สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นราชสกุล "โรจนดิศ" เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานพระนามและพระพร ประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลีซึ่งมีคำแปลดังต่อไปนี้ "สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้บิดาตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้นว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไป เทอญ"
พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล
สารบัญ |
[แก้] ทรงศึกษา
พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์
- พ.ศ. ๒๔๑๘ เมื่อมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็น พระอุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร
- พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง พระชนมายุได้ 15 ปี
[แก้] ทรงงาน
- พ.ศ. ๒๔๒๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยโท ผู้บังคับการทหารม้า ในกรมทหารมหาดเล็กและในปีเดียวกันนี้ได้รับพระราชทานยศเป็น นายร้อยเอก ราชองค์รักษ์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมายุได้ 17 ปี
- พ.ศ. ๒๔๒๓ ได้รับพระราชทานยศเลื่อนเป็นนายพันตรี ผู้สนองพระบรมราชโองการ ว่าการกรมทหารมหาดเล็ก
- พ.ศ. ๒๔๒๔ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปสังกัดกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่า "กรมกองแก้วจินดา" ทรงจัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
- พ.ศ. ๒๔๒๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระ อุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พ.ศ. ๒๔๒๘ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันโท
- พ.ศ. ๒๕๒๙ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฎ และทรงประกาศแต่งตั้งให้ดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ"
- พ.ศ. ๒๔๓๐ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผ้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้รับพระราชทานยศเป็นนายพลตรี
- พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากงานฝ่ายทหารไปปฏิบัติงานทางพลเรือน ทรงเป็นผู้กำกับ กรมธรรมการ
- พ.ศ. ๒๔๓๓ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นอธิบดีกรม ศึกษาธิการ
- พ.ศ. ๒๔๓๕- ๕๘ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. ๒๔๔๒ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงดำรงราชานุภาพ"
- พ.ศ. ๒๔๕๔ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศ เป็น "กรมพระดำรงราชานุภาพ"
- พ.ศ. ๒๔๕๘ ดำรงตำแหน่งนายกหอพระสมุดสำหรับ พระนคร
- พ.ศ. ๒๔๖๖ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเป็นนายพลเอก
- พ.ศ. ๒๔๖๘ ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี
- พ.ศ. ๒๔๖๙ ดำรงตำแหน่งนายก ราชบัณฑิตยสภา
- พ.ศ. ๒๔๗๒ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"
[แก้] พระโอรสและพระธิดา
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด ๓๗ องค์ สิ้นชีพิตักษัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ก่อน ๑ ปี ๔ องค์ เหลือ ๓๓ องค์
[แก้] หม่อมเฉื่อย
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมเฉื่อยทั้งหมด ๘ องค์ คือ
- หม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๙๐) เษกสมรสกับ หม่อมแช่ม
- หม่อมเจ้าอิทธิดำรง ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๓๖)
- หม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๙) เษกสมรสกับ ม.ร.ว.หญิงสอิ้ง สนิทวงศ์ และ ม.ร.ว.หญิงสุทธิสอาด สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้ารัชลาภจิรฐิษ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๔๓)
- หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๕๑๐) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงลุอิสาณ์ จักรพันธุ์
- หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล(พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๕๓๓)
- หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๕๒๘)
- หม่อมเจ้าบันดาลสวัสดี ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๖๙) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าไตรทิพย์เทพสุต เทวกุล
[แก้] หม่อมนวม
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมนวมทั้งหมด ๕ องค์ คือ
- หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล(พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๕๒๑)
- หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๖๗) เษกสมรสกับ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
- หม่อมเจ้าหญิงสรรพสมบูรณ์ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๖๓)
- หม่อมเจ้าหญิงอีก ๒ องค์
[แก้] หม่อมลำดวน
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมลำดวนทั้งหมด ๖ องค์ คือ
- หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๕๐๙ ท่านพ่อของ ม.ร.ว.ปรียางศรี วัฒนคุณ) เษกสมรสกับ หม่อมสวาสดิ์ เกตุทัต
- หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๕๑๖)
- หม่อมเจ้าหญิงสิวลีวิลาศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๕๓๕)
- หม่อมเจ้าหญิงทักษิณาธร ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๖-๒๕๑๕)
- หม่อมเจ้าหญิงสุมณีนงเยาว์ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๕๑-ปัจจุบัน?) เษกสมรสกับ พ.อ.สุวัน์ วินิจฉัยกุล
- หม่อมเจ้าหญิง สิ้นชีพพิตักษัยเมื่อวันประสูติ
[แก้] หม่อมแสง
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมแสงทั้งหมด ๕ องค์ คือ
- หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๕๐๙) เษกสมรสกับ หม่อมลดา อินทรกำแหง
- หม่อมเจ้าหญิงบัยลุศิริสาณติ์ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๔๕๕)
- หม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภา ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๖-๒๕๒๔) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าอนันตนรไชย เทวกุล
- หม่อมเจ้าหญิงรัชมาลินี ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๕๒๘) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ ศุขสวัสดิ์
- หม่อมเจ้าหญิงกุมารีเฉลิมลักษณ์ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๕๘-ปัจจุบัน?)
[แก้] หม่อมเจิม
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมเจิมทั้งหมด ๘ องค์ คือ
- หม่อมเจ้านิพัทธพันธุดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๕๐๙) เษกสมรสกับ หม่อมรำไพ กันตามระ
- หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๕๑๘) เษกสมรสกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตน์บุษบง
- หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๕๔๖) เษกสมรสกับ หม่อมอรพินทร์ อินทรทูต
- หม่อมเจ้าหญิงมารยาตรกัญญา ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๕-ปัจจุบัน ๑๐๔ ชันษา)
- หม่อมเจ้าหญิงพรพิลาศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๕๑๙) เษกสมรสกับ ชวน บุนนาค
- หม่อมเจ้าหญิงพวงมาศผกา ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๕๒๖)
- หม่อมเจ้าหญิงเราหิณาวดี ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๒๗) เษกสมรสกับ หม่อมหลวงฉายชื่น กำภู
- หม่อมเจ้าหญิงกฤษณาพักตรพิมล ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๖๐-ปัจจุบัน?) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าประสพสุข ศุขสวัสดิ์
[แก้] หม่อมอบ
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมอบเพียงองค์เดียว คือ
- หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๕๒๗) เษกสมรสกับ หม่อมฉวีทิพย์ หงสนันท์
[แก้] หม่อมหลวงหญิงใหญ่ อิศรเสนา
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมหลวงหญิงใหญ่ อิศรเสนาเพียง ๒ องค์ คือ
- หม่อมเจ้าวีรดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๘๙)
- หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๕๔๓) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงภัทรลดา ฉัตรชัย พระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน กับ เจ้าหญิงลดาคำ ณ เชียงใหม่
[แก้] หม่อมหยาด
พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมอบเพียงองค์เดียว คือ
- หม่อมเจ้ากุมารดิศ ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๕๓๒) เษกสมรสกับ หม่อมอุบลวรรณ เก่งธัญการ
นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงมีหม่อมอีก 3 คน คือ หม่อมเป๋า หม่อมเยื้อน และ หม่อมเพิ่ม
[แก้] สิ้นพระชนม์
- เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ที่วังวรดิศ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ สิริรวมพระชนม์มายุได้ ๘๑ พรรษา ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นงานใหญ่ และงานสำคัญอย่างยิ่ง ของบ้านเมือง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการบริหารประเทศหลายด้าน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างสูง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยตรัสชมพระองค์ เปรียบเทียบว่าเป็นเสมือน "เพชรประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ" ผลงานด้านต่าง ๆ ของพระองค์แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันสูง เป็นที่ประจักษ์แก่มหาชนทุกยุคทุกสมัย
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง