Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พูดคุย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - วิกิพีเดีย

พูดคุย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่าง
เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมกับโครงการ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเข้าไปที่ หน้าสถานีสถาบันอุดมศึกษาไทย

สารบัญ

[แก้] ประวัติความเป็นมาโดยละเอียด

น่าจะมีการรวบรวมความเป็นมามากกว่านี้ เช่นการโอนหน่วยงานต่างมาขึ้นกับ/ออกไปจาก มธก./มธ.

[แก้] สงสัยบุคคลที่มีชื่อเสียง ของ มธ

ทำไมจึงแยกท่านปรีดี ท่านป๋วย และท่านสัญญา ออกมาข้างนอก เพราะในรายชื่อศิษย์เก่าก็มีแล้ว มันจะไม่ซ้ำซ้อนกันหรือScorpianPK 16:25, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

งั้นเอาไปไว้ข้างนอก แต่ก็ต้องลบหัวข้อบุคคลที่มีชื่อเสียงออก เพราะไม่มีเนื้อหานะครับ --ธวัชชัย 16:16, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

  • งั้นคงต้องลบหัวข้อเดียวกันที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยนะครับScorpianPK 16:25, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

ขออนุญาตตอบนะครับ ผมเป็นคนใส่เองนะครับ เพราะอยากให้หัวข้อย่อยมีเนื้อหาบ้าง ไม่ใช่มีแต่ลิงก์ไปอีกหัวข้อหนึ่ง โดยมีแนวคิดที่ว่า ตัวบทความนั้นควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง (self-contained) ในระดับนึง แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่อยากให้รายชื่อยาว/เยอะจนเกินไป จึงเลือกเอาที่เด่นที่สุด รู้จักกันมากที่สุดทั้งภายในและนอกประชาคมธรรมศาสตร์มาสามชื่อก่อนครับ (ซึ่งสามชื่อนี้คงจะไม่มีข้อโต้แย้ง) แต่ถ้าเห็นว่ามีชื่อไหนที่เหมาะสม เหมาะจะนำมาใส่ในหัวข้อหลักของมหาวิทยาลัย ก็สามารถเพิ่มได้ครับ

ลองดูตัวอย่างที่ en:University of Cambridge#Selected notable members

หรือถ้าจะเทียบกับบทความประเภทอื่น ก็เป็นทำนองเดียวกับ ประเทศไทย#ประวัติศาสตร์ กับ ประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งหัวข้อย่อยอันแรกจะเป็นข้อมูลทั่วไปคร่าว ๆ ให้เห็นภาพ ส่วนรายละเอียดจะไปอยู่ในหัวข้อหลักอีกอันต่างหาก ถ้ามองอย่างนี้ ผมเห็นว่าก็ไม่เป็นการซ้ำซ้อนนะครับ แต่เสริมกัน เพราะเนื้อหาต่าง ๆ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกันอยู่้แล้ว จะแยกเด็ดขาดแบบไม่มีอะไรซ้อนทับกันเลยคงเป็นไปไม่ได้

-- 172.173.64.199 00:52, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)

    • ครับ ผมจะได้ยึดเอาเป็นบรรทัดฐาน เพราะเห็นอีกหลายตำแหน่งที่เขียนโดยให้ link ไปที่อื่น ที่สอบถามดูเพราะว่า อยากให้มันเกิดบรรทัดฐานเดียวกันในทุก ๆ บทความครับผม ขอเรียนถามอีกสักข้อ ถ้าเราเขียนไว้ข้างหน้าแล้ว จำเป็นจะต้องลบชื่อเหล่านั้น ใน link หรือไม่ หรือว่าไม่จำเป็นต้องลบออก ScorpianPK 16:20, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)
    • ไม่ต้องเอาออกครับ (เพราะแต่ละหน้าควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง) :) -- 172.174.31.192 16:28, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)

[แก้] บัณฑิตวิทยาลัย มธ.

ม.ธรรมศาสตร์ได้ประกาศยุบบัณฑิตวิทยาลัยไปแล้วนะครับ จึงขอลบออกจากหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนนะครับ ScorpianPK 17:27, 17 กรกฎาคม 2006 (UTC)

[แก้] ย้ายรายละเอียด คณะ ต่าง ๆ ของ มธ. เพื่อรอการจัดหน้า (ชั่วคราว)

ขอย้าย รายละเอียดต่าง ๆ ของ มธ มาไว้หน้านี้ก่อน เพื่อรอการจัดหน้าให้ดีขึ้นนะครับ ScorpianPK 17:53, 21 สิงหาคม 2006 (UTC)

คณะนิติศาสตร์

     เปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ( น . บ .) โดยมีระยะเวลาการศึกษาตามโครงสร้างของหลักสูตร 4 ปีการ ศึกษา หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้กฎหมายทั้งใน ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้สามารถที่จะออกไปประกอบวิชาชีพทางกฎหมายแขนงต่างๆได้โดยฝึกฝนให้นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตกฎหมายให้ถูกต้องแก่กรณี รู้จักใช้เหตุผลเข้าใจใน ตัวบทกฎหมาย ทั้งในการตีความและเจตนารมณ์ของกฎหมาย 
    คุณสมบัติเบื้องต้นที่จะเรียนกฎหมายได้ดี 

1. รักความเป็นธรรม ไม่ทนดูความอยุติธรรม โดยไม่มีปฏิกิริยา

2. รักการใช้เหตุผล ไม่นิยมใช้กำลังตัดสินปัญหา

3. รักการโต้แย้งด้วยเหตุผล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

4. กระตือรือร้นใคร่รู้ และพัฒนากฎเกณฑ์สังคมเพื่อสันติสุขของคนหมู่มาก

5. มีความสามารถในการใช้ภาษาดีพอสมควร

6. ควรมีความจำดี แต่ไม่ใช่นักท่องจำ

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิตและหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ดังนี้ 

1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มีสาขาวิชาเอกเพียง 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี

2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มีสาขาวิชาเอก คือ

    - สาขาวิชาการเงิน 
    - สาขาวิชาการตลาด 
    - สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ 
    - สาขาวิชาบริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ 
    - สาขาวิชาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ 
    - สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
    - สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 
         คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรภาษาอังกฤษ (โครงการปริญญาตรี บริหารธุรกิจ หลักสูตรนานานาชาติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ( (BBA.International Program) คือ 
    - สาขาวิชาการบัญชี 
   - สาขาวิชาการเงิน 
   - สาขาวิชาการตลาด 

สาขาการบัญชี

         ศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับการบัญชี เรียนรู้ถึงความสำคัญและบทบาทของการบัญชีในการให้ข้อมูลเพื่อการใช้ตัดสินใจ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เรียนรู้ถึงแนวความคิดในการจดบันทึก รวบรวมวิเคราะห์ และนำเสนอ ข้อมูลทางการเงินที่เกิดขึ้นในองค์กรให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลคอมพิวเตอร์ นักศึกษาได้ศึกษาทั้งการบัญชีการเงิน การบัญชีบริหาร การสอบบัญชี การภาษีอากร ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อให้พร้อมที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับสภาพจริงทางธุรกิจ การบัญชีจึงเปรียบเสมือนภาษาของธุรกิจ “ Business Language ” ซึ่งผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจทุกด้านจะต้องเรียนรู้และเข้าใจ 

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

         ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาการบัญชีสามารถประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านภาครัฐและเอกชน เช่น นักบัญชี สมุห์บัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นักบัญชีต้นทุน ที่ปรึกษาด้านการวางแผนภาษีอากร ด้านการลงทุน หรือประกอบอาชีพอิสระของตน เช่น สำนักงานรับทำบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นอกจากนี้ยังสามารถโยกย้ายไปรับตำแหน่งในฝ่ายอื่น ๆ ได้เกือบทุกสายงาน เช่น การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ฯลฯ 

สาขาวิชาการเงิน

         เน้นที่จะผลิตบัณฑิตทางการเงินรุ่นใหม่ให้มีความสามารถและทักษะทางการเงินในทุกด้าน ได้แก่ ทักษะทางแนวคิดและหลักการ (Conceptual Skill) ที่ดี ทักษะทางการวิเคราะห์ (Analytical Skill) ที่รอบคอบและแตกฉาน และทักษะในทางการประยุกต์ (Application Skill) ความรู้ในการแก้ปัญหาทางการเงินของธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนมุ่งปลูกฝังและหล่อหลอมให้บัณฑิตมีคุณภาพ และจริยธรรมพร้อมที่จะออกไปสู่สังคมธุรกิจอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม เพื่อเสริมสร้างรากฐานของสังคมและธุรกิจให้มั่นคงเติบโตได้ในระยะยาว 

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

         ผู้สำเร็จสาขาวิชานี้สามารถวิเคราะห์คาดคะเน และตัดสินใจ ทำให้มองเห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดได้อย่างกว้างไกล งานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงท้าทายความสามารถวิชาความรู้ที่เรียนมา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือทำงานในสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย ตลาดอนุพันธ์ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ตลาดหลักทรัพย์ นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน นักวิเคราะห์เพื่อการลงทุนและโครงการต่าง ๆ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม สถาบันการเงินพิเศษเฉพาะ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ฯลฯ 
สาขาวิชาการตลาด 
         ปัจจุบันวิชาด้านการตลาดเป็นวิชาที่น่าสนใจมาก เนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจต้องพยายามปรับตัวเอง ให้สามารถอยู่รอดได ้และบาง ธุรกิจต้องกา ร

เติบโตเป็นผู้นำด้วย งานตลาดจึงมีความสำคัญ ผู้บริหารฝ่ายการตลาดส่วนใหญ่จึงมักได้รับเลือกให้ไปทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงของกิจการ หรือจะกล่าวได้ว่าผู้บริหารระดับสูงของกิจการจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการตลาด

ทางด้านการตลาดจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค การวิจัยการตลาด การบริหารการตลาด การบริหารงานขาย การโฆษณา และการส่งเสริมการขาย การบริหารผลิตภัณฑ์และราคา การตลาดระหว่างประเทศ เป็นต้น

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

         ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง เช่น งานทางด้านวิจัยตลาดและวิจัยธุรกิจ ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด นักโฆษณา ผู้จัดการฝ่ายวางแผนสื่อโฆษณา ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ นักวิเคราะห์และวางแผนการตลาด หน่วยงานที่บัณฑิตออกไปประกอบอาชีพ ได้แก่ บริษัทตัวแทนจำหน่าย บริษัทการค้าระหว่างประเทศ บริษัทผู้ผลิต บริษัทวิจัย บริษัทโฆษณา โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ สถานศึกษาหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนเป็นเจ้าของธุรกิจของตน 
สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ 
         ปัจจุบันวงการธุรกิจมีปัญหาการขาดแคลนนักบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การมืออาชีพที่มีความลึกซึ้งในวิชาชีพและเข้าใจการดำเนินงานขององค์การธุรกิจเป็นอย่างมาก 
    สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ จึงมุ่งเน้นให้มีความรู้ ทักษะ ทักษะทั้งในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จขององค์การ ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การคัดเลือกและสรรหาบุคคล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประเมินการปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทนและแรงงานสัมพันธ์ การพัฒนาภาวะผู้นำ การติดต่อสื่อสาร การพัฒนาองค์การ วิเคราะห์พฤติกรรมองค์การ นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือก ทางด้านการเป็นผู้ประกอบการและการบริหารธุรกิจขนาดย่อม เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ 

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

    ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วางแผนทรัพยากรมนุษย์ เจ้าหน้าที่สรรหาคัดเลือกบุคคล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารค่าตอบแทน เจ้าหน้าที่บริหารแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งมีโอกาสก้าวหน้าเป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ และผู้บริหารระดับสูงได้ทั้งในองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชน 

สาขาวิชาบริหารอุตสาหการและปฏิบัติการ

    สาขาวิชานี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการกิจกรรมของธุรกิจ ลักษณะกระบวนการ และเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม กิจการบริการประเภทต่าง ๆ เทคนิควิธีการเชิงปริมาณสำหรับใช้วิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ การวางแผนควบคุมการผลิตและปฏิบัติการในเชิงคุณภาพปริมาณกำหนดเวลาและต้นทุนค่าใช้จ่าย การบริหารการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนการบริหารโครงการเพื่อให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ และได้ปริมาณเพียงพอ ต่อความต้องการ ตรงเวลา หรือทันสถานการณ์ และมีต้นทุนที่เหมาะสม 

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

    สามารถเข้าทำงานได้ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิต และ ก ิจกรรมทุกประเภทที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเป็นระบบ ซึ่งต้องทำการบริหารคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การประหยัดต้นทุน และการส่งงานตรงเวลา เช่น งานธนาคาร กิจการขนส่ง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ตลาดกลางขายสินค้า ห้างสรรพสินค้า กิจการจัดจำหน่าย กิจการก่อสร้างและบริษัทที่ปรึกษาโดยเริ่มทำงานในตำแหน่งวางแผน งานควบคุมการผลิตและปฏิบัติการงานวิเคราะห์ระบบงาน / วิธีการ งานสินค้าคงคลัง งานจัดซื้อ เมื่อมีประสบการณ์เพียงพอก็อาจจะได้เลื่อนเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่อไป 
สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง 
    สาขาวิชานี้กำลังได้รับความสนใจจากหลาย ๆ ฝ่าย เพราะในปัจจุบันธุรกิจการขนส่ง และธุรกิจระหว่างประเทศกำลังพัฒนาไปอย่างรุดหน้า หน่วยงานหลายแห่งกำลังขาดแคลนบุคลากรทางด้านธุรกิจการขนส่งและ ธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ส่งผลให้ธุรกิจภายในประเทศต้องแข่งขันกับธุรกิจในประเทศ อื่น ๆ ซึ่งการศึกษาทางด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ก็จะช่วยสร้าง ผู้บริหารในการแข่งขันในเวทีระดับโลก 
    นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงหลักการและวิธีการในการดำเนินธุรกิจด้านการขนส่ง เช่น การขนส่งทางทะเลการขนส่งทางอากาศ การขนส่งหลายรูปแบบ รวมไปถึงการจัดทำระบบการจัดจำหน่าย การบริหาร Logistics และโซ่อุปทาน (Supply Chain) ได้เรียนรู้ถึงระบบการดำเนินการของธุรกิจระหว่างประเทศ และการบริหารบริษัทข้ามชาติ เป็นต้น 

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

    ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในธุรกิจนำเข้าและส่งออก หรือในองค์การที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งองค์การที่ให้บริการทางด้าน Logistics และสามารถเป็นผู้ควบคุมระบบการจัดจำหน่าย จัดซื้อ หรือกระบวนการผลิตภายในโรงงาน หรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจระหว่างประเทศ และการบริหารบริษัทข้ามชาติ เป็นต้น 

สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

    นักศึกษาของภาควิชาจะได้ศึกษาแนวคิดการออกแบบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร การบริหารจัดการระบบสารสนเทศตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน ์สู งสุด สำหรับองค์กร และจะเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและช่วยในการตัดสินใจในหน้าที่งานต่างๆ เช่น บัญชี การผลิต การตลาด 

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

    ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานเป็น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ผู้พัฒนาโปรแกรมระบบงาน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้านสารสนเทศ ผู้บริหารจัดการฐานข้อมูล ผู้บริหารจัดการ web site (Web master) ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และหน้าที่อื่นๆ ที่ใกล้เคียง ตลอดจนเป็นผู้มีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนาตนให้เป็นผู้บริหารหน่วยงานสารสนเทศในธุรกิจเอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานราชการ 

สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

    ที่ดิน อาคาร และอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินงานทั้งภาครัฐและเอกชน และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ประกอบกับการลงทุนต่าง ๆ ด้านอสังหาริมทรัพย ์เป็นจำนวนเงินสูง และผูกพัน ระยะยาว ต่อหน่วยงานนั้น ๆ เช่น การสร้างถนน การพัฒนาเมืองใหม่ โครงการอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องรู้ถึงกลไกลและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงได้มุ่งเน้นถึงทฤษฎี ทักษะ และแนวคิด การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบและการประยุกต์ใช้ในการวางกลยุทธ์ การดำเนินงาน และปรับตัวหาอสังหาริมทรัพย์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงต่อไป 

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

    สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชนด้านอสังหาริมทรัพย์ เช่น นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นักบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ นักประเมินมูลค่า บริหารทรัพย์สินสถาบันการเงิน ผู้จัดการดูแลทรัพย์สิน ผู้จัดการลงทุน นักวิเคราะห์และวิจัยในหน่วยงาน งานธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรึกษาการลงทุน การประเมินราคา กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ การรถไฟ บริษัทนายหน้าตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ทั้งนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ที่อยู่อาศัยแต่แผ่ไปถึงโรงแรม ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ฯลฯ 
หลักสูตรควบตรี - โท ( ระยะเวลาการศึกษา 5 ปี ) 
    หลักสูตรวิชาชีพบัญชีบัณฑิต และมหาบัณฑิต ( บูรณาการ ) 
     เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ .2547 โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการ ที่สอดคล้องและเป็นไปตามข้อบังคับของ International Education Standards for Professional Accountants ซึ่งออกโดย International Federation of Accountants ที่ต้องการให้การจัดการศึกษาวิชาชีพบัญชีเป็นมาตรฐานสากล โดยเน้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีความรู้และทักษะครอบคลุมด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีกระบวนการทดสอบความรู้ความสามารถอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังเน้นถึงการศึกษาต่อเนื่อง และการปฏิบัติงานระหว่างการศึกษา เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ผู้ที่จบการศึกษาวิชาชีพบัญชีสามารถนำวิชาความรู้และทักษะต่าง ๆ นี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงในโลกธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 
     หลักสูตรวิชาชีพบัญชีบัณฑิต และมหาบัณฑิต ( บูรณาการ ) เป็นหลักสูตรควบตรี - โท ที่มีระยะเวลาศึกษาปกติตามหลักสูตรประมาณ 5 ปี ออกแบบมาเพื่อการสร้างบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการในระดับสากล และมีทักษะที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพ ทั้งด้านการคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การติดต่อสื่อสาร และการจัดการโดยสามารถที่จะพัฒนาการเรียนรู้ต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีมีความรู้รอบ มีความคิดอ่านเป็นของตนเอง มีวิธีคิดและเครื่องมือต่างๆที่จะช่วยให้สามารถปรับตัวเข้าสู่โลกของการทำงานได้อย่างยืดหยุ่น และคล่องตัวในหน้าที่งานต่าง ๆ ในขณะที่การศึกษาในระดับปริญญาโทมุ่งให้เกิดความรู้ลึกในศาสตร์เฉพาะด้านของวิชาชีพบัญชี เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกไปรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่งานเฉพาะด้านในระดับสูงในองค์การประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้ หลักสูตรให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในห้องเรียน ควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในโลกการทำงานจริงของทั้งภาคธุรกิจ สังคม และชุมชน โดยมีการปลูกฝังจริยธรรม จิตสำนึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสังคม ให้กับบัณฑิตและมหาบัณฑิต ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรู้ และทักษะเพื่อการต่อยอดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองหลังจากสำเร็จการศึกษา 

หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต ( การจัดการแบบบูรณาการ ) และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

         เป็นหลักสูตรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการโดยนำปัญหาธุรกิจและการตัดสินใจของบริหารเป็นหลัก แล้วจัดเนื้อหาองค์ความรู้ในศาสตร์ด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องมาประสมประสานเพื่อการพัฒนาความรู้ และทักษะของนักศึกษาในการวิเคราะห์ปัญหา และการกำหนดทางเลือกเพื่อการตัดสินใจในทางธุรกิจ 
         หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต ( การจัดการแบบบูรณาการ ) และมหาบัณฑิต เป็นหลักสูตรควบตรี - โท ที่มีระยะเวลาศึกษาปกติตามหลักสูตรประมาณ 5 ปี เหตุผลสำคัญในการออกแบบ หลักสูตร ก็เพื่อสร้าง บัณฑิตที่มีความสามารถในการคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยสามารถที่จะพัฒนาการเรียนรู้ต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง มีวิธีคิดและเครื่องมือต่างๆที่จะช่วยให้สามารถปรับตัวเข้าสู่โลกของการทำงานได้อย่างยืดหยุ่น และคล่องตัวในหน้าที่งานและอุตสาหรรมต่างๆ มีการฝึกงานในลักษณะที่สอดคล้องกับนโยบายของ สกอ และการจัดทำโครงการอิสระด้านนวัตกรรมทางธุรกิจ ซึ่งจะทำให้นักศึกษา เข้าใจภาระความรับผิดชอบในโลกการ ทำงานจริงก่อนที่จะเข้าสู่หลักสูตรปริญญาโท การศึกษาในระดับปริญญาโทมุ่งให้เกิดความรู้สึกในศาสตร์เฉพาะด้านของการจัดการธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อม ในการออกไปรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าท ี่งานเฉพาะด้าน ในระดับกลาง - สูงในองค์การประเภทต่างๆ ซึ่งขณะนี้ผู้บริหารระดับกลางที่มีความสามารถและรู้ลึกเฉพาะทางเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในองค์กรต่าง ๆ ทั้งนี้ หลักสูตรให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในห้องเรียน ควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในโลกการทำงานจริงของทั้งภาคธุรกิจ สังคมและชุมชน ตลอดจนการเน้นให้นักศึกษา มีความเชี่ยวชาญไม่เฉพาะธุรกิจ ในประเทศแต่ยังครอบคลุมถึงความเข้าใจ ในธุรกิจระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย นอกจากนี้นักศึกษาจะถูกปลูกฝังเรื่องจริยธรรม และสำนึกความรับผิดชอบ ต่อสังคมที่ประสานไว้ในหลักสูตรผ่านหลายวิชา ทั้งธุรกิจกับสังคม ธรรมาภิบาล ตลอดจนโครงการรณรงค์ทางธุรกิจเพื่อสังคม และประเทศชาติ (Business-for-Society Campaign) ซึ่งช่วยตอกย้ำปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในความเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อประชาชน 

คณะรัฐศาสตร์

         เปิดสอนหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ( ร . บ .) ใน 3 สาขาวิชา คือ 

1. สาขาการเมืองการปกครอง

2. สาขาบริหารรัฐกิจ

3. สาขาระหว่างประเทศ

    จุดมุ่งหมาย 
    เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางรัฐศาสตร์ ทั้งทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ได้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ท ี่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมโดยส่วนรวมรวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว บัณฑิตจะได้รับการศึกษาทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฎิบัติเกี่ยวกับการปกครอง การบริหารรัฐกิจ และการระหว่างประเทศ เป็นการศึกษาในเชิงสหวิชา รวมทั้งสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยและการทดลองปฏิบัติงานในสายวิชาชีพที่เลือกในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน 
    การศึกษาในคณะรัฐศาสตร์ 
     ให้ความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้า และสร้างความรู้ด้วยตนเอง วิธีการเรียนจึงเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วม มีการร่วมค้นคว้าและวิเคราะห์เป็นกลุ่ม การจัดชั้นเรียนแบบการสัมมนาที่นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้คิดตั้งคำถาม ค้นคว้า ให้เหตุผล โต้แย้ง และนำเสนอความคิดเห็นของตน เพื่อฝึกฝนทักษะในการวิเคราะห์ 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา

    เราอยากได้นักศึกษาที่ช่างสงสัย เชื่ออะไรยาก ไม่ยอมรับอะไรอย่างปราศจากเหตุผล ชอบตั้งคำถาม เราอยากได้ผู้ที่สนใจปัญหาบ้านเมืองและสังคม ใส่ใจกับความเดือดร้อน ทุกข์สุขของผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคม การเรียนรัฐศาสตร์ไม่มีห้องปฏิบัติการเหมือนกับการเรียนในสายวิทยาศาสตร์ แต่เรามีห้องปฏิบัติการที่กว้างขวางอย่างยิ่งอยู่ที่สังคมรอบตัวเรา 

คณะเศรษฐศาสตร์

    เปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ( ศ . บ .) 

นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาเป็นที่ 1 ของคณะเศรษฐศาสตร์ และเลือก คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เ ป็นอันดับ 1 จะได้ทุนเรียนดีจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1. สาขาเศรษฐศาสตร์

2. สาขาเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ (BE. International Program)

    จุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษา 

1. เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจปัญหาพื้นฐานและกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของสังคมไทย

2. เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการใช้เหตุผลและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

3. เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความสำนึกต่อสังคมและมีความผูกพันในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย

4. เพื่อสนับสนุนให้บัณฑิตสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ตามถนัด เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสามารถศึกษาต่อได้ดีในระดับปริญญาชั้นสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์

    หลักสูตรได้จัดให้มีการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค และมีสาขาเฉพาะที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจและความถนัด 10 หมวดวิชา ได้แก่ 

1. เศรษฐศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

2. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

3. เศรษฐศาสตร์ปริมาณ

    - หมวดย่อยคณิตเศรษฐศาสตร์ 
    - หมวดย่อยเศรษฐมิติ 

4. เศรษฐศาสตร์การเงิน

5. เศรษฐศาสตร์การคลัง

6. เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

7. เศรษฐศาสตร์การพัฒนา

8. เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติ

    - หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ 
    - หมวดย่อยเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

9. เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม

10.เศรษฐศาสตรการเกษตร

    คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 
    ต้องเป็นผู้มีความคิดกว้างขวาง รักเรียน สนใจความเป็นมาของสังคม ไม่จำกัดเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจเท่านั้น มีความสามารถในการลำดับความคิดและมีวิจารณญาณดี นอกจากนี้จะต้องมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ และมีความรู้ภาษาอังกฤษพอสมควร เพื่อประโยชน์ในการศึกษาตำรา และบทความเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆจากต่างประเทศ 

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

    เปิดสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตร “ เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถบูรณาการองค์ความรู้ ทัศนคติ และทักษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ที่เชื่อมโยงการปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ มีความสามารถพัฒนากลวิธีการทำงานใหม่ ๆ และประยุกกต์เครื่องมือการทำงานทางวิชาชีพในการทำงานกับคน องค์กร ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค สากลรวมทั้งสามารถทำงานแบบสหวิชาชีพได้อย่างเหมาสม นอกจากหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตแล้ว คณะยังเปิดสอนหลักสูตรวิชาโท สำหรับนักศึกษาผู้สนใจได้เลือกศึกษาอีก 4 สาขา คือ สาขาการพัฒนาชุมชน สาขาการบริหารงานกระบวนการยุติธรรม สาขาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ และสาขาการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว 
    การศึกษาในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จะมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะภาคปฏิบัตินั้นนักศึกษาจะมีโอกาสศึกษาดูงาน สัมมนา และฝึกภาคปฏิบัติในหน่วยงาน ในชุมชนเมือง และชุมชนชนบท และเมื่อจบการศึกษาแล้ว จะมีโอกาสทั้งการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพต่างๆ กล่าวคือ 
    1. ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสาขาอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 
    2. ทำงานในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ นักสวัสดิการสังคม นักพัฒนาสังคม พนักงานฝ่ายบุคคล ฯลฯ ในหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เช่นกระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังสามารถนำความรู้ทางด้านสังคมสงเคราะห์ ไปประยุกต์ในการประกอบอาชีพอื่น ๆ และอาชีพอิสระได้อีกด้วย 

คณะศิลปศาสตร์

    เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตร์ ( ศศ . บ .) 14 สาขาวิชาเอก ดังนี้ สาขาวิชาจิตวิทยา บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาไทย ปรัชญา ภูมิศาสตร์ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษารัสเซีย 
    นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ ( ยกเว้นนักศึกษาที่สอบเข้าสาขาวิชาโดยตรง ) จะต้องเลือกเข้าสาขาวิชาเอกเมื่อได้ศึกษาไปแล้ว 1 ภาคการศึกษา โดยคณะศิลปศาสตร์ จะพิจารณาตามเกณฑ์ที่ สาขากำหนด 
    คณะศิลปศาสตร์มีโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและรัสเซีย โดยนักศึกษาที่ไปศึกษาที่ประเทศนั้น ๆ สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ จาก 14 สาขาวิชาเอกแล้ว คณะศิลปศาสตร์มีการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ( Southeast Asian Studies ) www.tu.ac.th/org/arts/seas และสาขาวิชารัสเซียศึกษา ( Russian Studies ) www.tu.ac.th/org/arts/ussr/cover/index.htm และ คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ โครงการอังกฤษ-อเมริกันศึกษา ( British and American Studies ) www.tu.ac.th/org/arts/bas ด้วย. 

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

    เปิดสอนหลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต ( ว . บ . ) ใน 6 สาขาวิชา คือ บริหารการสื่อสาร หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ประชาสัมพันธ์ โฆษณา ภาพยนตร์และภาพถ่าย 

จุดมุ่งหมาย

    เพื่อให้การศึกษา อบรม ฝึกฝนและวิจัยทางวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนแก่นักศึกษา ให้มีความรู้ ความชำนาญ สามารถวินิจฉัยและตัดสินปัญหาในสังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งเป็นผู้นำสังคม เข้าใจปรัชญาวิชาชีพวารสารศาสตร์ มีจริยธรรม และสำนึกต่อสังคม มีความรอบร้และทักษะในวิชาชีพ 
    โดยทางคณะได้เปิดการเรียนการสอน 6 กลุ่มวิชา ดังนี้ 
         1. กลุ่มวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ เน้นความรู้ทางด้านการรายงานข่าว การเขียนบทบรรณาธิการ บทความ สารคดี เทคโนโลยีทางการพิมพ์ การออกแบบจัดหน้าสิ่งพิมพ์กา รบรรณาธิการ ตลอดจนการ บริหารหนังสือพิมพ ์และ นิตยสาร 
         2. กลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ เน้นความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ นับตั้งแต่แต่การเขียนบท การละครและดนตรี แรผลิตรายการวิทยุ และโทรทัศน์ และการประกาศ ทางวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนการบริหารงานวิทยุและโทรทัศน์ 
         3. กลุ่มวิชาโฆษณา เน้นความรู้เกี่ยวกับหลักการโฆษณา การวางแผนสื่อโฆษณา การสร้างงานโฆษณา การเขียนแบบสร้างสรรค์ การออกแบบโฆษณา การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้รับสาร การจัดการ การผลิตงานโฆษณา การวิจัยการโฆษณา และการบริหารงานโฆษณา 
         4. กลุ่มวิชาประชาสัมพันธ์ เน้นความรู้ทางด้านการประชาสัมพันธ์ นับตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน การเขียน การเลือกใช้สื่อต่างๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์ของรัฐและธุรกิจ 
        5. กลุ่มวิชาภาพยนตร์ เน้นให้นักศึกษารู้จักภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลอย่างหนึ่งเรื่อยไป จนถึงการใช้สื่อเพื่อความบันเทิง รู้จักวิธีถ่ายทอดเรื่องราว ความคิด และจินตนาการออกมาเป็นภาพยนตร์ และการใช้ภาพยนตร์เพื่อสื่อความหมาย 
        6. กลุ่มวิชาบริหารการสื่อสาร เน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารการจัดการด้านการสื่อสาร ให้ศึกษาถึงเทคนิคและวิธีการวิเคราะห์ระบบ นโยบาย และการวางแผน การจัดการด้านการใช้สื่อการ ประเมินผลการสื่อสาร และการวางแผนการใช้สื่อเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อการพัฒนาองค์การการประชาสัมพันธ์ แลการพัฒนาประเทศ เป็นต้น 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา

   ควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร มีความคิดสร้างสรร กล้าแสดงออกช่างสังเกต มีบุคลิกที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ อดทน มีระเบียบวินัย สนใจศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่และทันต่อเหตุการณ์ 

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

    เปิดสอนหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต ( สม . บ . ) 
    สังคมวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาและอธิบายพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ด้วยวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ ศึกษารูปแบบกระบวนการและผลของการกระทำระหว่างกันของคนในสังคม ชุมชน องค์การ กลุ่มคนไปจน ถึงสถาบันสังคมแบบต่างๆ 
    มานุษยวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับตัวมนุษย์ ผลงานของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น ภาษา วัฒนธรรม ตลอดจน พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน 

ความมุ่งหมายของการศึกษา

1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสำรวจและวิจัยทางสังคม สถิติสังคม การสอนและการวางแผนพัฒนาสังคม ตอลดจนเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสังคม

2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ในด้านวัฒนธรรม เพื่อวางแผนพัฒนาคนในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ตลอดจนสามารถช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยและคนในสังคมชนบทได้

3. เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ความรู้ไปประกอบอาชีพในสายวิชาโดยตรง หรือเกี่ยวข้องได้ตามความต้องการของสังคม

ภาคปฏิบัติ

    คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีนโยบายให้นักศึกษาได้ออกไปดูงานและศึกษาชุมชนในแบบต่างๆ นอกสถานที่ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในระยะสั้น ๆ เพื่อช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจสภาวะทางสังคม ตามที่ได้เรียนมาในภาควิชาการได้อย่างถ่องแท้ สำหรับนักศึกษาที่มีความสนใจเกี่ยวกับการสำรวจและวิจัยทางสังคม จะมีโอกาสออกปฏิบัติงานวิจัยในสนามทั้งในและนอกเขตกรุงเทพนมหานคร เพื่อทดลองใช้ความรู้ ทางทฤษฎีวิจัยสภาพสังคมจริง ๆ ด้วยตนเอง หรืออาจจะฝึกฝนงานวิจัยร่วมกับโครงการสำรวจวิจัยของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเอง ซึ่งมีอยู่เป็นประจำก็ได้ 

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

    ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งานที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชานี้ โดยตรง ได้แก่ งานวิจัย งานด้านประมวลข้อมูลสถิติ งานด้านผังเมือง งานด้านพัฒนา งานคอมพิวเตอร์ งานด้านการวางแผน หรือวิเคราะห์นโยบายและงานสอนหนังสือ เป็นต้น ส่วนงานอื่นที่ไม่ได้ใช้ความรู้ทางสังคมวิทยาโดยตรงได้แก่งานฝึกอบรม หรือการประชุม งานบริหาร เช่นผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ งานข่าว เช่น พนักงานข่าวกรอง ผู้สื่อข่าวพนักงานวิทยุ งานธุรการ เช่น Receptionist เจ้าหน้าที่สโมสร งานฝ่ายบุคคลและงานสังคมสงเคราะห์ 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตราบัณฑิต ( วท . บ .) ใน 1 4 สาขาวิชา คือ 

