Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ประจันตคีรีเขตร์ - วิกิพีเดีย

ประจันตคีรีเขตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการ จัดรูปแบบ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน
คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้! โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นจัดหน้าให้เหมาะสม แบ่งหัวข้อ ทำลิงก์ภายในสำหรับคำสำคัญ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การแก้ไขหน้า การแก้ไขหน้าพื้นฐาน และ นโยบายวิกิพีเดีย


สารบัญ

[แก้] ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2398 (จ.ศ. 1217) ซึ่งเป็นปีที่ 5 แห่งการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้มีพระบรมราชโองการให้ตั้งเกาะกง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองตราด ขึ้นเป็นเมืองใหม่ โดยพระราชทานนามเมืองนี้ว่า เมืองปัจจันตคีรีเขตต์

เมื่อจัดตั้งเมืองนี้ขึ้นมาแล้ว เมืองปัจจันตคีรีเขตต์จึงเป็นเมืองหน้าด่านแทนเมืองตราด เพราะเป็นเมืองที่มีเขตติดต่อกับเขมรและญวน ในปี พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์จัดตั้งสถานีทหารเรือขึ้นตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก สถานีทหารเรือในครั้งนั้นได้จัดตั้งขึ้นที่เมืองชลบุรี บางพระ อำเภอบางละมุง เมืองระยอง เมืองแกลง เมืองจันทบุรี อำเภอขลุง เมืองตราด เมืองปัจจันตคีรีเขตต์ และเกาะเสม็ดนอก ซึ่งจากผลการดำเนินงานนี้ที่ให้เมืองตราดและเมืองปัจจันตคีรีเขตต์กลายสภาพมาเป็น "สเตชั่นทหารเรือ" สำหรับเป็นด่านป้องกันภัยที่จะคุกคามจากฝรั่งเศสทางทะเล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ฝรั่งเศสได้เริ่มดำเนินการทางทหารใช้กำลังเข้าบีบบังคับไทย โดยยกกองทัพมาเข้าขับไล่ทหารไทยให้ถอยร่นออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและส่งเรือรบเข้ามาจอดอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำให้ความยุ่งยากทางชายแดนไทยเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาเขตขึ้น และจัดกองบัญชาการทัพออยู่ตามหัวเมืองชายทะเลแต่ละด้านขึ้นด้วย

ทางด้านหัวเมืองฝ่ายตะวันออกซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศ (เดิมขึ้นกรมท่า) นั้น ในปี พ.ศ. 2436 ได้แต่งตั้งให้พลเรือจัตวาพระยาชลยุทธโยธินทร์ (ANDER DU PLESSIS DE RICHELIEU) เป็นผู้จัดการป้องกันพระราชอาณาเขตทางหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ทางกระทรวงการต่างประเทศได้มีคำสั่งมายังผู้ว่าราชการเมืองแถบนี้ ซึ่งรวมทั้งเมืองตราดด้วย ให้ช่วยพระยาชลยุทธโยธินทร์จัดการทุกอย่างที่เกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาเขต

สำหรับด้านเมืองตราดและเกาะกงนั้น ปรากฏตามหนังสือของพระยาชลยุทธโยธินทร์ ซึ่งนำขึ้นกราบทูลเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2436 ว่า "ที่เกาะกงจัดทหารมะรีน (ทหารเรือ) จากกรุงเทพฯ 14 คน ทหารจากเมืองตราด 24 คน ทหารจากเมืองแกลง 12 คน รวม 50 คน แจกปืนเฮนรีมาตินี 100 กระบอก กระสุนพร้อม ที่แหลมงอบจัดทหารไว้ 200 คน พร้อมที่ส่งไปช่วยทางเกาะกง ถนนระหว่างแหลมงอบกับเมืองตราด มีสภาพไม่ดีให้บ้านเมืองเร่งซ่อมถนนให้เร็วใน 1 เดือน พอให้เกวียนเดินได้ ที่แหลมงอบนี้จ่ายเป็นเฮนรีมาตินี 288 กระบอก กระสุนพร้อม

