Ebooks, Audobooks and Classical Music from Liber Liber
a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z





Web - Amazon

We provide Linux to the World


We support WINRAR [What is this] - [Download .exe file(s) for Windows]

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
SITEMAP
Audiobooks by Valerio Di Stefano: Single Download - Complete Download [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Alphabetical Download  [TAR] [WIM] [ZIP] [RAR] - Download Instructions

Make a donation: IBAN: IT36M0708677020000000008016 - BIC/SWIFT:  ICRAITRRU60 - VALERIO DI STEFANO or
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
การคิดเชิงวิจารณ์ - วิกิพีเดีย

การคิดเชิงวิจารณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การคิดเชิงวิจารณ์ (critical thinking) เป็นกระบวนการทางจิตสำนึกเพื่อวิเคราะห์ หรือ ประเมินข้อมูล ในคำแถลง หรือ ข้อเสนอที่มีผู้แถลงหรืออ้างว่าเป็นความจริง การคิดเชิงวิจารณ์เป็นรูปแบบของกระบวนการที่สะท้อนให้เห็นความหมายของคำแถลง (statement) และการตรวจสอบหลักฐานที่ได้รับการไต่ตรองด้วยเหตุและผล แล้วจึงทำการตัดสินคำแถลงหรือข้อเสนอที่ถูกอ้างว่าเป็นความจริงนั้น

การคิดเชิงวิจารณ์อาจทำได้จากการรวบรวมข้อมูล การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ หลักแห่งเหตุและผล และ/หรือการสื่อความ การคิดเชิงวิจารณ์ต้องมีพื้นฐานของคุณค่าเชิงพุทธิปัญญาที่สูงเลยไปจากการเป็นเพียงการแบ่งเนื้อหาที่รวมไปถึง ความกระจ่างชัด ความแม่นยำ ความต้องตรงเนื้อหา หลักฐาน ความครบถ้วนและความยุติธรรม

ความหมายหรือนิยามการคิดเชิงวิจารณ์มีมากมายและหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ไปในแนวเดียวกันคือการใช้เหตุผล หลักฐานและตรรกะมาวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนลงความเห็นหรือตัดสิน

พระพุทธเจ้าได้ใช้วิธีการสอนที่อาจนับเป็นการคิดเชิงวิจารณ์ที่เรียกว่า "ปุจฉาวิสัชนา" ด้วยการให้พระสงฆ์ใช้ "วิจารณญาน" ถามตอบซักไซ้ไล่เลียงค้านกันไปมาจนได้คำตอบซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการคิดเชิงวิจารณ์ โดยทรงให้หลักแห่งความเชื่อที่ไม่งมงายไว้ในพระสูตรชื่อ กาลามสูตร


สารบัญ

[แก้] ภาพรวม

ภายใต้กรอบแห่ง “ความน่าสงสัย” (skepticism) กระบวนการคิดเชิงวิจารณ์เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสืบหาข้อมูลและการประเมินข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปหรือคำตอบที่เชื่อถือได้ การคิดเชิงวิจารณ์ประกอบด้วย “ตรรกะที่ไม่เป็นทางการ” (informal logic) ผลการวิจัยด้านการรับรู้เชิงจิตวิทยา (cognitive psychology) ทำให้นักการศึกษาเริ่มเชื่อมากขึ้นว่าสถาบันการศึกษาทุกแห่งควรเน้นการสอนทักษะการคิดเชิงวิจารณ์ให้มากขึ้นแทนการสอนให้เรียนรู้แบบท่องจำ

กระบวนการของการคิดเชิงวิจารณ์สามารถตอบสนองประเด็นและสถานการณ์ได้หลายๆ อย่างและทำให้เราสามารถสืบเสาะหาสิ่งเชื่อมโยงระหว่างกันได้ด้วย ดังนั้น การคิดเชิงวิจารณ์จึงเป็นตัวสร้างระบบช่องความคิดต่างๆ ที่สัมพันธ์กับความรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยาเศรษฐศาสตร์ หลักเหตุผลทางศีลธรรม และปรัชญา


เราอาจแบ่งการคิดเชิงวิจารณ์ได้เป็นสองลักษณะได้แก่

  1. ชุดของทักษะการรับรู้ (cognitive skill) และ
  2. ความสามารถและการใช้ทักษะนั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางแห่งประพฤติกรรม

การคิดเชิงวิจารณ์ไม่เป็นเพียงการหาและการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการเป็นเพียงผู้มีทักษะแต่ไม่ได้ใช้อย่างสม่ำเสมอ การคิดเชิงวิจารณ์จึงไม่ใช่เป็นเพียงการฝึกฝนทักษะเพื่อการไม่ยอมรับรองผลเพียงอย่างเดียว


[แก้] กรรมวิธีของการคิดเชิงวิจารณ์

การคิดเชิงวิจารณ์มีขั้นตอนการคิดที่มีประโยชน์ดังนี้

  1. การจำแนกความเห็นในประเด็นปัญหาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและการจัดเก็บข้อโต้แย้งที่มีตรรกะที่สนับสนุนในแต่ละฝ่าย
  2. แตกข้อโต้แย้งออกเป็นส่วนๆ ตามเนื้อหาของคำแถลงและดึงเอาเนื้อหาส่วนเพิ่มเติมที่มีความหมายตรงนัยของคำแถลง
  3. ตรวจสอบคำแถลงและความหมายตามนัยเหล่านี้เพื่อหาความขัดแย้งในตัวเอง
  4. บ่งชี้เนื้อหาการอ้างที่ขัดแย้งกันในบรรดาข้อถกเถียงต่างๆ ที่มีแล้วจึงใส่น้ำหนักหรือคะแนนให้ข้ออ้างนั้นๆ
    1. เพิ่มน้ำหนักเมื่อข้ออ้างมีหลักฐานสนับสนุนที่เด่นชัด โดยเฉพาะการมีเหตุมีผลที่สอดคล้องกัน หรือมีหลักฐานจากแหล่งใหม่ๆ หลายแหล่ง ลดน้ำหนักเมื่อข้ออ้างมีความขัดแย้งกัน
    2. ปรับน้ำหนักขึ้นลงตามความสอดคล้องของข้อมูลกับประเด็นกลาง
    3. จะต้องหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอสำหรับใช้ในการตัดสินข้ออ้างที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือมิฉนั้น จะต้องไม่นำประเด็นการกล่าวอ้างดังกล่าวมาประกอบการตัดสิน
  5. ประเมินน้ำหนักด้านต่างๆ ของข้ออ้าง


แผนที่ในจิตสำนึก (Mind maps) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดรูปและการประเมินค่าข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในขั้นสุดท้าย เราอาจกำหนดน้ำหนักเป็นตัวเลขสำหรับแต่ละแขนงของแผนที่ในใจ

การคิดเชิงวิจารณ์ไม่ใช่สิ่งที่ใช้ประกันว่าได้บรรลุถึงความจริง หรือ ข้อสรุปที่ถูกต้องแล้ว ประการแรก เราอาจไม่สามารถหาข้อมูลที่ถูกต้องได้ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ข้อมูลที่มีความสำคัญอาจยังไม่มีการค้นพบ หรือยังเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นอะไร ประการที่สอง ความลำเอียงของคนการปิดบังหรือถ่วงประสิทธิภาพในการเก้บ ประเมินข้อมูลที่มีอยู่แล้ว


[แก้] การเอาชนะความลำเอียง

เพื่อลดความลำเอียง ผู้คิดจะต้องมีมาตรการต่างๆ เพื่อใช้ในกระบวนการของการคิดเชิงวิจารณ์ แทนที่จะตั้งคำถามว่า “เรื่องนี้มีประเด็นที่ค้านกับความเชื่อของเราหรือไม่” ควรถามว่า “ประเด็นนี้มีความหมายอย่างไร”

ในขั้นแรกๆ ของการเก็บรวบรวมและประเมินข้อมูล สิ่งแรกสุดที่ผู้คิดจะต้องทำคือ “การไม่ด่วนตัดสิน” (เหมือนที่ทำในการอ่านนิยายหรือดูภาพยนตร์) วิธีการนี้รวมถึงการสำเหนียก (perceptive) มากกว่าการตัดสิน (judgmental) นั่นคือการหลีกเลี่ยงการเลื่อนไหลจากใช้การมองกว้างไปสู่การตัดสิน ในคำเทคนิคของ "[[เอ็ดเวิร์ด เดอโบโน ในหมวกความคิด 6 ใบ]]” ใช้ หมวกขาว หรือ หมวกน้ำเงิน สำหรับการคิด และชลอการคิดแบบ หมวกดำ ไว้ในระยะหลัง


