ศาสตราจารย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ เป็นตำแหน่งสูงสุดทางวิชาการ แสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการในสาขานั้น ศาสตราจารย์มีหน้าที่หลัก 4 ประการในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงคือ
- ทำการสอน
- ทำการวิจัย
- ทำประโยชน์แก่สาธารณะ
- ทำการฝึกนักวิชาการ (สอน /เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา)
ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งทางวิชาการที่ต่อมาจากตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามลำดับ โดยต้องมีผลงานวิจัยดีเด่น หรือตีพิมพ์หนังสือเรียนและเป็นที่ยอมรับ
สารบัญ |
[แก้] ศาสตราจารย์ในประเทศไทย
ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ หรือใช้อักษรย่อว่า ศ. ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ ที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูงสุด และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่ง ตำแหน่งศาสตราจารย์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา เมื่อผ่านการประเมินแล้วจึงจะได้รับการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจผ่านเพียงการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัยนั้น ตามประเภทของศาสตราจารย์
[แก้] ประเภทของตำแหน่งศาสตราจารย์
[แก้] ตำแหน่งศาตราจารย์ประจำ
- ศาสตราจารย์ที่ต้องทำผลงานวิจัยและ/หรือแต่งตำรา โดยต้องผ่านกระบวนการทาง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย จะมีผู้อ่านผลงานวิจัย/ตำราว่าได้มาตรฐานตามเกณฑ์หรือไม่ ทาง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.)จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “ศาสตราจารย์” และ ต้องปรับฐานเงินเดือนให้เข้าสู่ตำแหน่งใหม่นั้นด้วย ศาสตราจารย์ประเภทนี้ เป็นศาสตราจารย์ที่เป็นพื้นฐานหลักของมหาวิทยาลัย เป็นตำแหน่งประจำ เช่น เป็นข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย (รวมทั้งมหาวิทยาลัยเอกชน) ที่สอนประจำอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา และมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.กำหนด
- ศาสตราจารย์คลินิก จะแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ทางด้านการสอนและการค้นคว้าวิจัยในภาคปฏิบัติ เช่น แพทย์เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่สอนนักศึกษาแพทย์ด้านคลีนิก มีการค้นคว้าทดลองวิธีการรักษา หรือค้นพบสิ่งใหม่ในทางปฏิบัติ ได้นำผลนั้นมาเผยแพร่และสอนทางปฏิบัติที่มีคุณค่าทางวิชาการ แต่มีรูปแบบของผลงานไม่เข้าเกณฑ์ที่ใช้ขอตำแหน่งตามปกติ
- ในต่างประเทศ มีการตั้งตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ" (Professor of practice) สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถสูงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพนั้นๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนสาขาวิชาชีพ เช่น สาขาการออกแบบวางแผน หรือการบัญชีเชิญมาเป็นอาจารย์สอนประจำแบบไม่เต็มเวลา หรือไม่ครบ 4 องค์ประกอบหลัก บางครั้งเรียก "Adjuct professor"
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ หมายถึง "อาจารย์ประจำ" ผู้เคยเป็นศาสตราจารย์มาแล้วจากการวิจัยและ/หรือแต่งตำราของมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญพิเศษได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในสาขาวิชานั้น ๆ มาก่อน และเกษียณอายุราชการแล้ว ที่สถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ เห็นสมควรแต่งตั้งเพื่อให้สร้างคุณประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่ภาคหรือสาขาวิชานั้น ๆ ต่อไป โดยถือว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งยังคงมีสิทธิ์ใช้ชื่อศาสตราจารย์นำหน้า และยังสามารถบ่งบอกสังกัดตนได้ต่อไปจนถึงแก่กรรมหรือเมื่อทำความผิดร้ายแรง ตำแหน่งนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Professor Emeritus" ซึ่งธรรมเนียมการใช้ชื่อในภาษาอังกฤษจะใช้โยงกับสาขาวิชา เช่น "Professor Emeritus of Mathematics Isaac Newton" หรือ "Isaac Newton,Professor Emeritus of Mathematics" เป็นต้น
- การใช้ชื่อ "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ "กิตติคุณ" ส่วนมหาวิทยาลัยมหิดลใช้ "เกียรติคุณ" เป็นต้นซึ่งเหมือนกัน อนึ่ง ความเป็นอาจารย์ประจำในกรณีนี้ หมายถึง การผูกพันเป็นการประจำกับคณะที่ขอแต่งตั้ง ต่างกับศาสตราจารย์เกษียณอายุที่ได้รับการต่ออายุราชการถึง 65 ปี ซึ่งถือเป็นการทำงานประจำเต็มเวลาปกติเหมือนอาจารย์ประจำทั่วไป ในประเทศไทยยังมีผู้เข้าใจว่าศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกทั่วไปเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้นโดยไม่ต้องเป็นศาสตราจารย์มาก่อนซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
[แก้] ตำแหน่งศาตราจารย์ที่แต่งตั้งโดยวิธีอื่น
มหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งบุคคลภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญยิ่งในสาขาวิชาที่เป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีของนักวิชาการชั้นเยี่ยม มีมาตรฐานสูงทางคุณธรรม จริยธรรม และมีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น โดยมหาวิทยาลัยกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนหรือเงินตอบแทนจากทุนต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่เป็นงานทางวิชาการ โดย
-
- ศาสตราจารย์พิเศษ แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันนั้น ๆ โดยต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านวิชาการ ที่อาจจะเป็นอาจารย์พิเศษทรงคุณวุฒิสูง และทำหน้าที่สอนให้มหาวิทยาลัยมานาน หรือเป็นบุคคลที่ได้อุทิศตัว มีความรู้มีประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านการประเมิน โดยการกลั่นกรองจากสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาเสนอ การแต่งตั้งจะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
-
- ศาสตราภิชาน" เป็นตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มีชื่อผู้อุปถัมภ์ประจำอยู่ ภาษาอังกฤษใช้ว่า "Chair Professor" หมายถึง เก้าอี้หรือตำแหน่งเฉพาะที่ตั้งไว้สำหรับศาสตราจารย์เฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่งที่มีผู้มาตั้งไว้พร้อมทั้งเงินตอบแทนหรือเงินเดือน เป็นตำแหน่งที่ตั้งไว้สำหรับผู้มีความรู้ความชำนาญสูงสุดเป็นที่ยอมรับในหมู่ปราชญ์สาขาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยเชิญมา ในต่างประเทศ ตำแหน่งศาสตราจารย์ในกลุ่มนี้ เช่น Lucasian professor of mathematics ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสตราภิชานที่เรียกเต็มว่า "Lucasian Chair of Mathematics" เป็นตำแหน่งที่ เฮนรี ลูคัส ตั้งไว้ที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2206 และได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ล ที่ 2 ในปีถัดมา(ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) นับถึงปัจจุบันมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้เพียง 17 คน ในจำนวนนี้ ไอแซก นิวตันอยู่ในลำดับที่ 2 และสตีเฟน ฮอว์คิงซึ่งได้รับตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน
- ตำแหน่งศาสตราภิชานที่มีเกียรติสูงเป็นตำแหน่งเฉพาะสาขาวิชา มีตำแหน่งเดียวและมักเป็นตำแหน่งตลอดชีพ จะว่างเมื่อผู้ครองตำแหน่งถึงแก่กรรม ไร้ความสามารถ หรือลาออก
- ศาสตราภิชาน" เป็นตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มีชื่อผู้อุปถัมภ์ประจำอยู่ ภาษาอังกฤษใช้ว่า "Chair Professor" หมายถึง เก้าอี้หรือตำแหน่งเฉพาะที่ตั้งไว้สำหรับศาสตราจารย์เฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่งที่มีผู้มาตั้งไว้พร้อมทั้งเงินตอบแทนหรือเงินเดือน เป็นตำแหน่งที่ตั้งไว้สำหรับผู้มีความรู้ความชำนาญสูงสุดเป็นที่ยอมรับในหมู่ปราชญ์สาขาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยเชิญมา ในต่างประเทศ ตำแหน่งศาสตราจารย์ในกลุ่มนี้ เช่น Lucasian professor of mathematics ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสตราภิชานที่เรียกเต็มว่า "Lucasian Chair of Mathematics" เป็นตำแหน่งที่ เฮนรี ลูคัส ตั้งไว้ที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2206 และได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ล ที่ 2 ในปีถัดมา(ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) นับถึงปัจจุบันมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้เพียง 17 คน ในจำนวนนี้ ไอแซก นิวตันอยู่ในลำดับที่ 2 และสตีเฟน ฮอว์คิงซึ่งได้รับตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน
-
- ศาสตราจารย์กิตติเมธี ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร หากแปลตามชื่อจะได้ว่าเป็นนักปราชญ์หรือนักวิจัยผู้มีชื่อเสียง ซึ่งอาจตรงกับ "Research Professor" ของบางประเทศ มีการตั้งศาสตราจารย์ประเภทนี้แพร่หลายขึ้นในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยของภาครัฐและภาคเอกชน
- อย่างไรก็ดี ทั้งตำแหน่งศาสตราภิชาน และศาสตราจารย์กิตติเมธีอาจมีเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่งไม่เหมือนกัน เช่น ศาสตราภิชานของไทยมีวาระเพียงปีเดียว
- ศาสตราจารย์กิตติเมธี ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร หากแปลตามชื่อจะได้ว่าเป็นนักปราชญ์หรือนักวิจัยผู้มีชื่อเสียง ซึ่งอาจตรงกับ "Research Professor" ของบางประเทศ มีการตั้งศาสตราจารย์ประเภทนี้แพร่หลายขึ้นในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยของภาครัฐและภาคเอกชน
-
- ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ การตั้งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์จากผู้ไม่มีความรู้แต่ทำประโยชน์ เช่น บริจาคเงินแก่มหาวิทยาลัยมีน้อยมาก หรือเรียกว่า ไม่มี
- ส่วนใหญ่เมื่อขึ้นชื่อว่าศาสตราจารย์แล้ว จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการสอน การวิจัย การทำประโยชน์และการฝึกบัณฑิตเป็นอย่างสูงที่ผ่านการประเมินเฉพาะสาขาวิชานั้นๆ มาแล้วเท่านั้น ศาสตราจารย์ที่ไม่ต้องทำผลงานวิจัย หมายถึง ผู้ที่แต่งตำราในระดับดีมากหลายเล่มเพียงแต่ขณะขอรับการพิจารณาไม่มีงานวิจัยมากพอ โดยทั่วไป ถือกันว่าตำราระดับดีมากเป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงความรู้ความสามารถทางวิชาการในระดับเทียบเท่าหรือสูงกว่างานวิจัยได้ในบางกรณี งานวิจัยที่ได้รับการยอมรับว่าดีกว่าตำราระดับดีมาก ได้แก่ งานวิจัยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติหรือระดับชาติ เช่น รางวัลโนเบล รางวัลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
- ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ การตั้งศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์จากผู้ไม่มีความรู้แต่ทำประโยชน์ เช่น บริจาคเงินแก่มหาวิทยาลัยมีน้อยมาก หรือเรียกว่า ไม่มี
[แก้] จำนวนศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ข้อมูลจำนวนผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง "ศาสตรจารย์" ของประเทศไทย ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 รวม 290 คน ดังต่อไปนี้
- มหาวิทยาลัยมหิดล 119 คน
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 64 คน
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 29 คน
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 23 คน
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น 18 คน
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 11 คน
- มหาวิทยาลัยศิลปากร 10 คน
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8 คน
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 5 คน
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3 คน
หากคิดสัดส่วนต่อจำนวนประชากร 65 ล้านคน ประเทศไทยมีศาสตราจารย์ 1 คนต่อประชากร 224,000 คน
[แก้] ดูเพิ่ม
- ศาสตราจารย์ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ en:Emeritus_professor
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ en:Emeritus
- Lucasian Chair Professor (ตัวอย่างศาสตราภิชาน) en:Lucasian_professor
- รายนามศาสตราภิชานคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ[1]