พระอภัยมณี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอภัยมณี | |
---|---|
กวี : | สุนทรภู่ |
ประเภท : | นิทานคำกลอน |
คำประพันธ์ : | กลอนสุภาพ |
ความยาว : | 94 เล่มสมุดไทย |
สมัย : | ต้นรัตนโกสินทร์ |
ปีที่แต่ง : | ราวรัชกาลที่ 3 |
ชื่ออื่น : | |
ลิขสิทธิ์ : | |
พระอภัยมณี เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของไทย ทั้งยังมีความยาวมากถึง 94 เล่มสมุดไทย เมื่อพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ มีความยาวกว่าหนึ่งพันสองร้อยหน้า ผู้แต่งคือพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์นับเป็นวรรรณคดีไทยที่มีชื่อเสียงในอับดันต้นๆ ทั้งยังได้รับการถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องเล่าร้อยแก้ว นิทานภาพ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
สุนทรภู่น่าจะได้แต่งเรื่องพระอภัยมณีตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 2 โดยค่อยแต่งทีละเล่มสองเล่มเรื่อยไป และยังแต่งๆ หยุดๆ เป็นหลายครั้ง ในตอนแรกเขียนจบไว้ที่ 49 เล่มสมุดไทย ตอนพระอภัยมณีออกบวช แต่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงมีรับสั่งให้แต่งต่อ ในที่สุดจึงได้ความยาวถึง 94 เล่มสมุดไทย ทว่านักวรรณคดีบางท่านเสนอความเห็น ว่าในเล่มหลังๆ อาจไม่ใช่สำนวนของสุนทรภู่เพียงคนเดียว
[แก้] เนื้อเรื่อง
เริ่มต้นที่กรุงรัตนา ที่มีท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสร มีพระโอรสสององค์ คือ พระอภัยมณี และศรีสุวรรณ พระบิดารับสั่งให้โอรสทั้งสองไปเรียนศิลปวิทยา ในที่สุดพระอภัยมณีได้เรียนวิชาปี่ ขณะที่ศรีสุวรรณได้เรียนวิชากระบี่กระบอง เมื่อสำเร็จวิชา ก็ได้เสด็จกลับคืนพระนคร ทว่าพระบิดาทรงกริ้ว ด้วยพระโอรสไปเรียนวิชาชั้นต่ำ ไม่คู่ควรแก่กษัตริย์ จึงไล่ทั้งสองออกจากพระนคร แล้วการผจญภัยของพระอภัยมณีและศรีสุวรรณก็เริ่มต้นตั้งแต่ต้น
ทั้งสองได้พบปะกับผู้คนมากมาย ต่างได้พบคู่และอยู่ร่วมกันฉันท์ผัวเมีย และพบเหตุเพทภัยนานาอย่างน่าตื่นเต้น และสนุกสนาน โดยเฉพาะเมื่อมีตัวละครเด่นขึ้นมาประกอบอีกหลายตัว เช่น สินสมุทร และสุดสาคร โอรสของพระอภัยมณี รวมถึงนางยักษ์ผีเสื้อสมุทร โดยมีฉากสำคัญๆ หลายบทหลายตอนด้วยกัน
สื่อ:Example.oggใส่ข้อความที่ไม่จัดรูปแบบที่นี่
ชื่อลิงก์ตัวเอียงตัวหนา==คำประพันธ์== คำประพันธ์ในเรื่องพระอภัยมณี เป็นกลอนสุภาพทั้งหมด ด้วยเป็นความถนัดอย่างพิเศษของกวีผู้นี้ ภาษาที่ใช้มีความเรียบง่ายตามแบบฉบับของสุนทรภู่ มีสัมผัสในไพเราะงดงามโดยตลอด ทำให้เป็นที่นิยมอ่านเรื่อยมา แม้ในปัจจุบัน
[แก้] ข้อความหัวเรื่อง
เนื้อเรื่อง พระอภัยมณีได้นางเงือกเป็รภรรยา แล้วได้ลูกชื่อว่า สุดสาคร อายุก็ไล่ประมาณสินสมุทรซึ่งสินสมุทรเป็นพี่ชายของสุดสาครหลังปราบนางยักษ์ได้แล้ว สุดสาครได้ออกตามหาพ่อแล้วได้ม้านิลมังกรเป็นเพื่อน
[แก้] บทกลอนจากพระอภัยมณี
ความไพเราะของถ้อยคำและสำนวนในนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ทำให้มีผู้ที่ชื่นชอบ และท่องบทกลอนจากเรื่องนี้ได้หลายบท ในที่นี้ขอยกบทกลอนที่รู้จักกันดีมาให้ได้อ่าน ดังนี้
- บทเริ่มต้น
แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์ | ||
สมมุติวงศ์ทรงนามท้าวสุทัศน์ | ผ่านสมบัติรัตนานามธานี | |
อันกรุงไกรใหญ่ยาวสิบเก้าโยชน์ | ภูเขาโขดเป็นกำแพงบูรีศรี | |
สะพรึบพร้อมไพร่ฟ้าประชาชี | ชาวบูรีหรรษาสถาวร | |
มีเอกองค์นงลักษณ์อรรคราช | พระนางนาฏนามประทุมเกสร | |
สนมนางแสนสุรางคนิกร | ดังกินนรน่ารักลักขณา | |
มีโอรสสององค์ล้วนทรงลักษณ์ | ประไพพักตรเพียงเทพเลขา | |
ชื่ออภัยมณีเป็นพี่ยา | พึ่งแรกรุ่นชันษาสิบห้าปี | |
อันกุมารศรีสุวรรณนั้นเป็นน้อง | เนื้อดังทองนพคุณจำรุณศรี | |
พึ่งโสกันต์ชันษาสิบสามปี | พระชนนีรักใคร่ดังนัยนาฯ |
- เมื่อพระฤๅษีสอนสุดสาคร หลังถูกชีเปลือยผลักตกหน้าผา เอาม้ามังกรและไม้เท้ากายสิทธิ์ไป
บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว | สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา | |
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา | ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต | |
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ | มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด | |
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวจนเลี้ยวลด | ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน | |
อันมนุษย์นี้ที่รักสองสถาน | บิดามารดารักมักเป็นผล | |
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน | เกิดเป็นคนคิดเห็นเจรจาฯ | |
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ | ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา | |
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา | รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี | |
จงคิดตามไปเอาไม้เท้าเถิด | จะประเสริฐสมรักเป็นศักดิ์ศรี | |
พอเสร็จคำสำแดงแจ้งคดี | รูปโยคีหายวับไปกับตาฯ |
- นางวาลีเตือนสติพระอภัยมณี เมื่อพระอภัยมณีจะปล่อยอุศเรนไป
ประเวณีตีงูให้หลังหัก | มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง | |
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง | เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย | |
อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า | ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย | |
ต้องตำรับจับให้มั่นคั้นให้ตาย | จะทำภายหลังยากลำบากครัน | |
จะพลิกพลิ้วชิวหาเป็นอาวุธ | ประหารบุตรเจ้าลังกาให้อาสัญ | |
ต้องตัดศึกลึกล้ำที่สำคัญ | นางหมายมั่นมุ่งเห็นจะเป็นการฯ |
- เมื่อพระอภัยมณีเป่าปี่ ช่วยศรีสุวรรณ สินสมุทร และพราหมณ์ทั้งสาม
พระโหยหวลครวณเพลงวังเวงจิต | ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง |
โอ้จากเรือนเหมือนนกที่จากรัง | อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย |
ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้ | ร่ำพิไรรัญจวนหวลละห้อย |
โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย | น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร |
หนาวอารมณ์ลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น | ระรวยรื่นรินรินกลิ่นเกสร |
แสนสงสารบ้านเรือนเพื่อนที่นอน | จะอาวรณ์อ้างว้างอยู่วังเวง |
วิเวกแว่วแจ้วเสียงสำเนียงปี่ | พวกโยธีทิ้งทวนชนวนเขนง |
ลงนั่งโยกโงกหงับทับกันเอง | เสนาะเพลงเพลินหลับระงับไปฯ |