เราพึงตระหนักถึงข้อข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นกับตนเองได้แก่

  1. การยอมรับว่าทุกคนมีความลำเอียงอยู่ในจิตใต้สำนึก และมักจะตั้งคำถามที่จะนำไปสู่การตัดสินที่นึกไว้แล้ว
  2. ยอมรับการไร้อัตตา และควรตั้งทีท่าเป็นคนถ่อมตัว
  3. ย้อนนึกถึงความเชื่อมั่นเดิมๆ ที่เคยมีและถูกหักล้างไปด้วยจริงหรือความถูกต้อง
  4. ยอมรับว่าทุกคนยังมี จุดบอด อยู่มากทั้งๆ ที่รู้แล้ว

เราจะขจัดความลำเอียงได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร คำตอบที่เป็นไปได้อาจเป็นได้ว่า ด้วยการอิงการคิดเชิงวิจารณ์ไว้กับ “แนวคิดมนุษย์” (concept of man – Erich Fromm) ซึ่งอาจทำให้เห็นการคิดเชิงวิจารณ์และการสร้างสมจรรยาบรรณที่มั่นคงสร้างองค์รวมทั้งหมดขึ้นมา แต่เป็นองค์รวมซึ่งยังคงจำกัดอยู่ ยังขาดการสนับสนุนจากแนวคิดของมวลมนุษย์


ในท้ายที่สุด อาจต้องใช้ กรรมวิธีโสกราติส (Socratic method) สำหรับการประเมินข้อขัดแย้งที่ถามคำถามแบบเปิด เช่น

  • สิ่งนี้มีความหมายว่าอย่างไร
  • ข้อสรุปได้มาอย่างไร
  • เชื่อได้อย่างไรว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
  • แหล่งข้อมูลที่ใช้มาจากใหน
  • ถ้าผิดจะเกิดอะไรขึ้น
  • ให้บอกแหล่งหรือบุคคลอ้างอิงที่เห็นแย้งพร้อมกับคำอธิบายสักสองราย
  • ทำไมประเด็นนี้จึงมีความสำคัญ
  • จะรู้ได้อย่างไรว่าคนๆ นั้นพูดความจริง
  • คำอธิบายที่เป็นทางเลือกอื่นสำหรับประเด็นนี้มีอะไรบ้าง


[แก้] การมุ่งสู่การสรุป

มุมมองที่เป็นประโยชน์ในการคิดเชิงวิจารณ์เกี่ยวพันถึง “ใบมีดโกนของอ็อกแคม” (Occam's Razor) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หลักการแห่งความตระหนี่ถี่ถ้วน” ซึ่งกล่าวไว้ว่าเราไม่ควรตั้งสมมุติฐานมากเกินความจำเป็น หรืออีกนัยหนึ่งคือ “การทำให้เรียบง่าย” โดยธรรมชาติของกระบวนการ การคิดเชิงวิจารณ์ไม่มีความเป็นที่สิ้นสุด เราอาจมาถึงข้อสรุปเบื้องต้นได้หากมีการประเมินหลักฐานมาแล้ว อย่างไรก็ดี ข้อสรุปทุกครั้งควรจะต้องเปิดช่องให้มีการประเมินได้อีกเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม


[แก้] การคิดเชิงวิจารณ์ในห้องเรียน

ในระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษมีการกำหนดการคิดเชิงวิจารณ์ไว้เป็นวิชาเรียนสำหรับนักเรียนวัย 17-18 ปี ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกสอบในหัวเรื่อง “ความเป็นที่น่าเชื่อถือได้ของหลักฐาน” (Credibility of Evidence) หรือ “การประเมิน / การสร้างข้อโต้เถียง” (Assessing/Developing Argument) นักเรียนทั่วไปถือว่าวิชาในส่วนนี้สนุกและเป็นประโยชน์เพราะสามารถรู้เรื่องและปฏิบัติได้หลังการเข้าเรียนเพียงไม่กี่ครั้ง

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่าทักษะการคิดเชิงวิจารณ์ของประชาชนโดยรวมลดลงมาก ประชาชนถูกชักจูงและหลงเชื่อการบอกเล่าหรือเชื่อปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้ง่าย แม้ส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนาแต่ก็มิได้ตระหนักถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนให้คิดเชิงการคิดเชิงวิจารณ์ คือ ปุจฉาวิสัชนา และการสอนไม่ให้เชื่อในสิ่ง "เขาว่ามา" ให้สืบสวนไต่ตรองให้รอบคอบก่อนจึงค่อยเชื่อ การสอนการคิดเชิงวิจารณ์ในโรงเรียนชั้นมัธยมปลายดังที่ประเทศอังกฤษปฏิบัติอยู่จึงน่าจะเป็นสิ่งจำเป็นรีบด่วน


[แก้] คำคม

วิลเลี่ยม แกรแฮม ซัมเนอร์ ได้เสนอข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ยิ่งเกี่ยวกับการคิดเชิงการคิดเชิงวิจารณ์

การคิดเชิงวิจารณ์คือการตรวจสอบและการทดสอบประเด็นของคำเสนอทุกประเภทที่ผ่านเข้ามาขอการยอมรับ เพื่อดูว่าคำเสนอนั้นตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ ความสามารถในการคิดเชิงวิจารณ์เป็นผลที่เกิดจากการศึกษาและการฝึกฝน จนเป็นนิสัยและเป็นพลังทางใจ การคิดเชิงวิจารณ์เป็นเงื่อนไขสำคัญแห่งความผาสุขของปวงชน เป็นสิ่งมนุษย์ทั้งหญิงและชายพึงฝึกฝนให้ชำนาญ การคิดเชิงวิจารณ์คือหลักประกันที่สามารถปกป้องการบิดเบือน การหลงละเมอ การหลอกลวง การเชื่อผีสางและการหลงผิดของเราและสิ่งล้อมรอบตัวเรา


ขงจื่อ "คำวิจารณ์ มิอาจตัดสินคน"

นิรนาม "ไม่มีประโยชน์ที่จะไปโทษกระจกเงา ใบหน้าของท่านต่างหากที่ขี้เหร่"

[แก้] อ้างอิง

  • Paul, R. and Elder L. 2002. Critical Thinking: Tools for Taking Charge of Your Professional and Personal Life. Published by Financial Times Prentice Hall. ISBN 0-13-064760-8.
  • Paul, R., Elder, L., and Bartell T. 1997. California Teacher Preparation for Instruction in Critical Thinking: Research Findings and Policy Recommendations. California Commission on Teacher Credentialing. Foundation for Critical Thinking, Sacramento California.
  • Whyte, P. 2003. Bad Thoughts - A Guide to Clear Thinking. Published by Corvo. ISBN 0-9543255-3-2.
  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด'' วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
Our "Network":

Project Gutenberg
https://gutenberg.classicistranieri.com

Encyclopaedia Britannica 1911
https://encyclopaediabritannica.classicistranieri.com

Librivox Audiobooks
https://librivox.classicistranieri.com

Linux Distributions
https://old.classicistranieri.com

Magnatune (MP3 Music)
https://magnatune.classicistranieri.com

Static Wikipedia (June 2008)
https://wikipedia.classicistranieri.com

Static Wikipedia (March 2008)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com/mar2008/

Static Wikipedia (2007)
https://wikipedia2007.classicistranieri.com

Static Wikipedia (2006)
https://wikipedia2006.classicistranieri.com

Liber Liber
https://liberliber.classicistranieri.com

ZIM Files for Kiwix
https://zim.classicistranieri.com


Other Websites:

Bach - Goldberg Variations
https://www.goldbergvariations.org

Lazarillo de Tormes
https://www.lazarillodetormes.org

Madame Bovary
https://www.madamebovary.org

Il Fu Mattia Pascal
https://www.mattiapascal.it

The Voice in the Desert
https://www.thevoiceinthedesert.org

Confessione d'un amore fascista
https://www.amorefascista.it

Malinverno
https://www.malinverno.org

Debito formativo
https://www.debitoformativo.it

Adina Spire
https://www.adinaspire.com