ชบา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชบา (Hibiscus) | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชบา
|
|||||||||||||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||||||
|
|||||||||||||||
|
ชบา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus syriacus L.; Hibiscus chinenis DC. ) เป็นไม้ในสกุล Hibiscus ที่มีความผันแปรทั้งรูปทรงของใบ ลำต้น และดอกมาก ตลอดจนปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย จากความสวยงามของดอกทำให้ได้รับสมญาว่า Queen of Tropic Flower หรือ ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน เป็นดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซียและจาไมก้า และเป็นดอกไม้ประจำรัฐฮาวาย มีถิ่นกำเนิด จาก ประเทศจีน ทำการขยายพันธุ์โดย ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง เสียบยอด
สารบัญ |
[แก้] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชบาเป็นไม้พุ่มขนาด 1-3 เมตร อาจสูงได้ถึง 7-10 เมตร ใบรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมเรียว ขอบใบจักหรือขอบใบเรียบ ดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว กลีบรองดอกมี 2 ชั้น สีเขียว ดอกมีทั้งดอกลาและดอกซ้อน มีหลายสี มีทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก ถ้าดอกลาจะมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้เป็นดอกยาวยื่นขึ้นมากลางดอก ปลายสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย แยกเป็น 5 แฉกสีแดง เกสรตัวผู้ติดรอบๆ ดอกเป็นสีเหลือง ออกดอกตลอดปี
[แก้] การปลูกและดูแลรักษา
ชบาไม้ดอกที่ปรับตัวเจริญเติบโตได้ทุกสภาพแวดล้อม แต่ที่เหมาะสมคือสภาพอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่มีน้ำขังแฉะ การให้น้ำควรให้สม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะสลัดใบล่างทิ้งอย่างรวดเร็ว
- แสง ชอบแสงแดดมาก
- น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
- ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
- ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
- โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรค จะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่
- การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก
[แก้] สรรพคุณทางยา
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น เสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาว
ไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
- ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
- ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
- รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
- รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
- บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
[แก้] ชบา ในวรรณกรรม
ชบาปรากฎในวรรณกรรมเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนพระรามลาสระภังคฤาษ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1
พุทธชาดรักซ้อนซ่อนกลิ่น | อินทนิลช้องนางนางคลี่ |
นางแย้มกล้วยไม้มะลุลี | ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน |
กรรณิการ์เกดแก้วกาหลง | ประยงค์พะยอมหอมหวาน |
ชมพลางเด็ดดวงผกากาญจน์ | พระอวตารส่งให้วนิดา |