อักษรยาวี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรยาวี เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามลายูถิ่นโดยได้ดัดแปลงจากอักษรอาหรับ (อารบิก) นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยคฺ อะหมัด อัล-ฟะฏอนี ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้
ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน)ตั้งแต่ยังเยาว์
คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายู ว่า “ภาษายาวี” แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้ว ไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวี และภาษามลายู
[แก้] ตัวอย่างการเขียนอักษรยาวี (เขียนจากขวาไปซ้าย)
วันจันทร์ (อิสนิน) | اثنين |
วันอังคาร (เซอลาซา) | ثلاث |
วันพุธ (ราบู) | رابو |
วันพฤหัสบดี (คามิส) | خميس |
วันศุกร์ (จุมอัต) | جمعة |
วันเสาร์ (สับตู) | سبتو |
วันอาทิตย์ (อาฮัด) | احد |