[แก้] การเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่ฝรั่งเศส

ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสได้เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะเข้ายึดครองดินแดนของประเทศไทยให้ได้ในที่สุด ดังเช่นได้กระทำจนเป็นผลสำเร็จมาแล้วในญวน เขมร และลาว ซึ่งในที่สุดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบให้เมืองตราด ต้องตกอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศสก็อุบัติขึ้น

[แก้] มูลเหตุของการยึดครอง

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ฝ่ายไทยปฏิบัติตามเมื่อ 20 กรกฎาคม โดยให้เวลาตอบ 48 ชั่วโมง ฝ่ายไทยได้ตอบข้อเรียกร้องเมื่อ 22 กรกฎาคม แต่ไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายฝรั่งเศส ดังนั้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ฝรั่งเศสจึงประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ในวันที่ 26 กรกฎาคม ฝรั่งเศสสั่งผู้บัญชาการกองเรือภาคตะวันออกไกลปิดล้อมอ่าวไทย ตั้งแต่แหลมเจ้าลายถึงบริเวณแหลมกระบัง และในวันที่ 29 กรกฎาคม ฝรั่งเศสได้ประกาศปิดล้อมอ่าวไทยครั้งที่ 2 โดยขยายเขตเพิ่มบริเวณเกาะเสม็ด จนถึงแหลมลิง รวม 2 เขต

ในวันเดียวกัน ฝ่ายไทยจำต้องยอมรับคำขาดของฝรั่งเศสที่ยื่นไว้แต่เดิม แต่ในวันรุ่งขึ้นฝรั่งเศสถือโอกาสยื่นคำขาดเพิ่มเติมอีก โดยประกาศยึดปากน้ำและเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน และบังคับให้ไทยถอนตัวออกจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอีกด้วย ไทยจำเป็นต้องยอมรับโดยไม่มีทางเลือก เมื่อฝ่ายไทยปฏิบัติตามคำขาดนั้นแล้ว ฝรั่งเศสจึงได้ยกเลิกการปิดอ่าวในวันที่ 3 สิงหาคม เวลา 12.00 น. แต่การยึดปากน้ำและเมืองจันทบุรียังคงยึดไว้ตามเดิม

ต่อมาได้มีการทำสัญญาสงบศึกกันโดยหนังสือสัญญาฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ในหนังสือสัญญาฉบับนี้ มีข้อความระบุไว้ในอนุสัญญาผนวกต่อท้ายหนังสือสัญญาข้อ 6 ว่า "คอนเวอนแมนต์ (CONVORNMENT) ฝรั่งเศสจะได้ตั้งอยู่ต่อไปที่เมืองจันทบุรี จนกว่าจะได้ทำการสำเร็จแล้วตามข้อความในหนังสือสัญญานี้…"

แม้ทางฝ่ายไทยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ฝรั่งเศสบีบบังคับไว้แล้ว ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหาร ยังคงยึดจันทบุรีไว้อีกเป็นเวลานานถึง 10 ปี เป็นเหตุให้ต้องมีการตกลงทำสัญญาขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่งคือ อนุสัญญาลงวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2445 (ร.ศ. 121) แต่หนังสือฉบับนี้ฝรั่งเศสไม่ยอมให้สัตยาบันและไม่ถอนกำลังออกจากจันทบุรี จึงได้ตกลงมีสัญญาต่อมาอีก คือ สัญญาลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) คราวนี้ฝรั่งเศสจึงถอนกำลังออกจากจันทบุรี

[แก้] ฝรั่งเศสยึดครองเมืองตราดและปัจจันตคีรีเขตต์

ย่างเข้าปี ร.ศ. 122 แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์นั้นเอง ฝรั่งเศสได้ให้สัตยาบันที่กรุงปารีสเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2447 มีผลให้เมืองตราดและบรรดาเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปซึ่งรวมถึงเกาะกง ต้องตกไปเป็นของฝรั่งเศส จากหลักฐานสัญญาลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ไม่มีข้อความใดระบุการครอบครองจังหวัดตราดไว้เลย แต่ในข้อ 3 แห่งสัญญาระบุไว้ว่า รัฐบาลฝรั่งเศสและรัฐบาลไทยต่างจะตั้งข้าหลวงผสมกันออกไปทำการกำหนดเขตแดน พระบริหารเทพธานี กล่าวอ้างไว้ว่า ได้มีการกำหนดปักปันเขตแดนกันตรงแหลมลิง (ในตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ) จึงดูเหมือนว่าฝรั่งเศสได้สิทธิในการครอบครองเมืองตราดแทนจันทบุรี

เมื่อข่าวการยึดครองของฝรั่งเศสแพร่สะพัดรู้ไปถึงราษฎร ต่างก็ตกใจและเกิดการอพยพ แต่ด้วยเดชะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถและทอดพระเนตรเหตุการณ์ไกล จึงได้พยายามทุกวิถีทางที่จะเกิดความสงบเรียบร้อยภายในบ้านเมือง ความพยายามของพระองค์ท่านที่จะประวิงเวลาให้เมืองตราดคงอยู่ในพระราชอาณาจักรไร้ผล ในที่สุดฝ่ายไทยจึงต้องมอบเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศสแน่นอน ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2447

ได้มีพิธีส่งมอบเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส จากหลักฐานของพระบริหารเทพธานี บันทึกไว้ว่าพระยาศรีสหเทพและที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย (มิสเตอร์โรบินส์) เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยมอบเรสิดังต์เดอฟอริงลิมง ข้าหลวงฝ่ายฝรั่งเศสเป็นผู้รับมอบ ได้กระทำพิธีมอบที่หน้าเสาธงซึ่งอยู่หน้าศาลากลางที่พระยาพิพิธฯ สร้างไว้ โดยมีทหารฝ่ายละ 1 โหล มอบวันที่ 30 ธันวาคม เวลาเที่ยงวัน มีข้าราชการฝ่ายพลเรือนเข้าแถวอยู่ด้วย

พระยาศรีสหเทพ เป็นผู้อ่านประกาศมอบเมืองให้แก่ฝรั่งเศส พอจบลงเรสิดังต์ข้าหลวงฝรั่งเศสอ่านคำรับมอบจากรัฐบาลสยามเป็นภาษาฝรั่งเศส เมื่อจบพิธี ทหาร 2 ฝ่ายยิงสลุตฝ่ายละ 1 โหล แตรบรรเลงขึ้น ทันใดพระยาศรีสหเทพชักธงสยามลง เรสิดังต์ชักเชือกธงฝรั่งเศสขึ้น เมื่อธงฝรั่งเศสถึงยอดเสา ทหารยิงสลุตอีกฝ่ายละ 1 โหล

นับจากนั้นมาเ มืองตราดจึงตกอยู่ในการยึดครองของฝรั่งเศส จนถึงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 จึงได้มีการตกลงทำหนังสือสัญญาขึ้นอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า "หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสสิเดนต์แห่งรีปัปลิคฝรั่งเศส" ฝรั่งเศสจึงคืนเมืองตราดให้ไทยตามเดิม แต่ฝ่ายไทยจะต้องยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ เป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนเมืองทั้งสามเมืองนั้นมีดินแดนประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร แลกกับเมืองตราด ประมาณ 2,919 ตารางกิโลเมตร แต่ปรากฎว่า เมืองปัจจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) ฝรั่งเศสมิได้คืนให้ไทยแต่ประการใด จนถึงปัจจุบันเมืองปัจจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชาไปโดยปริยาย

การสูญเสียแผ่นดินเกาะกงในสมัยนั้น ประวัติศาสตร์ของชาติไทยมิได้มีบันทึกการเสียดินแดนเกาะกงครั้งนั้น เอาไว้ให้แก่ลูกหลานเยาวชนไทยได้รับทราบความเป็นไปแต่อย่างใด ซึ่งในการสูญเสียเกาะกงในครั้งนั้นได้มีคนไทยจำนวนมากอพยพไปอยู่ที่เกาะกูดแทน ปัจจุบันเกาะกงยังมีคนเชื้อสายไทยอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ 25 ที่เหลือเป็นชาวกัมพูชาจากจังหวัดอื่นที่อพยพมาทำงาน

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com