1. สาขาวิชาศาสตร์คอมพิวเตอร์

2. สาขาวิชาสถิติ

3. สาขาวิชาคณิตศาสตร์

4. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

5. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

6. สาขาวิชาเทคโนโลยีชนบท

7. สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

8. สาขาวิชาเคมี

9. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

10. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์

11. สาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์

12. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

13. สาขาวิชาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ

14. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์

    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ของแต่ละสาขาวิชาที่สอบได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด เมื่อสิ้นปีการศึกษา เป็นเงิน 15,000 บาท โดยต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 

หลักสูตรภาคพิเศษ

1. สาขาวิชาศาสตร์คอมพิวเตอร์

2. สาขาวิชาสถิติ

3. สาขาวิชาคณิตศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรภาษาไทย

    หลักสูตรภาคปกติ 

1. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

2. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

3. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

4. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

5. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

6. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน (TEP) 
    1. หลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งน้อตติ้งแฮม 

1.1 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

1.2 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

1.3 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

1.4 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

1.5 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

1.6 สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

    2. หลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งรีไจน่า 

2.1 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

2.2 สาขาวิชาวิศวกรรมอุสาหการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังฤษ

1. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

2. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม

3. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

4. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

5. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

     หลักสูตรภาษาอังกฤษ 
    1. โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน (Twinning Engineering Programmes:TEP) เป็นโครงการความ ร่ว มมือในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่ง น้อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประมาณ 2 ปี แล้วไปศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัย น้อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ อีก 2 ปี โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อสำหรับการเรียนการสอน หลังสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญาจากทั้งสองสถาบัน สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมอุตสาหการ 
    2. โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat English Programme of Engineering:TEPE) เป็นโครงการผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาตร ีทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ ศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดหลักสูตร โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อสำหรับการเรียนการสอน สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมอุตสาหการ 

อัตราค่าธรรมเนียมในระหว่างที่ศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( เฉพาะหลักสูตรภาษาอังกฤษ )

1. ค่าจดทะเบียนศึกษาลักษณะวิชา หน่วยกิตละ 2,000 บาท

2. ค่าธรรมเนียมพิเศษ ภาคการศึกษาละ 15,000 บาท

    อัตราค่าธรรมเนียมในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งน้อตติ้งแฮม เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยแห่งน้อตติ้งแฮมกำหนด 

คณะแพทยศาสตร์

1. สาขาวิชาแพทยศาสตร์ ( หลักสูตร 6 ปี )

2. สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ( หลักสูตร 4 ปี )

สาขาวิชาแพทยศาสตร์

ปรัชญาและความมุ่งหมาย

     มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ ที่จะไปปฏิบัติงานได้ในชุมชนต่างๆ ของประเทศไทย และในขณะเดียวกันหลักสูตรจะสร้างทักษะ และ เจตคติที่ทำให้แพทย์ที่สำเร็จจากหลักสูตรน ี้สามารถ ใช้ความคิด ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน มีความคิดอย่างวิทยาศาสตร์ สามารถถกวิเคราะห์วิจารณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะองค์รวม (Holistic approach) และกระตือรือร้น ต่อการ แสวงหาความร ู้ใหม่ ่ด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา มีคุณธรรมและ จริยธรรมอันเหมาะสมกับวิชาชีพ 

ลักษณะทั่วไปของหลักสูตร

     หลักสูตรปีที่ 1 ประกอบด้วย วิชาพื้นฐานทั่วไป วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมไม่ต่ำกว่า 40 หน่วยกิต หลักสูตรชั้นปีที่ 2 – 6 จะเป็นหลักสูตรบูรณาการ (integration) ของเนื้อหา วิชาการแพทย ์พื้นฐาน และทางคลินิก พร้อมกับมีบูรณาการระหว่างเนื้อหาวิชาการด้านชีววิทยา พฤติกรรมมนุษย์และสังคมร่วมไปด้วยอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรเน้นที่การให้บริการสุขภาพ (Health care) ทุกชนิด ได้แก่ การรักษา การป้องกัน การส่งเสริม และการฟื้นฟูสุขภาพให้กับบุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยจะเน้นการศึกษาที่ชุมชน (community – based) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตรจะจัดโดยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (problem – based learning) การเรียนการสอนจะเรียนเป็น กลุ่มย่อย ประมาณกลุ่มละ 6 – 8 คน เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้ซักถาม อภิปรายในการเรียนรู้ ปัญหาที่นำมาใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้จะใช้ปัญหาจริงทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศทุกระดับ หลักสูตรจะช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และกำกับตนเองในการศึกษา (self-directed learning) โดยจัดหาศูนย์บริการวิชาการ (learning resource center) ที่สมบูรณ์ด้วยตำรา วารสาร และสื่อการสอนประเภทต่างๆ ไว้ให้ 

แนวทางในการประกอบวิชาชีพและศึกษาต่อ

     แพทย์ทุกคนเมื่อจบการศึกษาแล้ว จะต้องไปทำงานใช้ทุนให้กับรัฐบาล 3 ปี ซึ่งส่วนมากจะถูกส่งไปทำงานในท้องที่ชนบทหลักสูตรนี้จึงจัดขึ้น เพื่อผลิตแพทย์พื้นฐาน  ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะ ที่จะไปปฏิบัติงาน ได้ในทุกชุมชนของประเทศ มีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐาน พอเพียงที่จะศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางได้เมื่อต้องการ 
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ 

ปรัชญาหลักสูตร

     หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มุ่งผลิตบุคลากรวิชาชีพในการประกอบโรคศิลปะที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนแบบองค์รวม ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาลและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ร่วมกับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาประยุกต์ใช้ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ ควบคู่กับจริยธรรม และคุณธรรมในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างเสริมสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยตระหนักถึงพฤติกรรมมนุษย์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาไทย 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     1. มีความรู้ ความสามารถในการตรวจวินิจฉัยอาการและให้การรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ครอบคลุมทั้ง ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย หัตถเวชกรรมไทย และผดุงครรภ์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์รองรับ รวมทั้งสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม 
    2. มีทักษะและศักยภาพในการรักษาโรค สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในอาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้แก่บุคลาก รทางการแพทย์ และประชาชนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน 
    3. มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Life long learning) มีศักยภาพในการวิจัยเพื่อพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยได้อย่างเป็นระบบครบวงจร และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ 
    4. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความคิดริเริ่ม อดทน ขยันหมั่นเพียร ประหยัด มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ ดำรงตน อยู่บนพื้นฐาน แห่งคุณธรรมและกฎหมาย สามารถปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองดี ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 

แนวทางการประกอบวิชาชีพ

- มีสิทธิ์สอบใบประกอบโรคศิลปะ สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ ประเภทเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทยและการนวดไทย

- สามารถเข้าทำงานในโรงพยาบาลและหน่วยงานด้านสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและเอกชน

- สามารถเป็นผู้ประกอบธุรกิจการบริการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย และผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ และสปา

- นักพัฒนาด้านการฝึกอบรมและเผยแพร่ในองค์กรเอกชน มูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์ และเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย

- สามารถศึกษาต่อระดับปริญญา โท – เอก ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

คณะสหเวชศาสตร์

     เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาเทคนิคการแพทย์และสาขากายภาพบำบัด 
    1. สาขาเทคนิคการแพทย์ หลักสูตรการศึกษา 4 ปี โดยศึกษาวิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต วิชาเฉพาะพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 22 หน่วยกิต วิชาพื้นฐาน ทางการแพทย ์และ วิชาชีพ จำนวน 82 หน่วยกิต วิชาบังคับนอกสาขาจำนวน 3 หน่วยกิต และวิชาเลือกเสรีจำนวน 6 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 143 หน่วยกิต เมื่อสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรจะได ้รับ ปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เทคนิคการแพทย์ ) Bachelor of Science (Medical Technology) หรือ วท . บ . ( เทคนิคการแพทย์ ) B.Sc. (Medical Technology) สามารถสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขา เทคนิคการแพทย์ จากสภาเทคนิคการแพทย์ ของกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อประกอบวิชาชีพในห้องปฏิบัติการของสถานพยาบาล
    2. สาขากายภาพบำบัด หลักสูตรการศึกษา 4 ปี โดยศึกษาวิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต    วิชาเฉพาะพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน 15 หน่วยกิต วิชาพื้นฐานทางการ แพทย์และวิชาชีพจำนวน 87 หน่วยกิต วิชาบังคับนอกสาขาจำนวน 5 หน่วยกิต และวิชาเลือกเสรีจำนวน 6 หน่วยกิต ศึกษาวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมง รวมจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 143 หน่วยกิต เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ( กายภาพบำบัด ) Bachelor of Science (Physical Therapy) หรือ วท . บ . ( กายภาพบำบัด ) B.Sc. (Physical Therapy) สามารถสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขากายภาพบำบัด ของกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข 

คณะทันตแพทยศาสตร์

    เปิดสอนหลักสูตรทันตแพทยศาสตร บัณฑิต (ท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี โดยศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป 1 ปี วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน 2 ปี และวิชาชีพเฉพาะ 3 ปี โดยจัดการเรียนการสอนด้วยระบบการใช้ปัญหาเป็นหลัก 

( Problem-based learning ) และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

    ในปีการศึกษา 2549 คณะทันตแพทยศาสตร์กำหนดรับผู้สมัครผ่านระบบการคัดเลือกกลาง รวม 2 กลุ่ม ดังนี้ 

1. กลุ่มคัดเลือกผ่านระบบกลางทั่วไป ได้แก่นักเรียนผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( กลุ่มสอบคัดเลือกเดิม หรือ การสอบ entrance เดิม)

2. กลุ่มโครงการผลิตทันตแพทย์เพิ่มของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข (โครงการผลิตทันตแพทย์เพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ) ตามนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ปัญหา การขาดแคลนทันตแพทย์ในเขตชนบท มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกนักเรียนผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากเขตชนบทที่ขาดแคลนทันตแพทย์เข้าศึกษาและกลับไปปฏิบัติงาน ณ ภูมิลำเนาเดิมหลังสำเร็จการศึกษา ดังนั้น ทันตแพทย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาตามโครงการนี้ จะต้องกลับไปปฏิบัติงานในเขตชนบทหลังจากสำเร็จการศึกษาตามเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ไม่สามารถเลือกพื้นที่ปฏิบัติงาน ด้เช่นเดียวกับ ทันตแพทย์ คู่สัญญาตามระบบปกติ และอาจไม่สามารถประกอบวิชาชีพทันตกรรมนอกพื้นที่ที่กำหนดได้

คณะพยาบาลศาสตร์

    หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตร 4 ปี โดย ปีที่ 1 ศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ วิชาพื้นฐานของวิชาชีพพยาบาล และวิชาทางด้าน วิชาชีพ 2 วิชาปีที่ 2 ศึกษาวิชาพื้นฐาน ของวิชาชีพ พยาบาล และวิชาทางด้านวิชาชีพ เป็นส่วนใหญ่ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติใน  ห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลและชุมชน  ปีที่ 3-4 ศึกษาวิชาทางด้านวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลและชุมชน ภายหลังจากสำเร็จ การศึกษาตามหลักสูตร จะได้รับปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต และผู้สำเร็จการศึกษาที่ต้องการประกอบวิชาชีพพยาบาล จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการพยาบาล และการผดุงครรภ์ชั้น1 จากสภา การ พยา บาล

จุด มุ่งหมาย

    หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมุ่งผลิตบัณฑิตพยาบาล เพื่อให้การพยาบาลและแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ตั้งแต่ภาวะสุขภาพดีจนถึงเจ็บป่วยในภาวะวิกฤติ การปฏิบัติการพยาบาลจะใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ วิจารณญาณ ทักษะและจริยธรรม โดยผสมผสานบทบาทการพยาบาล 4 บทบาท คือ บทบาทด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและความเจ็บป่วย การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสภาพ
    นอกจากนี้ หลักสูตรยังมุ่งเน้นให้บัณฑิตพยาบาลสามารถบริหารจัดการ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม มีความกระตือรือร้น ที่จะพัฒนา ตนเอง อย่างต่อเนื่อง สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อตนเอง วิชาชีพและประเทศชาติ
    บัณฑิตพยาบาลที่จบหลักสูตรนี้ จะมีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานเพียงพอที่จะไปปฏิบัติงานได้ทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนต่าง ๆ ของประเทศ 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา

    มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว หรือ ความพิการ ทุพพลภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะเป็นพยาบาล มีความอดทน เสียสละ ไม่ย่อท้อ ไม่จำกัดเพศ พยาบาล ชายม ีแนวโน้ม เป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะในชุมชน 

คณะศิลปกรรมศาสตร์

    เปิดสอนหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ( ศป . บ. ) ใน 3. สาขาวิชา คือ 

1. สาขาวิชาการละคอน

2. สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์

3. สาขาวิชาศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม

สาขาวิชาการละคอน (Drama)

จุดมุ่งหมาย

    1. ให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการละคอน วรรณกรรมการละคอนของตะวันตก ตะวันออกและไทย เพื่อส่งเสริมแนวความคิดและวิจารณญาณอันเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจและการวิเคราะห์วิจารณ์ การแสดง หรือละคอนประเภทต่างๆ ทั้งละคอนเวที ละคอนเพื่อการศึกษา ละคอนสำหรับเด็กและเยาวชน การแสดงพื้นบ้านและอื่นๆ 
    2. ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติฝึกฝนในศิลปะการสร้างละคอนแขนงต่างๆ ได้แก่ การแสดง การกำกับการสแสดง การออกแบบและสร้างฉาก เครื่องแต่งกาย การออกแบบและควบคุมแสงเสียง เทคนิคและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมพื้นฐานทักษะ และบุคลิกภาพที่จำเป็นต่อการสร้างเสริมประสิทธิภาพของงานการแสดงละคอน และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

