รองเท้านารีเหลืองปราจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองเท้านารีเหลืองปราจีน เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นพุ่มต้นกว้างประมาณ 20-25 ซม. สูงประมาณ 10-20 ซม. ใบกว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 10-20 ซม. ใบด้านบนเป็นลายสีเขียวสลับเขียวอ่อน ใต้ท้องใบมีจุดประสีม่วงเล็กน้อย ดอกกว้างประมาณ 3.5-7 ซม. ก้านช่อดอกค่อนข้างสั้นประมาณ 5-7 ซม. ช่อหนึ่งมี 1-2 ดอก กลีบบนและกลีบในสีเหลืองมีจุดประสีม่วงกระจายทั่วกลีบ
พบอยู่ตามภูเขาหินปูน โดยขึ้นอยู่สูง 300-500 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณป่าเบญจพรรณ ที่อยู่ใกล้ทะเลหรือใกล้ลำธาร โดยขึ้นอยู่พื้นที่ค่อนข้างแฉะ ความชื้นสูง ปกคลุมด้วยพืชชั้นต่ำพวกมอส ซากใบไม้ที่ผุพังทับถม ได้รับแสงค่อนข้างมาก เป็นรองเท้านารีที่มีการกระจายพันธุ์เป็นบริเวณกว้าง ในประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชาเวียดนาม และตอนใต้ของจีน
- ชื่อพื้นเมืองอื่น:
- ชื่อสามัญ: เหลืองปราจีน
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum concolor (Lindl.) Pfitzer
- สกุล: Paphiopedilum
- วงศ์: ORCHIDACEAE
- วงศ์ย่อย: Cypripedioideae
- ประเภท:
- ค้นพบโดย: Mr.C. Parish ในปี 1859
- ลักษณะ:
- การเติบโต:
- ฤดูกาลออกดอก: มีนาคม – พฤษภาคม
[แก้] ดูเพิ่ม
รองเท้านารีเหลืองปราจีน เป็นบทความเกี่ยวกับ พืช ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |