Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ข้อกล่าวหาเรื่องมนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์เป็นเรื่องลวง - วิกิพีเดีย

ข้อกล่าวหาเรื่องมนุษย์คนแรกเหยียบดวงจันทร์เป็นเรื่องลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ไม่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับความเป็นกลาง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
และต้องการการแก้ไขโดยด่วนเพื่อสอดคล้องกับการเป็นสารานุกรม

กรุณาดูบทสนทนาที่เกี่ยวข้องที่หน้าพูดคุย
ภาพถ่ายโลก จากดวงจันทร์ภาพแรก
ภาพถ่ายโลก จากดวงจันทร์ภาพแรก

ผู้ที่สนับสนุน ข้อกล่าวหาเรื่องการเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรก เชื่อว่า การเหยียบดวงจันทร์ของ นีล อาร์มสตรอง ในโครงการอพอลโลขององค์การนาซานั้น เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นในสตูดิโอถ่ายภาพยนตร์โดยมีการสนับสนุนจากซีไอเอ ข้อกล่าวหาดังกล่าวได้มีการพูดถึงในสหรัฐอเมริกาในช่วงสิบปีต่อมา และมีการพูดคุยกันอย่างมากในอินเทอร์เน็ตในช่วงที่อินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย

การลงจอดบนดวงจันทร์ของ อพอลโล 11 ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) มีการกล่าวอ้างว่าการถ่ายภาพ ไม่ได้กระทำบนดวงจันทร์ แต่ได้ถ่ายทำขึ้นในสตูดิโอภาพยนตร์บนโลก โดยความคิดนี้ได้เริ่มเป็นที่พูดคุย หลังจากภาพยนตร์เรื่อง แคปริคอร์นวัน (Capricorn One) ได้ออกฉาย ซึ่งในภาพยนตร์แสดงถึงองค์การนาซาได้หลอกชาวโลก โดยการสร้างภาพการลงจอดยานที่ดาวอังคาร

อย่างไรก็ตามมีข้อพิสูจน์หลายอย่างว่า ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศของอพอลโล 11 จะเป็นเรื่องจริง แต่ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ถูกถ่ายทำขึ้นบนโลก โดยตามความคิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า นีล อาร์มสตรองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ภาพถ่ายนี่จะออกมาต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างข่าวลือของความสำเร็จของสหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีหนังสือซึ่งเขียนขึ้นโดย บิลล์ เคย์ซิง (Bill Kaysing) ชื่อเรื่องว่า เราไม่เคยเหยียบดวงจันทร์ (We Never Went to the Moon) หรือ หนังสือของ ราล์ฟ มูน ในชื่อเรื่อง นาซาเหยียบสหรัฐอเมริกา (NASA Mooned America) ซึ่งเกี่ยวกับข่าวหลอกลวงที่นาซาสร้างขึ้น และมีมิวสิกวีดีโอเพลง อเมริกา (Amerika, ใช้ตัวอักษร k) ของ แรมม์ไสตน์ (Rammstein) เนื้อเพลงเกี่ยวกับการหลอกลวงในการลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งนักร้องแต่งชุดเป็นนักบินอวกาศ และฉากหลังเป็นดวงจันทร์

สารบัญ

[แก้] ข้อกล่าวอ้างถึงแรงจูงใจในการสร้างภาพ

การสร้างภาพของโครงการอพอลโล 11 ส่งผลให้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำของโลกในทางด้านเทคโนโลยีจากคนอื่นทั่วโลก และชาวสหรัฐอเมริิกาเอง และยังทำให้ประเทศอื่นเชื่อว่า สหรัฐฯ มีเทคโนโลยีอื่นรวมทั้งอาวุธต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ได้นำออกมาแก่สื่อมวลชน และได้รับชัยชนะเหนือ สหภาพโซเวียต ซึ่งได้นำยานอวกาศขึ้นสำรวจอวกาศก่อนหน้านี้ สาเหตุหลายอย่างที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างข่าวลือในการเหยียบดวงจันทร์ของสหรัฐอเมริกา

  1. เบี่ยงเบนความสนใจ ของเรื่องสงครามเวียดนาม โดย เบี่ยงเบนความสนใจของชาวโลก เรื่องของการโจมตีประเทศเวียดนาม เพื่อหยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์
  2. ชัยชนะในสงครามเย็น โดยสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะเหนือโซเวียตในเรื่องการสำรวจอวกาศ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่สูงสุดในขณะนั้น ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศเหมือนที่โซเวียตได้ทำก่อนหน้านี้ ทางสหรัฐสามารถทำได้เช่นกัน แต่การถ่ายทำในสตูดิโอและสร้างข่าวลือ สามารถส่งผลที่ให้เกิดชัยชนะได้แน่นอนและลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในช่วงเวลาต่อมา
  3. รวบรวมเงิน ซึ่งนาซาได้รวบรวมเงินประมาณ 60,000 ล้านบาทในขณะนั้น (30 billion dollars) สำหรับโครงการสำรวจดวงจันทร์ โดยการสร้างแรงจูงใจให้ชาวสหรัฐอเมริกาและองค์กรต่าง ๆ บริจาคเงินจำนวนมหาศาลได้ โดยเงินสามารถนำมาใช้สำหรับสงครามเวียดนามได้โดยไม่มีข้อสงสัย
  4. ความเสี่ยงสูง ถึงแม้ว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการสำรวจอวกาศจะเป็นไปได้สำหรับสหรัฐอเมริกา แต่ขณะเดียวกันความล้มเหลวก็มีสูงเช่นกัน

[แก้] ข้อกล่าวหาและข้อโต้แย้ง

[แก้] เรื่องภาพถ่าย

ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ที่มีการอ้างว่าถ่ายทำบนดวงจันทร์ ได้ถูกกล่าวหาว่าถ่ายทำบนโลก

1. สัญลักษณ์กากบาทสำหรับระบุตำแหน่งในบางรูปภาพปรากฏที่หลังวัตถุ แทนที่จะอยู่ด้านหน้า

  • ในการถ่ายภาพ วัตถุที่มีสีสว่าง (วัตถุที่อยู่หลังสัญลักษณ์กากบาท) ทำให้วัตถุสีดำ (กากบาท) หายไป ซึ่งเป็นผลของการที่ฟิลม์ได้แสงมากเกินไป [1]

2. คุณภาพของภาพถ่ายดีอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าจะถ่ายในอวกาศ

  • นาซาเลือกภาพถ่ายที่ดีที่สุดสำหรับการนำเสนอต่อสื่อมวลชน ซึ่งก็ได้นำภาพดังกล่าวไปคัดเลือกอีกทีหนึ่งด้วย นอกจากนี้ภาพส่วนใหญ่ถูกตัดกรอบเพื่อทำให้มีการวางองค์ประกอบที่ดีขึ้น ภาพที่ถ่ายนั้นยังถ่ายด้วยกล้องฮัสเซลแบลดคุณภาพสูงด้วยเลนซ์ไซสส์ที่มีคุณภาพสูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามมีภาพมากมายที่ได้แสงมากเกินหรือมีโฟกัสที่ผิดพลาด ภาพถ่ายเหล่านี้สามารถดูได้ที่ Apollo Lunar Surface Journal

3. ภาพถ่ายไม่มีดาวอยู่ภายในภาพ โดยขณะเดียวกันนักบินไม่ได้มีการกล่าวถึงการมองเห็นดวงดาวในยานอวกาศ จากภาพถ่ายของหลายโครงการสำรวจอวกาศ

  • ไม่มีปรากฏภาพของดวงดาวในกระสวยอวกาศ, สถานีอวกาศเมียร์ สถานีอวกาศนานาชาติ และที่สังเกตการณ์บนโลกเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วการถ่ายภาพในลักษณะนี้ ปกติจะตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ความเร็วสูง เพื่อป้องกันแสงที่ออกมาไฟส่องทำให้ภาพขาวจนเกินไป ในขณะเดียวกันที่ความเร็วชัตเตอร์เท่านี้ ไม่สามารถถ่ายภาพดวงดาวได้

4. สีและแสงเงาภายในภาพผิดเพี้ยน เงาจากดวงจันทร์ ไม่ควรจะมีมุมเดียวกับเงาของวัตถุบนพื้นโลก

  • เนื่องจากต้นแหล่งของแสง จากดวงอาทิตย์ โลก และดาวอื่นๆ โดยแสงต่าง ๆ ที่ส่องเข้ามาที่ดวงจันทร์ มักจะเกิดความกระเจิงเนื่องจากฝุ่นหินบนดวงจันทร์

5. พื้นหลังของภาพที่ถูกรายงานว่าถ่ายจากคนละสถานที่กลับเหมือนกัน

  • การเปรียบเทียบอย่างละเอียดแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่าง

6. จำนวนภาพถ่ายที่มากจนเกินไป โดยเมื่อนำจำนวนเวลาที่ลงจอดบนดวงจันทร์ เปรียบเทียบกับจำนวนภาพถ่ายทั้งหมด จะได้ว่า ภาพถ่ายถูกถ่ายขึ้นทุก 15 วินาที โดยเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพกล้องในสมัย ปี พ.ศ. 2512 การถ่ายภาพและการเลื่อนฟิล์มทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 30 วินาทีต่อ 1 ภาพ

  • นักบินอวกาศได้รับการฝึกฝนให้ใช้เครื่องมือการถ่ายภาพเป็นอย่างดี นอกจากนี้อุปกรณ์การถ่ายภาพยังทำให้สามารถถ่ายภาพได้สะดวก ถึงขนาดที่ถ่ายได้สองภาพต่อหนึ่งวินาที ถ้าดูภาพที่ถ่ายมาจะพบว่าภาพจำนวนมากถูกถ่ายต่อเนื่องกัน

[แก้] เรื่องการสื่อสาร

  1. การสื่อสารข้อมูลที่ควรจะดีเลย์ 2 วินาที ระหว่างสื่อที่อยู่บนโลกและนักบินจากดวงจันทร์ ซึ่งการส่งสัญญาณสองทาง ระยะทางประมาณ 400,000 กม. (250,000 ไมล์)
  2. สัญญาณที่ หอดูดาวปาร์กส (Parkes Observatory) ในประเทศออสเตรเลีย ควรจะได้ชัดเจนกว่าสัญญาณที่อื่น เปรียบเทียบจากในขณะที่ โดยเทียบกับตำแหน่งของดวงจันทร์ในขณะนั้น แต่หอดูดาวปาร์กส์รับข้อมูลจากหอดูดาวของสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่คนละซีกโลกของดวงจันทร์ โดยทางนาซาได้ให้ข่าวว่า ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลลัีบซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบก่อน ถึงจะออกแก่สื่อมวลชนได้

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com