อนาคตกับการทำงาน

    องค์ความรู้ของการศึกษาในสาขาการละคอน และสาขาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างการ ใช้ความคิดได้อย่างอิสระบนพื้นความรู้ที่เพียงพอ ต่อการออกแบบ และเลือกสรรงานศิลปะด้วยรสนิยมที่ดีจากการปลูกฝังความรู้ด้วยวิชาการ และการเรียนรู้กระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอนด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา ทักษะการ ทำงาน ที่นักศึกษาได้ฝึกฝนผ่านกระบวนการเรียนการสอนของทั้ง 2 สาขาวิชา ได้ส่งเสริมให้นักศึกษามีสายงานอาชีพที่หลากหลาย 

อาชีพภายหลังจบการศึกษา

- งานวิชาการด้านศิลปะการการละคอน

- กำกับการแสดง ละคอนเวที / โทรทัศน์

- งานสร้างสรรค์บทสำหรับการแสดง

- ออกแบบควบคุมแสง เสียง และทคนิคพิเศษ

- งานบริหารจัดการการแสดง

- งานโฆษณา ประชาสัมพันธ์

- สื่อมวลชน

- นักแสดง นักพากย์

- งานอิสระ

- งานอื่นๆ ที่วิชาการละคอนมีส่วนเกี่ยวข้อง

สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ 
    จุดมุ่งหมาย 

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของสิ่งทอและเครื่องแต่งกายของไทย เอซีย เอเซียอาคเนย์ กลุ่มประเทศ อาเซียน และตะวันตก

2. ความเชี่ยวชาญทางทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับศาสตร์และศิลปะของสิ่งทอ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครื่องแต่งกาย

3. มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะการออกแบบสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมระดับต่างๆ สามารถสืบทอดมรดกศิลปะสิ่งทอของไทย โดยสามารถสร้างสรรค์พัฒนาให้เข้ากับยุคสมัย และความต้องการของตลาดปัจจุบัน ทั้งใ นประเท ศ และต่างประเทศ

4. มีความรู้ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์ ที่จำเป็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพื่อเสริมสร้างให้สามารถออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น ให้แก่อุตสาหกรรมระดับสูงได้มาตรฐานสากล

5. มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ การตลาด การเสนอผลงานต่อบริษัท ร้านค้าและนักลงทุนอุสาหกรรมและได้รับการฝึกอบรมในธุรกิจระดับต่างๆ

6. มีความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งทอ และเครื่องแต่งกายของท้องถิ่นต่างๆ หรือภาคพื้นที่สำคัญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวง วิชาการและเพื่อเผยแพร่ความร ู้ให้แก่สาธารณชน แต่ละภาคนักศึกษา จะทำ การวิจัยค้นคว้าหาข้อมูลในชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ในโครงการ (Studio Projec) ของกลุ่มหรือบุคคล

อาชีพภายหลังจบการศึกษา

- งานวิชาการด้านศิลปะสิ่งทอและการออกแบบ

- ออกแบบสิ่งทอ

- ออกแบบผลิตภัณฑ์

- ออกแบบงานแสดงผลงานศิลปะ ผลิตภัณฑ์และสินค้า

- งานบริหารจัดการในห้องแสดงผลงานหรือพิพิธภัณฑ์

- ออกแบบแฟชั่น

- งานบริหารจัดการในธุรกิจสิ่งทอ และเครื่องแต่งกายและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความสามารถในการออกแบบและเลือกสรรในมุมมองของศิลปะ

สาขาวิชาศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม

1. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรมที่มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานและองค์ความรู้ด้านศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม ตลอดจนการ

3. เพื่อให้บริการวิชาการด้านศิลปะการออกแบบหัตถอุตสากรรมแก่สังคม อันจะทำเกิดการพึ่งตนเองและความเข้มแข็งของชุมชน รวมถึงการยกฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ให้ดีขึ้นตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาที่ยั่งยืน

4. เพื่ออนุรักษ์และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทย

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา

    ควรเป็นผู้ที่มีใจรักและสนใจ รวมทั้งมีความถนัดทางด้านศิลปะ มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ตลอดจนทักษะในด้านการออกแบบต่างๆ 

อาชีพภายหลังจบการศึกษา

- เป็นอาจารย์หรือผู้สอนในสถาบันการศึกษา

- เป็นนักออกแบบ หรือ Designer อิสระ

- เป็นนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เครื่องหนัง เครื่องประดับ ฯลฯ

- เป็นนักออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์

- เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SME ) ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และการผลิตสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะสินค้า OTOP

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน สาขาวิชาการผังเมือง


คณะสาธารณสุขศาสตร์

    เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ( วิทยาศาสตร์สุขภาพ ) ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการทำงานด้านสาธารณสุข สามารถประยุกต์ความรู้เพื่อพัฒนางานสาธารณสุข ให้ก่อเกิดการป้องกัน การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยแก่ประชาชนและสังคม โดยเน้นความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความคิดสร้างสรรค์สามารถปฏิบัติงานและประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
    การศึกษาในคณะสาธารณสุขศาสตร์ จะมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยภาคปฏิบัตินั้นจะมีทั้งในและนอกสถานที่ อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานราชการ ( อบต. เทศบาล ฯลฯ ) และนอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานั้น ๆ 

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( Sirindhorn International Institute of Technology, Thammasat University)

    สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดหลักสูตรนานาชาติ 9 สาขาวิชาโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน ตลอดหลักสูตร 

รับนักศึกษา โดยผ่านการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

    - หลักสูตร ที่ 1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ( วศ . บ .) ประกอบด้วย 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิศวกรรมการสื่อสาร สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ โดยใช้ เกณฑ์ในรูปแบบที่ 3 วิศวกรรมศาสตร์ 
    - หลักสูตร ที่ 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสน สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยใช้ เกณฑ์ในรูปแบบที่ 2 วิทยาศาสตร์ 
   - หลักสูตร ที่ 3 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ) ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ วิศวกรรม โดยใ ช้เกณฑ์ในรูปแบบที่ 2 วิทยาศาสตร์ 
    - หลักสูตรที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ( วท.บ.) ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา คือสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ 

สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม โดยใช้เกณฑ์ในรูปแบบที่ 6 กลุ่มย่อย 6.1 บริหารธุรกิจพาณิชยศาสตร์ บัญชี เศรษฐศาสตร์

วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

    วิทยาลัยสหวิทยาการ จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา สหวิทยาการสังคมศาสตร์ Bachelor of Arts ( Interdisciplinary Studies of Social Science ) มีวัตถุประสงค์ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในลักษณะสหวิทยาการ ที่สามารถจัดการกับปัญหาและมุ่งพัฒนาสังคมภายใต้สภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน มีกลุ่มวิชาเอกให้เลือกได้ 2 โปรแกรมวิชา คือ 

1. อาณาบริเวณศึกษาอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ( Mekong Sub - region Study )

    เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ศักยภาพด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( ไทย ลาว จีนตอนใต้ เวียดนาม พม่าและกัมพูชา ) รวมไปถึงบทบาทของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ 

2. การจัดการทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรม ( Social Cultural Resource Management )

    เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นแนวคิด โครงสร้าง เนื้อหาในการจัดการทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรม อาทิ การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น การสร้างเสริมภูมิปัญญาไทย 

รวมถึงการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาประเทศที่ส่งผลต่อชุมชนท้องถิ่น

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com