Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ - วิกิพีเดีย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารบัญ

[แก้] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ

วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิและวิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ แต่เดิมเป็นวิทยาเขตเดียวกันสังกัด สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปีพุทธศักราช 2526 กระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งส่วนราชการ วิทยาเขตบพิตรพิมุข ออกเป็น 2 แห่งได้แก่

  • วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ
  • วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปรับเปลี่ยน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล9 แห่งและแบ่งส่วนราชการใหม่โดยการรวมกลุ่มวิทยาเขตที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย วิทยาเขตบพิตพิมุข มหาเมฆ กับวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาเขตพระนครใต้ เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ รวมกลุ่มกับ วิทยาเขตเพาะช่าง วิทยาเขตศาลายา วิทยาเขตวังไกลกังวล เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

[แก้] สถานที่ตั้ง

  • วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ ตั้งอยู่ ณ ถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
  • วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ ตั้งอยู่ ณ ถนนอาคารสงเคราะห์ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

[แก้] ประวัติความเป็นมา

วิทยาเขตบพิตรพิมุข แต่เดิมเป็นโรงเรียนราษฎร์ มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ตั้งชื่อตามชื่อวัดบพิตรพิมุขหรือวัดเชิงเลน บพิตรพิมุข เป็นสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนมาช้านาน ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีพระภิกษุสามเณรผู้ทรงความรู้เป็นครูผู้สอน และใช้กุฎิศาลาการเปรียญ หรือศาลารายภายในวัดเป็นสถานที่เรียน ในครั้งนั้นมีผู้นิยมส่งบุตรหลานมาฝากเรียนเป็นศิษย์เรียนหนังสือในสำนักเรียนบพิตรพิมุขกันมาก นักเรียนในยุคนั้น เช่น พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด ภิรมย์ภักดี) พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) และพระยารณชัยชาญยุทธ (ศุข โชติเสถียร) เป็นต้น แต่เดิมใช้กุฏิภายในวัดเป็นสถานที่เรียน ครั้งถึงเดือนเจ็ด ปีระกา สัปตศก 1247 หรือเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศตั้งโรงเรียนบพิตรพิมุขขึ้น เป็นโรงเรียนหลวงรุ่นแรกสำหรับราษฎรได้ศึกษาเล่าเรียน โดยมีขุนอนุกิจวิธูร (น้อย จุลวิธูร) เป็นครูใหญ่คนแรก และมีนักเรียนเพียง 34 คน สมัยครูใหญ่ ขุนอนุกิจวิธูร ในปีแรกที่เปิดสอนอย่างเป็นทางการโรงเรียนวัดบพิตรพิมุขได้เปิดสอนมูลสามัญชั้นต่ำประโยค 1 ก่อน โดยจะเรียกชื่อนักเรียนจำแนกชั้นตามชื่อหนังสือที่เรียนคือ นักเรียนมูลบทบรรพกิจ นักเรียนวาหนิติ์กร นักเรียนอักษรประโยค นักเรียนสังโยคพิธาน นักเรียนไวพจน์พิจารณ์ นักเรียนพิศาลการันต์ และนักเรียนจบพิศาลการันต์ ภายในระยะเวลาเพียงปีเดียวเท่านั้น ก็มีนักเรียนถึง 100 คน และการเรียนการสอนของโรงเรียนัดบพิตรพิมุขก็จบประโยค 1 บริบูรณ์ จากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่านักเรียนของโรงเรียนวัดบพิตรพิมุขสมัยแรก ๆ นั้น ในบางปี มีนักเรียนหญิงมาเรียนด้วย เช่น คุณหญิงพิชัย คุณหญิงน้อม (คุณหญิงกรุงศรีสวัสดิการ) แม่เเสริม เป็นต้น

จากนั้นการจัดการเรียนการสอนของบพิตรพิมุขก็มีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ ดังนี้

