ฮอสเอ๊กซ์พี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หากคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือมีความรู้เกี่ยวกับบทความนี้ สามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้โดยการกด แก้ไข ด้านบน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การจัดย่อหน้า คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย |
ฮอสเอ๊กซ์พี | |
---|---|
ภาพหน้าจอของ ฮอสเอ๊กซ์พี แสดงการเปิดหลายหน้าจอ พร้อมทั้งแถบเครื่องมือ |
|
ผู้พัฒนา | ชัยพร สุรเตมีย์กุล |
รุ่นเสถียร ล่าสุด |
2.49.2.6 (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549) |
รุ่นทดลองล่าสุด | {{{latest_beta_version}}} (ไม่มี) |
OS | ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ |
ชนิด | แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ |
ลิขสิทธิ์ | GPL |
เว็บไซต์ | hosxp.net |
ฮอสเอ๊กซ์พี (HOSxP) เป็น ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน สำหรับสถานพยาบาล สถานีอนามัย และโรงพยาบาล พัฒนาโดยบุคลากรที่อาสาสมัครมาจากหลายโรงพยาบาล มีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้งานได้จริงทั้งในระดับสถานีอนามัย ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันถูกใช้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย มากกว่า 60 แห่ง
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
โครงการฮอสเอ๊กซ์พีริเริ่มโดย ชัยพร สุรเตมีย์กุล โดยเป็นโครงการทดลองพัฒนาระบบสารสนเทศใช้เองภายในโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการผู้ป่วย และช่วยลดภาระในการทำรายงานประจำเดือนของฝ่ายต่าง ๆ โครงการเริ่มพัฒนาเมื่อกลางปี พ.ศ. 2542 โดยเริ่มต้นพัฒนาระบบเวชระเบียนเป็นระบบแรก ตามด้วยระบบผู้ป่วยใน และระบบห้องจ่ายยา หลังจากพัฒนาและแก้ไขได้ประมาณ 1 ปี ก็ได้มีทีมงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นำทีมโดย นายแพทย์ไพบูลย์ เพ็ญสุวรรณ ติดต่อดูงาน และทำแผนนำไปใช้ใน 10 โรงพยาบาลชุมชนนำร่อง ในจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน โรงพยาบาลโพชัย โรงพยาบาลหนอกพอก โรงพยาบาลเมยวดี โรงพยาบาลศรีสมเด็จ โรงพยาบาลจังหาร โรงพยาบาลเมืองสรวง โรงพยาบาลปทุมรัตน์ โรงพยาบาลพนมไพร และโรงพยาบาลโพนทราย
หลังจากนั้น 1 ปี ทีมงานจากโรงพยาบาลโพธาราม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 340 เตียง นำทีมโดย นายแพทย์สมบูรณ์ นันทานิช และ ภก.สุชัย อุดมคำ ได้มาติดต่อดูงานและตัดสินใจนำไปใช้ โดยเชิญผู้พัฒนาไปช่วยดูแลและปรับปรุงระบบเดือนละ 1 ครั้งเป็นระยะเวลา 2 ปี และในปี พ.ศ. 2547 นายแพทย์สุเพียว อึ้งวิจารย์ปัญญา ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธาราม ก็ได้ประกาศสนับสนุนให้มีการนำฮอสเอ๊กซ์พีไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชนที่ยังไม่มีซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันใช้ หรือมีใช้แต่ไม่รองรับกับระบบการทำงานทั้งหมด เช่น โปรแกรมสเต็ท (STAT) และได้จัดทำเป็นหนังสือเชิญชวนไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ปัจจุบันได้มีอาสาสมัครจากหลายโรงพยาบาล มาช่วยทดสอบและพัฒนา และมีผู้นำโครงการคือ ชัยพร สุรเตมีย์กุล - ปัจจุบันทำงานใน บริษัทบางกอกเมดิคัลซอฟต์แวร์ จำกัด (ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโครงการ และผู้พัฒนาหลัก)
[แก้] ที่มาของชื่อ
ฮอสเอ๊กซ์พี (HOSxP) เดิมชื่อ KSK-HDBMS แต่เนื่องจากชื่อเดิมเรียกยาก จึงได้ตั้งชื่อใหม่เป็น HOSxP ซึ่งมาจากคำว่า Hospital และ Experience และยังสื่อถึงภาพลักษณ์ของการใช้งานซอฟต์แวร์ ที่ในแต่ละหน้าจอ จะมีธีมที่เหมือนกับใช้งานใน Windows XP ไม่ว่าจะใช้งานใน Windows 98 หรือ Windows 200000
[แก้] ความสามารถ
- นำเงื่อนไขการใช้งานของ GNU/GPL เป็นสัญญาอนุญาตการใช้งาน โดยมีสาระสำคัญที่ผู้ใช้งานสามารถนำฮอสเอ๊กซ์พีไปใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และยังสามารถนำต้นรหัสไปศึกษาได้ด้วย
- ถูกออกแบบให้ทำงานโดยใช้คำสั่ง SQL ที่เป็นมาตรฐาน จึงสามารถทำงานได้กับ DBMS หลายตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ เช่น MySQL, Microsoft SQL, PostgreSQL, Interbase/Firebird
- มีระบบเก็บรูปภาพของผู้ป่วย เพื่อใช้ในการ Identify ผู้ป่วย โดยการเก็บรูปภาพจะใช้กล้อง Webcam และรูปภาพจะถูกแสดงทุกหน้าจอที่มีการดึงข้อมูลผู้ป่วยไปทำงาน
- มีระบบแสดงรูปทางการแพทย์ โดยได้มีการประยุกต์ใช้ระบบแสดงรูป DICOM เพื่ออำนวยความสะดวกในการอ่าน Film X-Ray หรือรูปภาพทางการแพทย์อื่นๆ
- รองรับการวาดรูปบาดแผล หรือ รูปแบบอื่นๆ ที่ทำให้แพทย์สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเขียนลงในกระดาษ และถ้าต้องการสามารถพิมพ์ออกมาจัดเก็บไว้ได้ นอกจากนี้ยังรองรับการเก็บภาพของแฟ้มเวชระเบียน เพื่อให้สามารถตรวจสอบประวัติเก่าๆ ได้
- มีระบบการแสดงประวัติของผู้ป่วยผ่าน Web (EMR - Electronic Medication Record) ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติของผู้ป่วยจากระยะไกลได้
- มีระบบประมวลผลสคริปต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแก่ผู้ดูแลระบบ โดยตัวสคริปต์จะใช้ภาษาปาสกาล ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถทำการปรับปรุงแก้ไข สคริปต์ช่วยเหลือ และ สคริปต์รายงาน ต่างๆ ได้เอง
- มีระบบการเข้าถึงข้อมูลและส่งออกข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เอ๊กซเซล, ดีเบส, เอกซ์เอมแอล, เฮชทีเอ็มแอล โดยการเข้าถึงข้อมูลจะใช้คำสั่งภาษา SQL
- มีระบบ Replication ภายในเป็นของตนเอง ซึ่งรองรับการทำ Asynchronous Replication ในแบบ Real time และ Offline
- มีระบบรายงานที่อนุญาตให้ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าไปแก้ไขหรือสร้างใหม่ได้เอง
- มี เว็บไซต์สำหรับเป็นที่แลกเปลียนหรือแสดงความคิดเห็นและแจ้งปัญหาในการใช้งานที่ซอร์ซฟอร์จ
- สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ โดยผู้พัฒนา ฮอสเอ๊กซ์พี ได้สร้าง Application template ที่เปิดให้ผู้พัฒนาท่านอื่นๆ นำไปพัฒนาเฉพาะระบบงานที่ต้องการและเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ ฮอสเอ๊กซ์พี ได้
[แก้] โรงพยาบาลที่กำลังใช้งานฮอสเอ๊กซ์พี
ปัจจุบันมีหน่วยบริการด้านสุขภาพตั้งแต่ระดับสถานีอนามัยไปจนถึงโรงพยาบาล ได้นำฮอสเอ๊กซ์พีไปใช้ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
|
|
นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่นำไปใช้ หรืออยู่ระหว่างการทดลองระบบ
[แก้] รางวัลที่ได้รับ
- Thailand ICT Award 2004 2nd Healthcare Application
- Thailand ICT Award 2005 1st Healthcare Application
- Thailand ICT Award 2005 Popular Award