก็ให้เสด็จมาเอาโดยพระองค์เองเถิด" ทำให้พระเจ้าบุเรงนองถือเอาสารนี้เป็นเหตุยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา โดยจัดกำลังประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คนพร้อมด้วยช้าง ม้า และอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก โดยยกเข้ามาทางเมืองตาก ด้วยกำลังมากกว่า ทำให้ทัพหงสาวดีสามารถยึดหัวเมืองเหนือไว้ได้เกือบทั้งหมดจนมาถึงเมืองพิษณุโลก

[แก้] ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดี

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้ทำการป้องกันเมืองอย่างดี พระเจ้าบุเรงนองจึงขอเจรจา พระมหาธรรมราชาธิราชจึงส่งพระสงฆ์จำนวน ๔ รูป แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ อีกทั้งในเมืองยังขาดเสบียง และเกิดโรคระบาด ทำให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงเปิดทางให้พระเจ้าบุเรงนองด้วยเกรงว่าหากขืนสู้

การยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดี ในภาพบนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.  2550)
การยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดี ในภาพบนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550)

รบต่อไปด้วยกำลังคนที่น้อยกว่าอาจทำให้เมืองเมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงเหมือนกับหัวเมืองเหนืออื่นๆก็เป็นได้ พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระธรรมราชาเป็นพระศรีสรรเพชญ์ ครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แต่อยู่ในฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของหงสาวดี กับขอสมเด็จพระนเรศวรไปองค์ประกันอยู่ที่หงสาวดี

ในปี พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วยโดยพระเจ้าบุเรงนองให้พระมหาธรรมราชาเป็นกองหลังดูแลคลังเสบียงจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อเดือนเก้า พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งในวันศุกร์ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ ได้อภิเษกให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะประเทศราช ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ บางแห่งเรียก พระสุธรรมราชา เป็นต้นราชวงศ์สุโขทัย

[แก้] พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของพม่าอยู่ถึง ๑๕ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวร องค์รัชทายาทก็ได้ทรงประกาศอิสระภาพ ในห้วงระยะเวลา ๑๐ ปี แรกในรัชสมัยของพระองค์ เขมรได้ส่งกำลังมาโจมตีหัวเมืองทางตะวันออกและรุกเข้ามาถึงชานพระนคร แต่ฝ่ายไทยก็สามารถต่อสู้ขับไล่เขมรกลับไปได้ พระองค์ทรงเห็นเป็นโอกาสในการป้องกันพระนคร จึงได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงและป้อมต่าง ๆ รอบพระนครให้แข็งแรงขึ้น กล่าวคือ ในปี พ.ศ. ๒๑๒๓ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคูพระนครทางด้านทิศตะวันออก หรือคูขี่อหน้า ซึ่งแต่เดิมแคบข้าศึกสามารถเข้ามาสู่พระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น โปรดเกล้า ฯ ให้รื้อกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออก แล้วสร้างให้ไปจรดริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกับด้านอื่น ๆ ทรงสร้างป้อมมหาชัย ตรงบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน และสร้างพระราชวังจันทร์เกษม (วังหน้า) สำหรับใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร ไว้คอยสกัดกั้นทัพข้าศึกที่เข้าโจมตีพระนครทางด้านทิศตะวันออก


[แก้] ดูเพิ่ม


รัชสมัยก่อนหน้า:
สมเด็จพระมหินทราธิราช
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรอยุธยา

ราชวงศ์สุโขทัย ๒๑๑๒๒๑๓๓ (เสียกรุงครั้งที่ ๑)
รัชสมัยถัดไป:
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ราชวงศ์สุโขทัย



  สมเด็จพระมหาธรรมราชา เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระมหาธรรมราชา ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com