  • พ.ศ. 2439 เปิดสอนมูลสามัญชั้นสูง
  • พ.ศ. 2445 เปิดสอนระดับประถมศึกษา
  • พ.ศ. 2456 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษา จึงเรียกชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุข"
  • พ.ศ. 2477 เปิดสอนชั้นมัธยม ปีที่ 7-8 แผนกวิสามัญ สอนภาษาต่างประเทศ ซึ่งต้องเรียนภาษาอังกฤษ เป็นวิชาบังคับและเรียนภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2480 ทางราชการได้เริ่มยุบชั้นมัธยมปีที่ 7 และได้เปิดสอนอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกภาษาต่างประเทศขึ้น มีหลักสูตรการเรียน 3 ปี ต่อจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทำให้นักเรียนจากโรงเรียนอื่นสามารถเข้าเรียน ต่อในแผนกนี้ได้
  • พ.ศ. 2492 ได้เปิดสอนชั้นมัธยมปลาย โดยแบ่งเป็น 3 สายคือ สายสามัญ ซึ่งใช้หลักสูตรเดียวกันกับโรงเรียน สามัญและสายมัธยมอาชีวศึกษาภาษาต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2493 เปิดสอนแผนกศึกษาผู้ใหญ่แผนกพิมพ์ดีดไทย - อังกฤษ และแผนกบัญชีร้านค้าขึ้น โดยใช้ระยะเวลาเรียน 3 เดือน ระหว่าง 17.00 - 19.00 น. และแผนกนี้ได้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2512
  • พ.ศ. 2495 เปิดสอนแผนกอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกภาษาต่างประเทศและเลขานุการ หลักสูตรนี้เน้นไปใน ทางธุรกิจ รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าเรียนต่อ เป็นหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับนักเรียนหญิง เข้าเรียนในแผนกนี้ด้วยเป็นจำนวน 13 คน ในรุ่นแรกบพิตรพิมุขจึงได้มีนักเรียนหญิงตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา นับว่าแผนกเลขานุการได้กำเนิดขึ้นในโรงเรียนรัฐบาลเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2496 เปิดสอนแผนกเสมียนพนักงาน หลักสูตร 2 ปี เพิ่มขึ้นอีกแผนกหนึ่งและได้ยกเลิกหลักสูตรนี้ไปเมื่อ พ.ศ. 2500
  • พ.ศ. 2497 เปิดการสอนรอบบ่ายเฉพาะแผนกอาชีศึกษาชั้นสูงและยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2505
  • พ.ศ. 2503 โรงเรียนมีนโยบายที่จะขยายการศึกษาด้านอาชีวศึกษาชั้นสูง จึงได้เริ่มยุบชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ลงปีละชั้น คงเหลือแต่แผนกอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกภาษาต่างประเทศและเลขานุการ เมื่อปี พ.ศ. 2509
  • พ.ศ. 2507 กรมอาชีวศึกษาได้ปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนอาชีวศึกษาใหม่ โดยให้สิทธินักเรียนแผนก อาชีวชั้นสูง ปีที่ 2 เข้าสอบร่วมกับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 (มศ. 5) ของกรมวิสามัญเพื่อรับประกาศนียบัตรชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญแผนกทั่วไปและเข้าเรียนต่อไปจนจบชั้นปีที่ 3 ก็จะได้รับประกาศนียบัตรอาชีวศึกษาชั้นสูงอีก 1 ฉบับด้วย
  • พ.ศ. 2508 เปิดรอบบ่ายขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยรอบเช้าเริ่มเรียนตั้งแต่ 8.00-13.30 น. และรอบบ่ายเริ่มเรียนตั้งแต่ 13.40 - 19.00 น. ดังเช่นในปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2516 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนขึ้นเป็น "วิทยาลัยบพิตรพิมุข"
  • พ.ศ. 2520 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคค่ำและโอนจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาโดยเรียกชื่อโรงเรียนว่า "วิทยาเขตบพิตรพิมุข"
  • พ.ศ. 2521 เปลี่ยนหลักสูตรการเรียน 3 ปี เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ สาขาวิชาเลขานุการและสาขาวิชาการบัญชี และขยายการศึกษาไปที่ทุ่งมหาเมฆด้วย
  • พ.ศ. 2526 กระทรวงศึกษาธิการประกาศแยกเป็น 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ และวิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ
  • พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ให้แก่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  • พ.ศ. 2536 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี ภาคปกติ คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกการบัญชี
  • พ.ศ. 2537 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี ภาคปกติ คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกภาษาธุรกิจ
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี ภาคสมทบ
  • พ.ศ. 2542 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี คณะบริหารธุรกิจ ภาคปกติ วิชาเอกการบัญชีและภาษาอังกฤษธุรกิจ และปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี ภาคสมทบ วิชาเอกการจัดการทั่วไป ในปีนี้จึงมีการจัดการเรียนการสอนทั้ง 3 ระดับ คือ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี
  • พ.ศ. 2543 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี ภาคปกติ วิชาเอกการจัดการทั่วไปและยุบการสอนระดับ ปวช. ลงปีละชั้น
  • พ.ศ. 2544 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี คณะบริหารรธุรกิจ วิชาเอกการจัดการทั่วไป
  • พ.ศ. 2545 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี คณะศิลปศาสตร์ วิชาเอกภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2546 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกระบบสารสนเทศ
  • พ.ศ. 2547 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี ภาคสมทบ คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกระบบสารสนเทศ
  • พ.ศ. 2548 เปิดสอนหลักสูตรปริญญา 4 ปี คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกการตลาด และคณะศิลปศาสตร์ วิชาเอกภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล


[แก้] หน่วยงาน

เปิดทำการสอน 2 คณะคือ

  • 1.คณะบริหารธุรกิจ
  • 2.คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์


[แก้] หลักสูตร

  1. 1.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ)
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการตลาด
  • วิชาเอกระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ - พัฒนาซอฟต์แวร์
  1. 2.หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ)
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
  1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี (ภาคปกติและภาคสมทบ 1,2)
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการตลาด-การบริหารการตลาด
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • วิชาเอกระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ - พัฒนาซอฟต์แวร์
  1. 3.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส (ภาคเช้า - บ่าย)
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาภาษาธุรกิจ
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

[แก้] ผู้บริหารชุดปัจจุบัน

  • วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ นางศิริรัตน์ ภาศักดี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ ผศ.อุ่นใจ ลิมตระกูล รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com