ซูสีไทเฮา (นวนิยาย)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุณสามารถช่วยตรวจสอบ และแก้ไขบทความนี้ได้ด้วยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิธีการแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย และเมื่อแก้ไขตามนโยบายแล้ว สามารถนำป้ายนี้ออกได้ |
ความนำ วรรณกรรมเรื่อง ซูสีไทเฮา นี้ เป็นเกร็ดพงศาวดารจีน ซึ่งศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ลงไว้ในบทความลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ด้วยความที่ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ผู้เขียนมีความรู้สึกมาแต่เด็ก ๆ ว่า หนังสือพิมพ์กับเรื่องจีน หรือที่เรียกกันว่า “เกร็ดพงศาวดาร-จีน”นั้น เป็นของคู่กัน ครั้นต่อมาได้มาจับทำหนังสือพิมพ์เข้าเอง และถึงแม้ว่ากาลสมัยจะได้เปลี่ยนไปแล้ว ก็ยังรู้สึกว่าขาด ๆ ไป ถ้าหากหนังสือพิมพ์ไม่มีเรื่องจีนลงต่อกันทุก ๆ วัน อย่างที่เคยเห็นแต่ก่อน เมื่อมีโอกาสเขียนเรื่องยาวลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐคราวนี้จึงใคร่ลองเขียนดูสักเรื่อง”
อนึ่ง วรรณกรรมเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวประวัติของพระนางฮองไทเฮาซูสี ซึ่งเป็นสตรีที่มีประวัติโลดโผนที่สุดคนหนึ่งในโลก พระนางฮองไทเฮาซูสี ได้ครองแผ่นดินจีนอยู่ถึง๔๗ปีเศษ ในตลอดการครองอำนาจของพระนางฯก็ได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นมากมาย เนื่องด้วยความไม่ดูแลใส่ใจในราชกิจ และมัวเหลิงรื่นเริงกับการเสพย์สุขและขาดการใช้วิจารณญาณอย่างระมัดระวังในการบริหารราชกิจ แม้กระทั่งในยามที่พวกฝรั่งฮวนเข้าบุกรุกแผ่นดินจีนอันยิ่งใหญ่ก็ยังหาได้มีความใส่ใจ และให้ความสำคัญต่อบรรดาเหล่าขุนนางน้อยใหญ่ไม่ ถึงกระทั่งสั่งประหัตประหารบรรดาผู้ภักดีคอยทัดทานตนเสียอีก มากระนี้ก็มิวายที่จะหลงเชื่อในไสยศาสตร์พาลเชื่อพวกนักมวย ในการสู้รบกับพวกฮวนตะวันตก ซึ่งอุดมไปด้วยสรรพาวุธ และมีการช่วงชิงอำนาจจากพระเจ้าแผ่นดินมาหลายรัชสมัย ยังแต่จะทำลายจารีตระเบียบราชการแผ่นดินที่มิให้สตรีมาเป็นใหญ่ ยุ่งเกี่ยวในราชกิจ อันความมิใส่ใจในอาณาราษฎรของนางเยโฮนาลาหรือพระนางฮอง-ไทเฮาซูสีนั้น จึ่งก่อความพินาศบนผืนแผ่นดินจีน หาได้ผาสุกดั่งเช่นที่ผ่านมาหลายพันปี และอยู่เหนืออาณาราษฎรหลายร้อยล้านคน ด้วยวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ชิ้นนี้ ควรคุณค่าแก่การนำมาเป็นภาพสะท้อนทางสังคม ในทุก ๆ วงการ สาขา อีกทั้ง การสั่งสมความรู้ควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินใจในการอ่านงานเขียนชิ้นนี้
อันด้วยงานเขียนชิ้นนี้ได้ถูกประพันธ์ขึ้นโดยนักเขียนชั้นแนวหน้า ผู้เป็นนักปราชญ์ในรอบด้านและ เป็นที่ยอมรับในสังคม ทั้งในและนอกประเทศ ผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ได้คาดหวังว่า การวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง ซูสีไทเฮา นี้ จักสามารถคัดกรองนำเอาเนื้อหาโดยสรุปมาไว้ได้โดยเป็นที่พอใจของท่านผู้อ่าน ถึงแม้ว่าจักไม่สามารถสอดแทรกอัฐรสในเนื้อหาได้ดีเท่าท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ก็ตาม แต่ทางคณะผู้จัดทำก็ขอน้อมรับคำติชมทุกประการมา ณ ที่นี้
โครงเรื่องของวรรณกรรมไทยเรื่อง “ซูสีไทเฮา”
แผ่นดินจีนในสมัยราชวงศ์ไต้เช็ง ตราบแต่เริ่มแผ่นดินไต้เช็งนี้ แผ่นดินจีนก็ราบคาบ ผาสุกกันมาช้านานหลายชั่วกษัตริย์ ครั้นถึงแผ่นดินพระเจ้าเตากวง ก็ได้มีผู้พูดเล่าลือกันทั่วไปเป็นสำนวนพังเพยว่า “หากมีสตรีแซ่เยโฮนาลาขึ้นครองแผ่นดินเมื่อใด แผ่นดินไต้เช็งจะสิ้นวงศ์ถึงกาลปริโยสาน และแผ่นดินจีนทั้งปวงก็จะเกิดจลาจลวุ่นวายหาความสุขมิได้”
ตราบมาชั่วสมัยหนึ่ง ณ เมืองฮูนัน ได้มีขุนนางคนหนึ่งที่ชื่อฮ่วยเจียง มียศตำแหน่งฐานะเป็นนายทหารผู้น้อย ภรรยาของฮ่วยเจียงนั้นชื่อนางนิวฮูลู่เป็นชาวเม่งจูด้วยกัน ทั้งสองได้อยู่กินกันมาหลายปีนักกระทั่งให้กำเนิดบุตรขึ้นสามคน ลูกคนโตเป็นหญิงจึงให้ชื่อตามนามแซ่ของฮ่วยเจียงว่า นางเยโฮนาลา บุตรคนรองชื่อไกวเสียง และบุตรคนเล็กชื่อนางเบญจมาศ นางเยโฮนาลานี้เป็นผู้ที่มีน้ำใจกล้าหาญ ลักษณะห้วงท่าที่งามสง่า และปฏิภาณไหวพริบที่มีอยู่เป็นเลิศ เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนเล่น ลูกชาวบ้านทั้งปวงก็ชอบแต่ที่จักบังคับบัญชาความต่าง ๆ อยู่ร่ำไป และเป็นที่เกรงขามในหมู่เพื่อน ๆ ฝูงยิ่งนัก เมื่อคราหนึ่ง หลังจากที่บิดาของนางสิ้นชีวิตแล้ว นางก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงพาครอบครัวย้ายที่อยู่มายังปักกิ่ง ที่ตรอกสีลาฮูตุ้ง แปลเป็นภาษาไทยว่าตรอกตะกั่ว ในระยะเวลาที่อพยพมาอยู่ที่ตรอกนี้ได้มินานนัก ก็เป็นขณะเดียวกับที่ทางพระเจ้าเซียนเฝ็งเสด็จขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าเตากวงฮ่องเต้ผู้เป็นบิดา ขณะนั้นพระเจ้าเซียนเฝ็งฮ่องเต้มีพระชันษายี่สิบปีเศษ ยังไม่มีพระมเหสี เมื่อสิ้นกาลไว้ทุกข์แล้ว พระนางฮองไทเฮาผู้เป็นพระมารดาจึงตรัสสั่งให้หาสตรีเม่งจูผู้มีสกุลเข้ามาเป็นสนมกำนัล และส่งบรรดาขันทีแยกย้ายกันไปในหัวเมืองต่าง ๆ เที่ยวตรวจดูสตรีผู้ใดรูปลักษณะดี มีปัญญาเฉลียวฉลาด ก็ให้ขันทีนำตัวเข้าวัง โดยฝ่ายนางเยโฮนาลาและนางเบญมาศก็มีชื่ออยู่ในทะเบียนสตรีเม่งจู เมื่อปักกิ่งนั้นด้วย กรมการเมืองปักกิ่งก็นัดวันให้นางนิวฮูลู่ตระเตรียมบุตรสาวไว้คอยรับขันทีที่มาตรวจ นางนิวฮูลู่ครั้นพอเห็นชื่อบุตรสาวของตนติดในทะเบียนก็ดีใจยิ่งนัก รีบหาเสื้อผ้าของแต่งตัวบุตรสาวไว้อย่างงดงาม เพื่อว่าขันทีมาตรวจจะได้ออกมารับได้ทันการ อนึ่งลิเลียนยิงผู้ที่เป็นขันทีสำหรับมาตรวจดูสตรีนั้น ขณะที่เดินไป่ยังบ้านเรือนใด ๆ ก็จะมีของกำนัลราคาแพงเตรียมไว้ให้ทุกบ้าน เพราะด้วยเมืองปักกิ่งนี้เป็นที่ชุมชนคนมีทรัพย์ เมื่อลิเลียนยิง ผ่านบ้านไหน เห็นข้าวของบ้านใดบริบูรณ์ก็จะเข้าไปตรวจก่อน ทรัพย์สินใดที่วางไว้ลิเลียนยิงก็จะพยักหน้าให้เจ้าพนักงานนั้นหยิบออกมา เจ้าก็หาได้มีผู้ใดกล้าทัดทานไม่ พอครั้นบ้านใดให้ทรัพย์เป็นที่พอใจแล้ว ลิเลียนยิงจึงจดชื่อบุตรสาวบ้านนั้น และสั่งให้บิดามารดา นำตัวบุตรสาวส่งเข้าวัง พอลิเลียนยิงเข้ามาในบ้านนางนิวฮูลู่ก็กวาดตาดูสัมภาระเครื่องใช้ทั้งปวง ครั้นเห็นว่าข้าวของเครื่องใช้เป็นของเลวราคาถูก จึงปรารภกับชาววังพนักงานว่า “เรามาที่บ้านนี้เห็นทีจะหาประโยชน์อันใดมิได้ คงเสียเวลาเปล่าเป็นอันแน่ เจ้าจงไปพูดกับเจ้าบ้านเถิด ถึงอย่างไรเราก็ต้องมาตรวจตราตามทะเบียน เราขี้คร้านจะพูดแล้ว” ชาววังพนักงาน จึงไปตะโกนถาม และว่าบัดนี้เหลือสตรีให้บรรจุได้อีกไม่กี่คน ฝ่ายนางนิวฮูลู่เป็นผู้รู้เป็นคนรู้ธรรมเนียมของขันทีอยู่ จึงพูดจากชักจูงให้สงสารในความอัตคัดของตน ลิเลียนยิงจึงกล่าวดูถูก แล้วว่าเขียนชื่อไปก็เปลืองน้ำหมึกเสียเปล่า ๆ นางเยโฮนาลาได้ยินดั่งนั้นจึงร้องตอบไปว่า “ท่านมีราชการมากนัก ข้าพเจ้าไม่จำต้องออกไปให้เสียเวลาท่านเปล่า ๆ ขอท่านจงจดลงไปว่าข้าพเจ้าไม่สมควรเถิด ลิเลียนยิงได้ยินเสียงนางไพเราะกังวานไพเราะนักก็สงสัย จึงให้นางเยโฮนาลาออกมาพบ นางก็ร้องตอบออกมาว่า “ธรรมดาดอกไม้งามก็ชอบที่จะรักษาตนเกรงขามแก่หมู่ภมร แต่ภมรอันเป็นที่เกรงขามแก่หมู่ดอกไม้นั้นเพราะมีเหล็กในเป็นอาวุธ หากแมลงภู่นั้นสิ้นเหล็กในเสียแล้วก็หาเป็นที่เกรงขามแก่หมู่ดอกไม้นั้นไม่ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงสมัครใจจะอยู่ในห้องนี้ หากแต่หาด้วยเหตุอันเกรงกลัวท่านไม่” ฝ่ายลิเลียนยิง ได้ยิงนางกล่าวได้คมคายยิ่งนักจึ่งอยากจะยิ่งพบให้ได้ และท้ายสุดด้วยมายาแห่งนางเยโฮนาลาก็ไดทำให้ลิเลียงยิงได้เกรงและน้อมรับเข้าวัง รวมถึงนางจึงให้ผ้าผืนหนึ่งเป็นของกำนัลแก่ลิเลียนยิง
เมื่อครั้นนางได้เข้าไปอยู่ในฐานะนางสนมที่ภายในพระราชวังแล้ว ก็ได้วานลิ-เลียนยิงให้ไปดักตรวจสอบแหล่งผ่านเสด็จของฮ่องเต้ ครั้นนางรู้ว่าที่สวนดอกไม้นี้อีกไม่ช้าพระองค์จักเสด็จมา นางจึงถอดเครื่องแต่ง เหลือเพียงแต่เสื้อชั้นในอันทำด้วยแพรอย่างบาง และนางก็สลัดรองเท้าที่ส่อยู่ออกให้เห็นเหลือเพียงเท้าเปล่า จากนั้นก็นั่งดีดพิณอยู่บนเก๋ง ทำท่าเป็นไม่รู้ว่าฮ่องเต้เสด็จมา จากนั้นก็หว่านมายากระทั่งพระเจ้าเซียนเฝ็งฮ่องเต้รู้สึกจับใจในตัวนางยิ่ง จากนั้นนางก็เป็นที่โปรดปรานในพระองค์ยิ่ง จากนั้นนางก็แสร้งทำว่าตัวท้องเพื่อแข่งขันกับพระนางมเหสี และพูดจาเรื่องราชการแผ่นดินแนะนำในพระองค์ กระทั่งพระเจ้าเซียนเฝ็งไว้วางพระทัย มอบหมายให้นางตรวจราชการแทน สร้างความไม่พอใจให้แก่บรรดาขุนนางตงฉินเป็นยิ่งนัก ด้วยความที่พระเจ้าเซียนเฝ็งไม่ทรงใส่ใจในราชกิจปล่อยปละให้สตรีขึ้นมาสั่งราชการดั่งนี้แล้ว จึงนับว่านางได้ถืออำนาจบัญชาไว้อย่างเต็มที่ ครั้นจะทำการอันใดหาได้กราบบังคมทูลให้ทรงใช้พระราชวินิจฉัยก่อนออกราชโองการเลย เมื่อถึงคราหนึ่งใกล้กำหนดคลอด นางจึ่งให้ลิ-เลียนยิง ไปหาลูกชาวบ้านที่เกิดในวันใกล้คลอดเหมือนตนมาอุ้มเลี้ยงไว้ ทว่ามีขันทีผู้ใหญ่รายหนึ่งไปพบเห็นเข้า จึ่งเก็บงำไว้เพื่อบังคับขู่พระนางเยโฮนาลา ในส่วนของพระนางจึงไม่พอใจนัก ในท้ายสุดก็วางแผนสังหารหัวหน้าขันทีรายนั้น และตั้งลิเลียนยิงขึ้นตำแหน่งแทน เมื่อครั้นพระเจ้าเซียนเฝ็งเสวยราชสมบัติได้เจ็ดปี พวกฮวนผมแดงก็ได้มีใจกำเริบขึ้น มิได้มีความยำเกรง ส่งทูตของตนมาเจรจาสัญญาคุกคามด้วยประการต่าง ๆ พระเจ้าเซียนเฝ็งก็ได้มีความวิตกได้นำเรื่องมาปรึกษาพระนางเยโฮนาลา ทว่านางได้กล่าววาจาให้พระองค์ทรงประมาทในพวกฮวนหัวแดง และท้ายสุดพวกฮวนตะวันตกก็ใช้เรือไฟยิงปืนไฟ จนค่อยทยอยยึดป้อมตามชายพระราชอาณาจักรเอาไว้ได้ นางเยโฮนาลาก็ดีแต่เพียงบำเรอฮ่องเต้มิให้สนพระทัยในทุกข์ภัยของบ้านเมือง ปล่อยปละให้พระองค์เสพย์บำเรอด้วยเมถุนต่าง ๆ นานา และลอบวางยาพิษแก่พระองค์ด้วยสรรพคุณอันไร้สีแลรสผสมลงในยาบำรุงพระอนามัย กระทั่งในท้ายสุดตราหยกประจำพระ-ราชบัลลังค์ก็ถูกลิเลียนยิงลอบขโมยมาในขณะที่พระเจ้าเซียนเฝ็งทรงประชวรด้วยพิษยา และในไม่ช้าก็ทรงสวรรคตเป็นที่สุด จากนั้นก็ได้อัญเชิญพระราชบุตรผู้มีพระชนม์มายุเพียงสี่ปีเศษ ขนานพระนามว่า พระเจ้าตุงจี่ฮ่องเต้ ในขณะนี้พระนางเยโฮนาลาก็ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนในพระองค์ ตอนนี้เท่ากับเป็นการยึดครองอำนาจในพระราชบัลลังค์โดยเบ็ดเสร็จของหญิงไพร่ทีเดียว และนางได้กำจัดเสี้ยนหนามผู้ภักดีต่อพระราชวงศ์เสียสิ้น จะเหลือแต่เพียงขุนนางผู้มิเอาการงาน ประจบสอพลอ แลมิเคยทัดทานราชการอันใด ด้วยกาลอันผ่านมา ครั้นพระเจ้าตุงจี่มีพระชันษาบริบูรณ์เหมาะแก่กาลที่จะขึ้นราชบังลังค์เสียได้แล้ว แต่ด้วยพระอนามัยที่ทรงประชวรอยู่บ่อยครั้ง พระนางเจ้าฮองไทเฮาซูสีจึ่งลอบให้ลิเลียนยิงเอาผ้าแพรที่ตนเคยมอบให้ไว้ก่อนที่ตนจะเข้าวัง นำไปรัดขอปลงพระชนม์เสีย เพื่อมิให้เป็นที่กีดกั้นในอำนาจของพระนางฯ ในการกุมอำนาจราชการแผ่นดินให้ยืนยง ภายใต้กษัตรีย์ผู้กระสันในอำนาจ
กาลต่อมาพระนางจึงนำเอาไตเทียนบุตรชายของจุนอ๋องขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่าพระเจ้ากวางสูฮ่องเต้ พระนางได้ใช้การวางตนข่มกราดเกรี้ยวพระเจ้ากวางสู-ฮ่องเต้ตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อให้เกรงกลัวตน และเมื่อพระเจ้ากวางสูฮ่องเต้ ทรงเจริญพระชนม์ชีพเติบใหญ่แล้ว พระนางก็ได้ทำให้บรรดาขุนมิเกิดความยำเกรงในพระเจ้ากวางสูฮ่องเต้ เมื่อทรงออกว่าราชการก็หามีผู้ใดถวายบังคมไม่ และพระนางได้สร้างความเข้าใจผิดระหว่างพระเจ้ากวางสูฮ่องเต้กับบรรดาขุนนางผู้ใหญ่ กระทั่งพระนางฮองไทเฮาซูสีนำเอามาเป็นเหตุจะสั่งปลดพระเจ้ากวางสูฮ่องเต้ มาดำรงตำแหน่งเป็น ฮุนแต้กง และพระนางก็ทรงบริหารราชกิจแต่เพียงผู้เดียว กระทั่งพวกฮวนบุก เยอรมัน ฝรั่งเศส บุกเข้ามาถึงเขตเมืองชันใน พระนางก็ได้ให้พวกนักมวย พวกถือไสยศาสตร์ทำพิธีติดผ้ากำมะหยี่สีดำ และพวกนักมวยได้เท็จทูลไปว่า เมื่อพระนางซูสีสวดพระคาถาเมื่อใด จะขอการใดย่อมได้สิ่งนั้น พระนางฯก็หลงเชื่อ และปล่อยปละให้พวกนักมวยทำการรบแทนทหาร พวกนักมวยก็ล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ครั้นพระนางไต่ถามเหตุการณ์ก็จะมีหัวหน้านักมวยมาเท็จทูล บอกว่าตอนนี้ด้วยพระบารมีของพระนางฯ ทหารฮวนผมแดงได้พากันล้มตายพ่ายพวกเรากันมากนัก แต่ท้ายสุดพวกฮวนก็บุกเข้ามาถึงเมืองปักกิ่ง ทางพระราชวังจึงต้องรีบอพยพหลีกหนี พระ-นางฮองไทเฮาซูสีครั้นเห็นท่าทีว่าจักสู้ต่อมิได้จึ่งยอมที่จะอ่อนน้อมแก่พวกฮวน และทรงตรัสกับ ลิเลียนยิงว่า “ตัวเจ้าได้ช่วยงานข้ามาก็มากนัก ภายหน้าหากข้าไม่อยู่แล้ว เจ้าเองคงจะลำบาก” ลิเลียนยิงจึ่งเข้าใจเป็นว่าจะทรงถวายยาพิษแก่ตน พระนางจึ่งตรัสไปว่า “จะกระทำไปเช่นนั้นก็หาใช่การตัดไฟแต่ต้นลมไม่ ยานี้เป็นยาพิษที่ไม่มีกลิ่นไม่มีรส ท่านจงทำตามประสงค์เถิด” ทั้งนี้ลิเลียนยิง จึงเอายาพิษวางใส่น้ำชาลอบสังหารพระเจ้ากวางสูฮ่องเต้ และพระเจ้ากวางสูฮ่องเต้ก็สิ้นพระชนม์ในที่สุด และต่อมาก็ได้ตั้งปูยี่ขึ้นเป็นกษัตริย์ และเมื่อพระเจ้าซวนตุงฮ่องเต้(ปูยี่)ขึ้นครองราชย์ได้ไม่กี่วัน พระนางซูสีก็มีอันต้องล้มแน่นิ่งไป และก่อนตายพระนางได้เขียนจดหมายเตือนไว้สองฉบับ และตรัสสั่งเรียกจุนอ๋องมาพบด่วน และได้ตรัสกับจุนอ๋องด้วยความว่า “บัดนี้เราใกล้จะถึงความตายอยู่แล้ว เราได้มีประกาศตั้งจุนอ๋องเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนตัวเรา ขอท่านจงตั้งหน้ารับราชการไปโดยสุจริตเถิด อันตัวเรานี้ได้ปกครองแผ่นดินมาร่วมห้าสิบปี บ้านเมืองมีแต่จลาจลหาความสงบสุขมิได้ ทั้งนี้เพราะเป็นสตรีได้เข้ามาปกครองแผ่นดินมิได้ถูกประเพณี ต่อไปจงระมัดระวังดูแลอย่าให้สตรีมีอำนาจปกครองแผ่นดินผู้เดียวแต่อันขาด อนึ่ง ขันทีนั้นเป็นคนคดโกงผิดวิสัยธรรมดามนุษย์ แม้พระเจ้าแผ่นดินเชื่อฟังขันที แผ่นดินทั้งปวงก็ล่มจมจนถึงแก่ความหายนะ” ครั้นพูดจบพระนางก็สิ้นลมไป ครั้นพระนางถึงแก่ความตายได้ราวสามปี พวกเก๊กเหม็งก็คิดการใหญ่ได้สำเร็จล้มวงศ์กษัตริย์ลงสิ้น สมกับคำทำนายแต่ก่อนที่มีว่า “แม้สตรีแซ่เยโฮนาลาได้ปกครองแล้วไซร้ วงศ์กษัตริย์จะสิ้นไปจากแผ่นดินจีนทั้งปวง”
แก่นของเรื่อง อนึ่ง ในการครองตนในตำแหน่ง หรือหน้าที่ใด ๆ นั้น ก็คมควรแก่การทำนุบุงกิจการงานนั้นให้เต็มที่และถึงพร้อม รวมถึงการพัฒนาบุคคลอื่นให้มีความรู้ความสามารถ ในการที่จะปฏิบัติกิจการงานสืบต่อจากตนได้ เพราะเมื่อถึงวาระหนึ่งนั้น ในชีวิตมนุษย์ทุกคนย่อมมีวันอันต้องจากลาไป แต่กิจการงานที่เราทำ ที่ในตอนนี้ได้อยู่ในหน้าที่ของตนก็หาได้ดับสิ้นไปกับด้วยเราด้วยมิได้ เพราะกิจเหล่านี้ยังต้องคงอยู่สืบลูกสืบหลาน หากการใดเรามิปันความรู้หรือละวางให้ผู้อื่นได้มีโอกาสก้าวหน้า และไม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นหลังเสียแล้ว การงานในอนาคตที่วันนั้นเราร้างลาไปเสียแล้ว ก็คงต้องย่อยยับ พินาศไปพร้อมกับตน อีกทั้งการประมาทเลินเล่อในหน้าที่กิจการงานใด ๆ นั้น เป็นสิ่งที่จะนำพาตนและองค์กรทรุดลงอย่างเฉียบพลัน อุปมาก็เสมือน ตึกสูงชันที่สุดในปฐพี ใช้ระยะเวลาในการสร้างกว่าสิบปี หากขาดการดูแลทางด้านความปลอดภัย หรือประมาทในการดูแลรักษาเสียแล้ว เพียงเสี้ยววินาทีก็อาจถูกศัตรูทำลายได้ทั้งตึก ฉันใดฉันนั้น การดูแลรักษากิจการงานทุกสิ่งล้วนแต่ต้องพึ่งพาอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารก็ดี ก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยตัวกรรมกรแบกหาม หรือ วิศวกรก็ดี ก็ยังต้องอาศัยพึ่งพาพนักงานขนหิน ขนปูน มิเช่นนั้นการงานของตนก็มีอันต้องพินาศ ดังนั้นจักขอสรุปในความตอนท้ายนี้ว่า การงานในทุกองค์กรสมควรอย่างยิ่งการที่จะให้ความสำคัญกับบุคลากรในทุก ๆ ตำแหน่ง หาสมควรปล่อยปละละเลย หรือไร้ความยุติธรรม ในการกระทำการใด ๆ ทั้งปวง
ฉาก สถานที่ที่ตัวละครปรากฏ : ๑. เมืองฮูนั้น ประเทศจีน อันเป็นแหล่งกำเนิดของนางเยโฮ-
นาลา นางเก๊กฮวย และไกวเสียง สามพี่น้องร่วมมารดาบิดา ๒. ตรอกตะกั่ว กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน อันเป็นที่อยู่พำนัก ของครอบครัวนางเยโฮนาลาก่อนที่จะถูกคัดตัว เข้าพระราชวัง ๓.สวนดอกไม้ ในพระราชวังกรุงปักกิ่ง เมื่อครั้นนางแสร้ง มายาสวมอาภรณ์แต่น้อยชิ้น และดีดพิณบรรเลงขับกล่อมเพื่อ ชะงักเชิญชวนความสนใจจากพระเจ้าเซียนเฝ็งฮ่องเต้ และ ก็เป็นไปโดยดีตามแผนการของนาง ๔. พระราชฐานที่ประจำพระองค์ ซึ่งพระเจ้าเซียนเฝ็งเสด็จ ประทับตรวจราชกิจ และห้องบรรทม ๕. ตำหนักพระนางฮองไทเฮาซูสี
ตัวละครของเรื่อง : ๑. นางเยโฮนาลา หรือ พระนางฮองไทเฮาซูสี ในเรื่อง เป็นผู้ที่มี
ลักษณะนิสัยแข็งกร้าว และความทะเยอทะยานในตัวเองสูง
และเป็นผู้ที่โหดเหี้ยมกว่าผู้คนทั้งปวง ฆ่ากระทั่งเด็กรุ่นลูก
และสามี(พระเจ้าเซียนเฝ็งฮ่องเต้)ของตน
๒.ลิเลียนยิง เป็นขันทีผู้ที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระนาง ฮองไทเฮาซูสีตลอดมา และมีจิตใจที่เหี้ยมแกร่งในการรับมอบบัญชาจากนายของตน
๓.พระเจ้าเซียนเฝ็งฮ่องเต้ เป็นผู้เลินเล่อในการบริหารราชการ- แผ่นดิน หาได้ระมัดระวังในการงานหน้าที่ของตนในฐานะ
ที่พึ่งพาของอาณาไพร่ฟ้าทั้งหลาย และละเลยราชกิจในการ ว่าราชการในภาวะที่มีผู้เข้ารุกรานบ้านเมือง รวมถึงเป็นผู้ ที่แบ่งแยกภาระหน้าที่กับเรื่องส่วนตนไม่ออก เป็นเหตุให้
บ้านเมืองระส่ำระส่ายทุกหย่อมหญ้า
๔.พระเจ้ากวางสูฮ่องเต้ หาได้มีความเด็ดขาดในการที่จะแข็งขืน ต่อพระนางนางฮองไทเฮาซูสี มัวแต่ยังคมลังเล เป็นเหตุให้ ภัยร้ายมาถึงตัว และเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ ไม่สามารถรักษาพระราชวงศ์เอาไว้ให้ได้
การใช้ภาษา : อาจารย์คึกฤทธิ์ ได้มีการใช้สำนวนคารมโวหาร และพรรณนา-
โวหาร ตลอดจนการเรียงความแบบเกร็ดพงศาวดารจีนได้อย่าง ลงตัวและสละสลวยยิ่งนัก รวมถึงความที่ตัวท่านมีความใส่ใจ ในด้านของการใช้คำราชาศัพท์อยู่เป็นทุนเดิมแล้ว เพราะเนื่อง ด้วยความเป็นเชื้อพระวงศ์ลำดับหม่อมราชวงศ์ เป็นที่คลุกคลี อยู่ภายในรั้วในวังมาแต่เยาว์ ด้วยท่านมีการใช้สำนวนที่เมื่ออ่าน แล้วลื่นไหล ไพเราะในทุกห้วงวรรคตอน และการใส่อารมณ์ และลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัวนั้น ท่านสามารถแทรก ซึมไว้ได้ในทุกอณู ดั่งตัวอย่างเนื้อความตอนหนึ่งที่ว่า “แล ขบวนพระนางฮองไทเฮาซูสีที่หลบหนีออกนอกกำแพงเมือง ปักกิ่งนั้นก็ไปหยุดอยู่ที่พระราชวังฤดูร้อนนอกเมืองปักกิ่ง เจ้า- นายขุนนางทั้งปวงที่อพยพจากกรุงปักกิ่งไปก่อนได้ข่าวก็ไป ชุมนุมกันอยู่ ณ ที่นั้น พระนางฮองไทเฮาซูสีจึงถามขุนนางทั้ง ปวงว่า บัดนี้ เราตั้งใจจะเดินทางไปตรวจราชการทางภาคเหนือ ท่านทั้งปวงเห็นประการใด ขุนนางจึงตอบว่า ที่พระองค์คิดไว้ นั้นเห็นจะไม่สมประสงค์ เพราะบัดนี้พวกฮวนญี่ปุ่นยกทัพใหญ่ เข้ามาทางภาคเหนือ จะเข้าตีเอาเมืองมุกเด็นและเมืองเยโฮล ตาม ลำดับ พระนางฮองไทเฮาได้ยินดังนั้นก็ถอนใจใหญ่แล้วกล่าว ว่า แม้พระอาทิตย์ในฤดูหนาวยังเปลี่ยนทิศทางเดินได้ เหตุไฉน เราผู้เป็นมนุษย์ปุถุชนจะเปลี่ยนหนทางของเรามิได้บ้างเล่า เรา จะไปตรวจราชการในหัวเมืองภาคตะวันตกต่อไป ผู้ใดมีกำลัง จะตามเรามาก็จงตามมาแต่ลำพังเถิด การณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่าง ไรเราหารู้ไม่ แม้อาหารจะพอเลี้ยงปากท้องกันทั่วถึงอย่างไร เรา นี้ก็มิรู้ ผู้ใดคิดติดตามเรามา เราก็จะเห็นน้ำใจความซื่อสัตย์ แต่ ขอให้ใช้สติปัญญาหาเสบียงอาหารเลี้ยงตนกันตามลำพังเถิด”
คุณค่าของเรื่อง : งานเขียนของหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ชิ้นนี้ ได้สื่อ ออกมาเพื่อ จะสำแดงในแง่สาระและแง่คิด ที่บุคคลทุกวัย ทุกอาชีพสามารถนำเอา ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งท่านก็มิได้สื่ออกมาให้ผู้อ่านทราบแต่ โดยตรง หากแต่ท่านสอดแทรกนานาสาระเอาไว้ตามเนื้อความตลอด
ท้องเรื่อง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับท่านผู้อ่านในแต่ละท่านว่า ท่านจะสามารถ หยิบฉวยเอาสาระ และแง่คิดจากเนื้อความได้มากน้อยเพียงไร ดั่งที่ได้
กล่าวไว้ในส่วนของแก่นเรื่อง ก็เป็นใจความสาระที่พอหยิบยกขึ้นมา ในการดำเนินชีวิตประจำวันก็ควรแก่การนำเอามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะ สมแก่กาล และขึ้นต้นเรื่องจวบมายังท้ายเรื่องจักเห็นว่า แทรกไปด้วย การเริ่มวิกฤติบนแผ่นดินที่ตัวคำว่า “ประมาท” นี้เอง และเรื่องทั้งเนื้อ หาก็ดำเนินไปด้วยความประมาท ทั้งในลาภยศ ประมาทในบุคคล ประมาทในหน้าที่ ประมาทในความคิด ประมาทในคำพูด เป็นต้น
สรุป : วรรณกรรมเรื่อง ซูสีไทเฮา นับได้ว่าเป็นผลงานคุณภาพชิ้นหนึ่ง ที่ควร แก่การเผยแพร่ ถึงแม้ว่า ท่านผู้เขียนจะมิเจตนาเพื่อเขียนอิงความ
สนุกสนานตลอดท้องเรื่องเป็นองค์หลัก ทว่าด้วยจิตใจแห่งศิลปินของ ท่านก็สามารถผูกโยงเอาประวัติศาสตร์มาทำให้ผู้อ่านเกิดความสนุก สนานขึ้นได้อย่างมิทันรู้ตัว และความเบื่อหน่ายในการอ่าน ประวัติศาสตร์จีนก็หมดสิ้นไป เพราะผู้อ่านกำลังจดจ่อต่อการดำเนิน ไปของท้องเรื่องกระทั่งจบหน้าสุดท้าย ก็ยังมิอาจวางไว้ ยังอยากให้มี ตอนถัดไปตลอดห้วง ข้อคิดอันแฝงไปด้วยคุณค่าในการดำเนินชีวิต ตามภาระหน้าที่ของตน ในการดำเนินชีวิต และในการปฏิสัมพันธ์ กับบุคคลอื่น ๆ และการเลือกคบบุคคล เลือก วานใช้บุคคล สิ่งเหล่านี้ ล้วนพันผูกอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น และจะหาเสื่อมสลายไป ตามกาลสมัยไม่