Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ปางสมาธิ - วิกิพีเดีย

ปางสมาธิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิ (ปางตรัสรู้)
ลักษณะพระพุทธรูปปางสมาธิ (ปางตรัสรู้)

ปางสมาธิ เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท(เท้า)ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย)จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบทประทับนั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกันซึ่งเรียกว่า(ปางขัดสมาธิเพชร)

สารบัญ

[แก้] ประวัติความเป็นมา

เป็นท่านั่งสมาธิหลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดพระยามาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก (ปางมารวิชัย) ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลส บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน ซึ่งเป็นส่วนของรูปสมาบัติ ที่เรียกว่า "เข้าฌานสมาบัติ" จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์วิปัสสนา จนได้บรรลุ "ญาณ" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "อภิญญาญาณ" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ 3 ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "บุพเพนิวาสานุสติญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "อาสวักขยญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจสี่ คือความทุกข์ (ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) วิธีดับทุกข์ (มรรค) และกำจัดอวิชชาไปจนสิ้นจากกมลสันดาน

[แก้] ความเชื่อและคตินิยม

  1. เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดี
  2. พระคาถาบูชา สวด 19 จบ
ปูเรนตัม โพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะราฯ
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมะ มันตินติ อักขาตัง ปะริตตัน ตัมภะฌามะเหฯ

[แก้] พระพุทธรูปที่แสดงปางนี้

[แก้] อ้างอิง

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  2. เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  3. สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  4. ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
  5. เว็บไซตธรรมะไทย
  6. เว็บไซตเล็กพลูโต
  7. เว็บไซตบ้านฝัน


พระพุทธรูปปางต่าง ๆ

ขัดสมาธิเพชร | ขับพระวักกลิ | ขอฝน | จงกรมแก้ว | ฉันสมอ | ชี้มาร | ชี้อัครสาวก | ชี้อสุภะ | ถวายเนตร | ทรงจีวร | ทรงตัดเมาลี | ทรงทรมานช้างนาฬาคิรี | ทรงทรมานพระยาวานร | ทรงพยากรณ์ | ทรงพระสุบิน | ทรงพิจารณาชราธรรม | ทรงรับผลมะม่วง | ทรงรับมธุปายาส | ทรงรับหญ้าคา | ทรงรับอุทกัง | ทรมานพระยามหาชมพู | บำเพ็ญทุกรกิริยา | นาคปรก | นาคาวโลก | ปฐมเทศนา | ปฐมบัญญัติ | ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท | ประทับเรือขนาน | ประทานเอหิภิกขุ | ประทานธรรม | ประทานพร | ประทานอภัย | ประสานบาตร | ประสูติ | ปรินิพพาน | ปลงอายุสังขาร | ปัจเจกขณะ | ป่าเลไลย | ปลงกรรมฐาน | ปาฏิหาริย์ | เปิดโลก | โปรดพกาพรหม | โปรดพุทธบิดา | โปรดพุทธมารดา | โปรดสัตว์ | โปรดสุภัททปริพาชก | โปรดองคุลีมาลโจร | โปรดอสุรินทราหู | โปรดอาฬาวกยักษ์ | พระเกศธาตุ | ภัตตกิจ | มหาภิเนษกรมณ์ | มารวิชัย | รับสัตตูก้อนสัตตูผง | รำพึง | เรือนแก้ว | ลอยถาด | ลีลา | สนเข็ม | สมาธิ | สรงน้ำฝน | เสด็จลงจากดาวดึงส์ | เสวยมธุปายาส | แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ | แสดงโอฬาริกนิมิต | แสดงยมกปาฏิหาริย์ | ห้ามญาติ | ห้ามพยาธิ | ห้ามพระแก่นจันทร์ | ห้ามมาร | ห้ามสมุทร | อุ้มบาตร| อธิษฐานเพศบรรพชิต


 ปางสมาธิ เป็นบทความเกี่ยวกับ พระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ปางสมาธิ ในภาษาอื่น สามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ๆ ด้านซ้ายมือ
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com