จังหวัดลำพูน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถิติ | |
---|---|
อำเภอเมือง: | อำเภอเมืองลำพูน |
พื้นที่: | 4,505.9 ตร.กม. อันดับที่ 49 |
ประชากร: | 405,031 (พ.ศ. 2549 เมษายน) อันดับที่ 50 |
ความหนาแน่น: | 90 คน/ตร.กม. อันดับที่ 48 |
ISO 3166-2: | TH-51 |
ผู้ว่าราชการจังหวัด: | นายอุดม พัวสกุล (ตั้งแต่ พ.ศ. 2547) |
แผนที่ | |
- ดูความหมายอื่นของ ลำพูน ได้ที่ ลำพูน (แก้ความกำกวม)
ลำพูน เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤาษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตร หรือ ชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวง และแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญ ราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชย สืบราชวงศ์กษัตริย์ ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวม แว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่า จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จังหวัดลำพูนมีชื่อเสียงนอกจากเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไย พระเครื่อง โบราณสถานที่สำคัญ และผ้าทอฝีมือดี
สารบัญ |
[แก้] อาณาเขต
ลำพูนมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่นๆ 3 จังหวัด ดังนี้
- ทิศเหนือ จรด อำเภอสารภี และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก จรด อำเภอห้างฉัตร อำเภอสบปราบ และอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
- ทิศใต้ จรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก
- ทิศตะวันตก จรด อำเภอฮอด, อำเภอจอมทอง, อำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
[แก้] หน่วยการปกครอง
จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 51 ตำบล 520 หมู่บ้าน ดังนี้
|
[แก้] สถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัด
- โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน
- โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
- โรงเรียนธีรกานต์บ้านโฮ่ง
- โรงเรียนป่าซาง
- โรงเรียนป่าตาลบ้านธิ
- โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม
[แก้] สถานที่สำคัญของจังหวัด
- วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
- วัดพระพุทธบาทตากผ้า
- อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
- วัดจามเทวี
- วัดเจดีย์กู่เต้าจุฬามณี
[แก้] อุทยาน
- อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
- อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: จามจุรี (Samanea saman)
- คำขวัญประจำจังหวัด: พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
จังหวัดลำพูน เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |