Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
การปรุรู - วิกิพีเดีย

การปรุรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปรุรู (อังกฤษ: perforation) คือการเจาะรูเล็ก ๆ รอบดวงแสตมป์เพื่อให้สะดวกแก่การฉีกแสตมป์ออกมาจากแผ่นเป็นดวง ๆ และเมื่อฉีกออกจากแผ่นแล้ว จะปรากฏรายหยักบนขอบแสตมป์ที่เรียกว่า ฟันแสตมป์ (perfs หรือ teeth)

แสตมป์ที่ฉีกมาจากแผ่นมักมีการปรุรูครบทั้งสี่ด้านของแสตมป์ ส่วนแสตมป์ที่จำหน่ายในรูปแบบอื่น ๆ อาจมีรูปแบบการปรุแตกต่างจากนี้ เช่น แสตมป์ที่มาจากตู้หยอดเหรียญ (coil stamp) มักมีการปรุรูเพียงสองด้าน ในขณะที่แสตมป์ที่มาจากสมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็ก (stamp booklet) อาจไม่ปรุรูบางด้าน

สารบัญ

[แก้] วิวัฒนาการการปรุรู

แสตมป์ในยุกแรกที่ยังไม่คิดค้นการปรุรู ต้องใช้กรรไกรตัดแสตมป์ออกจากแผ่น

กระบวนการเจาะรูมีการพัฒนามานาน ในสมัยแรกที่การปรุรู เป็นการปรุแบบเส้นตรง (line perforation) ซึ่งการปรุแต่ละครั้งจะได้รอยปรุแนวตั้งหรือแนวนอนแนวใดแนวหนึ่ง และจะต้องป้อนแผ่นแสตมป์เข้าเครื่องปรุสองครั้ง ถึงจะได้รอยปรุรอบดวงแสตมป์ ข้อสังเกตแสตมป์ที่ปรุวิธีนี้คือ ฟันแสตมป์ที่มุมทั้งสี่ของแสตมป์มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่เป็นระเบียบ

การปรุแบบเส้นตรง
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2

การปรุในระยะหลังใช้การปรุแบบหวี (comb perforation) โดยในการเจาะแต่ละครั้ง จะเจาะรูพร้อมกันสามด้านของแสตมป์แสตมป์ในแถวหนึ่ง ๆ (เช่นด้านซ้าน บน และล่าง) ส่วนด้านที่เหลือจะเจาะเมื่อปรุแสตมป์ในแถวถัดไป ข้อสังเกตแสตมป์ที่ปรุด้วยวิธีนี้คือ มุมทั้งสี่ของแสตมป์ดูเรียบร้อย การปรุแบบนี้นอกจากจะปรุทีละแถวแล้ว ยังมีการพัฒนาต่อโดยปรุพร้อมกันหลายแถวในคราวเดียวได้

การปรุแบบหวี
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2

การปรุที่นิยมใช้ในปัจจุบันอีกวิธีคือการปรุแบบแผ่น (sheet perforation หรือ harrow perforation) กล่าวคือจะเจาะรูทั้งหมดในคราวเดียว แสตมป์ที่ได้จะมีมุมเรียบร้อยเช่นเดียวกับการปรุแบบหวี

การปรุแบบแผ่น
ขั้นตอนที่ 1

[แก้] หน่วยวัดการปรุรู หรือ ฟันแสตมป์

เปรียบเทียบขนาดฟันที่แตกต่างกัน ของแสตมป์คนละรุ่น
เปรียบเทียบขนาดฟันที่แตกต่างกัน ของแสตมป์คนละรุ่น

รอยปรุที่ปรากฏแสตมป์มีประโยชน์ในการศึกษาถึงที่มาของแสตมป์ไม่ว่าจะเป็นแสตมป์รุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ เนื่องจากแสตมป์หลาย ๆ ดวงที่มีการใช้งานมาก มักต้องมีการพิมพ์เพิ่มหลายครั้ง แต่ละครั้งอาจพิมพ์ที่โรงพิมพ์ต่างกันเนื่องจากสัญญาการพิมพ์หรืออาศัยการประมูล ซึ่งโรงพิมพ์ที่ให้ราคาต่ำกว่าก็ได้สิทธิในการพิมพ์ครั้งนั้น เครื่องปรุฟันแสตมป์ของโรงพิมพ์ต่าง ๆ ก็มักมีการปรุรูที่แตกต่างกันไปด้วย

สิ่งที่ใช้แยกแยะฟันแสตมป์ง่ายสุดคือการวัดขนาดฟันแสตมป์ โดยวัดจากจำนวนฟัน หรือ รู ในช่วงระยะ สอง เซนติเมตร ตัวอย่างเช่น ฟันขนาด 12 หมายถึงมีฟัน 12 ซี่ใน 2 เซนติเมตรทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่ถ้าขนาดฟันในแต่ละแนวไม่เท่ากัน จะระบุทั้งสองค่า เช่น ฟันขนาด 13×11 หมายถึงแนวนอนมี 13 ซี่ และแนวตั้ง 11 ซี่ในระยะดังกล่าว

เพื่อความสะดวกในการวัดขนาดของฟัน หลายบริษัทมีการผลิต มาตรวัดฟันแสตมป์ (perforation gauge) สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกบาง บนแผ่นมีการพิมพ์ลวดลายการปรุของฟันแต่ละขนาดเอาไว้ เวลาวัดก็เอาแสตมป์ทาบกับแผ่นพลาสติกนี้เพื่อดูว่าฟันแสตมป์ตรงกับลวดลายขนาดใด

[แก้] การปรุแบบต่าง ๆ ในแสตมป์สมัยใหม่

ปัจจุบันเราจะพบแสตมป์รูปร่างแปลก ๆ ทำขึ้นสำหรับการสะสมมากขึ้น เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลม หรือ รูปร่างอื่น ซึ่งแนวการปรุต่างไปจากที่พบแบบเดิม ใช้เทคนิกการปรุแบบแผ่น นอกจากนี้ บางโรงพิมพ์มีการปรุรูให้มีขนาดของรูไม่เท่ากัน เป็นมาตรการป้องกันการปลอมแปลงทางหนึ่ง

[แก้] แสตมป์สติกเกอร์

แสตมป์สติกเกอร์ เป็นแสตมป์ที่นิยมใช้กันในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แสตมป์สติกเกอร์จะมีการตัดเป็นดวง ๆ เรียบร้อยและติดบนกระดาษมันที่อยู่ข้างหลัง เวลาใช้ก็ลอกออกจากกระดาษมันได้ทันที่ แสตมป์แบบนี้จึงไม่มีการปรุรู (แต่อาจปรุรูบนกระดาษมันแทน) แต่เพื่อไม่ให้แสตมป์มีขอบเรียบเหมือนสติกเกอร์ธรรมดาซึ่งไม่น่าสะสม มักจะตัดขอบให้มีรอยหยักคล้ายกับฉีกมาจากแผ่นจริง ๆ ด้วย

Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com